ผลวิจัยเผยว่า หากปกติแล้วจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อาศัยอยู่ในอวัยวะภายในของเด็กๆ ถูกขัดขวางตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เด็กๆ จะมีความเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้และหอบหืดมากขึ้นถึง 3 เท่าเลยทีเดียวค่ะ
เริ่มต้นที่ลำไส้
ทีมวิจัยเรื่องจุลชีววิทยาในแม่และแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของเด็ก ได้ทำการวิจัยโดยการเก็บตัวอย่างของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของเด็กทารก และพบว่าแบคทีเรียมีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงระหว่างแม่และเด็ก และกระบวนการเหล่านี้จะเริ่มต้นขึ้นเมื่อหลังการคลอดลูก
จุลินทรีย์คือฮีโร่
ปกติแล้วขณะทารกที่เติบโตขึ้นภายในครรภ์ของคุณแม่นั้น ในร่างกายของลูกจะไม่มีทั้งเชื้อโรค จุลินทรีย์ หรือแบคทีเรียใดๆ อยู่เลย เนื่องจากถุงน้ำคร่ำปลอดจากเชื้อโรคทุกๆ ตัว จุลินทรย์ที่มีอยู่ในลำไส้ของลูกจึงเป็นจุลินทรีย์ที่พัฒนาขึ้นหลังจากการคลอดออกมาแล้วค่ะ
เมื่อจุลินทรีย์อ่อนแอ ลูกจึงเป็นภูมิเเพ้เเละหอบหือ
ตามผลงานวิจัยหลายชิ้น การคลอดธรรมชาติจะทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้มีการพัฒนา เหมือนกับการที่เด็กๆ จะได้รับจุลินทรีย์ผ่านการดูดนมแม่ ซึ่งสาเหตุที่จุลินทรีย์ในลำไส้ลูกอ่อนแอหรือทำงานได้ไม่ดี มาได้จากหลายสาเหตุ เช่น การที่แม่ได้รับยาปฏิชีวนะระหว่างการตั้งครรภ์ การผ่าคลอด และการกินนมผงค่ะ เนื่องจากพฤติกรรมแบบนี้จะทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้ไม่มีการพัฒนาให้ดีขึ้นตามธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นภูมิแพ้และหอบหืดได้นั่นเองค่ะ
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สงสัยว่าลูกเป็นโรคภูมิแพ้ หมอจะมีวิธีทดสอบอย่างไรบ้าง
เพราะอะไร “การผ่าคลอด” จึงทำให้ทารกมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืด