เพลงล้อเลียน : ชีวิตของคุณแม่มันเป็นอย่างนี้นี่เอง

มีการนำเพลง Blank Space ของ Taylor Swift มาแต่งใหม่เป็นเพลงล้อเลียนเวอร์ชั่นชีวิตของคุณแม่ ทั้งฮาและโดนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพลงล้อเลียน : ชีวิตของคุณแม่มันเป็นอย่างนี้นี่เอง

จากบทบาทของผู้หญิงธรรมดา เมื่อมีลูกก็จะกลายเป็นคุณแม่ ชีวิตคนเป็นแม่ ต้องรับภาระหน้าที่หลาย ๆ อย่าง เช่นเลี้ยงลูกและเป็นแม่บ้าน นอกจากการเลี้ยงลูกแล้วชีวิตประจำวันต่าง ๆ ของคุณแม่ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย มาดูเรื่องที่ผู้หญิงทุกคนต้องเผชิญเมื่อต้องกลายเป็นคุณแม่กันค่ะ

12 เรื่องจริงสำหรับบทบาทชีวิตคนเป็นแม่

1.ถ้าคุณทำอาหารที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับลูกแล้ว แต่ลูกอาจจะไม่ชอบหรือไม่กินมันเลย คุณต้องทำใจยอมรับความผิดหวังบ้าง

2.เมื่อเป็นคุณแม่ คุณไม่จำเป็นต้องตั้งนาฬิกาปลุกอีกต่อไป เพราะเสียงร้องของลูกจะทำให้คุณตื่นเองโดยอัตโนมัติ

3.คุณจะซื้อของเล่นบ่อย ในระยะเวลาห่างกันไม่นานโดยไม่ค่อยรู้ตัว

4.คุณจะไม่สามารถห้ามลูกจากการเล่นเลอะเทอะได้ คุณทำความสะอาดวันนี้ พรุ่งนี้ลูกก็จะเล่นใหม่

5.ช่วงเวลาที่ดีที่สุด คุณสามารถทำเรื่องส่วนตัวได้คือตอนที่ลูกหลับเท่านั้น

6.คุณแม่หลังคลอดบางคนอาจได้นอนไม่ถึงวันละ 8 ชั่วโมง เพราะต้องเลี้ยงดูลูก และทำงานบ้านในขณะที่ลูกหลับ

7.คุณและสามี หรือคนในครอบครัวจะทะเลาะกันบ่อยมากกว่าปกติ เรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8.คุณจะรู้สึกยินดีมากหากมีคนในครอบครัว ช่วยคุณเลี้ยงลูกในระหว่างวันซัก 1-2 ชั่วโมง

9.คุณจะรู้สึกมีความสุขมาก ๆ หากลูกทานอาหารที่คุณทำจนหมดเกลี้ยง

10.ความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ คือการได้อวดว่าลูกพูดหรือเดินได้เร็วกว่าเด็กวัยเดียวกัน

11.นอกจากเป็นแม่แล้วคุณยังต้องสวมบทบาทอีกหลายอาชีพ เช่น ครู นักร้อง หมอ เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

12.คุณมีเวลาดูแลตัวเองน้อยลง แต่กลับมีความสุขมากขึ้น

สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับคุณแม่ทุกคน คุณแม่บางคนอาจจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับลูกตัวน้อยที่น่าประทับใจหลายอย่าง อาจจะต้องอดหลับอดนอนเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกไปบ้าง แต่ผู้เขียนเชื่อว่าคุณแม่ทุกคนทำด้วยความเต็มใจแน่นอนค่ะ ^^

ความเข้าใจและโอกาสจากครอบครัวและสังคมคือปัจจัยสำคัญที่ช่วยคลี่คลายปัญหา “คุณแม่วัยใส” ทำให้พวกเธอและลูกน้อยได้ใช้ชีวิตอย่างคนทั่วไปและมีสิทธิที่พึงมีตามกฎหมาย

บีบีซีไทยพูดคุยกับ “สิรินันท์ ศรีระดา” หนึ่งในคุณแม่วัยใสที่ยอมเปิดเผยเรื่องราวความผิดพลาดในชีวิตที่ทำให้เธอกลายเป็นแม่ในวัย 17 ปี ว่าต้องผ่านเรื่องราวอันเลวร้ายอะไรมาบ้าง และเธอผ่านมันมาได้อย่างไร ท่ามกลางแรงกดดันมากมาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“ทุกคนมีสิทธิจะได้รับโอกาสจากสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ อยู่ที่ตัวเราให้โอกาสตัวเอง สามารถปรับปรุงตัวเองได้อย่างไร ปรับปรุงตัวเองในสถานการณ์ไหน หรือว่า เราได้รับโอกาสมาแล้วเราจะใช้โอกาสนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร” สิรินันท์ เล่าให้เราฟัง

คุณแม่วัยใสรายนี้ ปัจจุบันอายุ 20 ปี และอาศัยอยู่กับลูกชายวัย 1 ขวบ 8 เดือน ที่โรงเรียนมีชัยพัฒนาหรือที่รู้จักกันว่า “โรงเรียนไม้ไผ่” ใน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

การใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบเงียบท่ามกลางธรรมชาติที่โรงเรียนแห่งนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากความพลุกพล่านวุ่นวายของสังคมเมืองอย่างกรุงเทพฯ ที่นำพาความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่ชีวิตของเธอ

แม่และพ่อของสิรินันท์แยกทางกันตั้งแต่เธอยังเด็ก ทำให้เธอต้องมาอาศัยอยู่กับปู่และย่าที่ อ. เดชอุดม จ.อุบลราชธานี หลังจากเรียนจบชั้น ม.3 เธอตัดสินใจย้ายมาอยู่กับแม่ที่กรุงเทพฯ และเลือกเรียนต่อสายอาชีวะที่วิทยาลัยแห่งหนึ่ง

สู่สังคมใหม่ในเมืองหลวง

สังคมเมืองทำให้เธอมีอิสรภาพมากขึ้น พบเพื่อนใหม่ สังคมใหม่ การเรียนที่วิทยาลัยก็ไปได้ดี ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีด้วยเกรดเฉลี่ย 3.6 และยังเป็นนักกิจกรรมอีกด้วย

เป็นธรรมดาของชีวิตวัยรุ่นที่เพื่อนมีอิทธิพลต่อความคิด บวกกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปของวัยสาว ทำให้ช่วงหนึ่งเธอมุ่งความสนใจไปที่เรื่องความรักความสัมพันธ์และการมีแฟน

แม้ว่าจะสนิทกับแม่ แต่เธอยอมรับว่าเรื่องของหัวใจและความสัมพันธ์แบบวัยรุ่นเป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะเปิดใจ

“ตอนแรกคุยกับเพื่อน ถามว่าทำไมจึงหาแฟนได้ง่ายจัง เพื่อนก็บอกว่ามีแอปพลิเคชันนี้นะ เพื่อนก็บอกให้ดาวน์โหลดมา ยังลังเลว่าจะโหลดดีไหม พอนาน ๆ ไปเพื่อนก็ไปกับแฟน ก็รู้สึกว่าเราเป็นส่วนเกิน ก็เลยโหลดแอปพลิเคชันนี้มา” เธอเล่าให้ฟังถึงที่มาของการค้นหาความรักในแบบยุค 4.0

หาคู่ง่ายแค่ปลายนิ้ว แต่กลายเป็นจุดเปลี่ยนชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถามว่าแปลกไหมในเรื่องนี้ งานวิจัยของ YouGov ที่จัดทำขึ้นในเดือน ก.ย. 2560 ตอบคำถามนี้ว่าคนไทยมากถึง 4 ใน 10 เคยใช้แอปพลิเคชันหาคู่และครึ่งหนึ่งคือคนรุ่นใหม่

สิรินันท์ ซึ่งขณะนั้นเรียนอยู่ชั้น ปวช. ปี 2 คือหนึ่งในจำนวนนั้น เธอบอกว่า “เจอผู้ชายหน้าตาดีคนหนึ่งในแอปฯ ก็เลยกดแอดเขาไป เขาก็ทักทายมา ก็คุยกันปกติทั่วไป เหมือนเพิ่งรู้จักกัน คุยกันไปเรื่อย ๆ ประมาณ 2 เดือน ก็เลยนัดเจอกัน ก็มีเพศสัมพันธ์กันวันนั้นเลย”

ความสัมพันธ์ดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง จนมาถึงวันที่เธอพบว่า ประจำเดือนขาด

“พอประจำเดือนไม่มา ก็เลยซื้อเครื่องตรวจครรภ์มาตรวจ พบว่าขึ้นสองขีดก็คือ ท้อง ตอนนั้นกลัว ใจสั่น สงสัยว่าทำไม ท้องได้ไง เพราะเรากินยาคุม โทรหาแฟน แฟนก็รับสาย เราบอกว่า เราท้อง เขาก็บอกว่า ใช่ลูกเราเหรอ วันนั้นเธอกินยาคุมนะ เธอท้องได้ไง ตั้งแต่วันนั้นเขาก็ไม่รับผิดชอบอะไรเลย” เธอกล่าว

“ไม่อยากให้ใครรับรู้”

สิรินันท์เลือกที่จะปกปิดเรื่องที่เธอตั้งครรภ์เป็นความลับ ขณะเดียวกันก็หาข้อมูลเรื่องการทำแท้งไปด้วย

“หนูพิมพ์ในเน็ตเลยว่า ‘ทำแท้ง’ มันก็มีข้อมูลขึ้นมาทั้งคลินิก มีทั้งตัวยาทำแท้ง คลินิกทำแท้ง หนูก็เลยโทรเข้าไปในคลินิก คลินิกเขาก็สัมภาษณ์ว่า อายุเท่าไหร่ อายุครรภ์เท่าไหร่ หนูก็ตอบไปว่า อาทิตย์กว่า ๆ ยังไม่ถึงเดือน เขาก็บอกว่าทำได้ แต่หนูอายุ 17 ปี ต้องให้ผู้ปกครองลงชื่อรับรอง ซึ่งตอนนั้นหนูปิดบังอยู่ว่าหนูท้อง หนูไม่อยากให้ใครรับรู้”

ท่ามกลางความสับสน สิ่งหนึ่งที่หวนระลึกได้คือ ภาพตอนเด็ก ๆ ของเธอในต่างจังหวัดที่ปู่และย่าพาเข้าวัดทำบุญอย่างสม่ำเสมอพร้อมกันพร่ำสอนเรื่องบาปบุญคุณโทษ จึงทำให้เธอได้สติขึ้นมา

“เราจะบาปไหม ถ้าเราทำแท้ง แล้วถ้าเราทำแท้ง เราจะตกเลือดไหม เป็นอันตรายกับเราไหม เราจะมีชีวิตยังไงต่อไป ก็เลยเปลี่ยนใจไม่ทำแล้ว คิดถึงคุณปู่คุณย่าที่สอนเราไว้ อันนี้เป็นบาป…บาปที่สุดแล้ว คือ ฆ่าคน”

เมื่อทำแท้งไม่ใช่ทางออกที่ดี

“มันต้องมีทางออกที่ดีกว่าการทำแท้ง” เธอบอกตัวเองและเริ่มต้นค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตอีกครั้ง ครั้งนี้เธอเปลี่ยนคำค้นจากคำว่า “ทำแท้ง” เป็นการหาทางเลือกอื่น ๆ ของแม่วัยใส

แล้วเธอก็ได้คำตอบที่น่าสนใจในหัวข้อการสนทนาในสังคมออนไลน์แห่งหนึ่ง

“มีคนคอมเมนต์มาว่า ถ้าเรายังไม่พร้อมยังมีทางอื่นที่ดีกว่า มีบ้านพักฉุกเฉิน ก็ลองไปปรึกษาดูว่า เขาจะช่วยให้เรามีทางออกยังไง”

สองเดือนแรกของการตั้งครรภ์เธอทำตัวเป็นปกติ ในขณะที่ท้องยังไม่โตมากนัก แต่จะหลบหนีความจริงไม่ได้เพื่อท้องเริ่มโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเธอไม่กล้าไปฝึกงาน ทำให้ครูและเพื่อน ๆ ตามหา กลายเป็นแรงกดดันทำให้เธอต้องหาที่หลบภัยชั่วคราว ที่บ้านพักฉุกเฉิน ดอนเมือง

เมื่อถามว่าทำไมต้องหนี เธอตอบว่า “ตอนที่อยู่วิทยาลัย หนูก็เป็นเด็กกิจกรรม คนก็ค่อนข้างที่จะรู้จัก ไม่อยากให้ใครรู้ ไม่อยากให้ใครประณามว่า เราท้องไม่มีพ่อ หรือว่า ท้องในวัยเรียน ก็เลยตัดสินใจพักการเรียนไปก่อน”

บ้านพักฉุกเฉิน ช่วยได้อย่างไร

บ้านพักฉุกเฉิน เป็นกิจการภายใต้สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ให้การช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาต่าง ๆ โดยให้ที่พักระหว่างประสบปัญหา โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ใครบ้างที่สามารถเข้ามารับการช่วยเหลือ

  • ผู้ถูกกระทำความรุนแรง
  • ผู้ถูกข่มขืน ล่วงละเมิดทางเพศ
  • กลุ่มท้องไม่พร้อม
  • ผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS
  • ผู้ที่ประสบปัญหาขัดแย้งภายในครอบครัว
  • ผู้ถูกทอดทิ้ง ไร้ที่พักอาศัยและไม่มีงานทำ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ผู้หญิงราศีไหนเป็นแม่ได้ดีที่สุด

21 สัญญาณบ่งบอกว่าคุณเป็นแม่เต็มตัว

ปัญหาคาใจ สำหรับคนท้อง แม่กำลังตั้งครรภ์ นวดได้หรือไม่ เป็นอันตรายหรือไม่?

 

https://www.enfababy.com/พัฒนาการและสุขภาพ/ตั้งครรภ์13สัปดาห์กับพัฒนาการลูกน้อย