เนื้องอกมดลูก กับ วัยเจริญพันธุ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอก ที่พบได้เยอะที่สุด ในผู้หญิง วัยเจริญพันธุ์ คือ นับตั้งแต่คนที่มีประจำเดือนมาแล้ว 2 ปี เป็นต้นไป เพราะฉะนั้น คนที่มีความเสี่ยง ที่จะเป็น เนื้องอกมดลูก มักจะมีอายุประมาณ 25 – 30 ปี ซึ่งถูกจัดว่า เป็นกลุ่ม วัยเจริญพันธุ์ โดยมีอัตรา 30 – 50 % ที่จะเกิดอาการนี้ ส่วนเนื้องอกที่จะเป็นเนื้อร้ายหรือไม่นั้น จำเป็นจะต้องทำการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกที

ในจำนวนผู้ป่วย ที่เป็นเนื้องอกมดลูกนั้น 99 % มักจะไม่ใช่เนื้อร้าย หรือเนื้อมะเร็ง

ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรค

1. ความเสี่ยง จากกรรมพันธุ์

2. การทำงานที่ผิดปกติ ของฮอร์โมนเพศหญิง ( เซลล์มดลูก จะทำปฏิกิริยา กับฮอร์โมนเพศหญิง จนเกิดเป็นก้อนเล็ก ๆ และ ขยายใหญ่ขึ้น ตามปริมาณของฮอร์โมน )

3 อาการหลัก ที่ชี้ว่า คุณอาจจะมีเนื้องอกในมดลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. เกิดก้อน บริเวณท้องน้อย ซึ่งหากคลำเจอ นั่นแสดงว่า ขนาดก้อนเนื้องอกนั้น มีขนาดใหญ่ 15 เซนติเมตร ขึ้นไป จนทำให้เรา สามารถคลำเจอได้ ด้วยตัวเอง ส่วนจะ เสี่ยงหรือไม่ ควรที่จะไปตรวจเช็คกับทางแพทย์อีกครั้ง

2. ประจำเดือน ออกเยอะผิดปกติ บางครั้งออกเยอะ จนทำให้ เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม ลักษณะของการเป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจาก เนื้องอกอยู่ชิดกับ เยื่อบุโพรงมดลูก

3. สำหรับ ผู้ที่มีบุตรยาก อาจจะมีผล มาจากเนื้องอกที่จะฝังตัว อยู่ตามผนังมดลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กลุ่มที่เสี่ยง สำหรับโรคนี้ คือ

คนที่มีอัตราความเสี่ยง ในการเป็นโรคนี้ คือ กลุ่มคน วัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะคนที่มีอายุ ช่วง 25 – 30 ปี ส่วนกลุ่มคน ที่เข้าสู่วัยทอง เจ้าก้อนเนื้องอกนี้ จะหดตัวเล็กลงได้เอง นั่นเป็นเพราะ ขาดฮอร์โมนเข้าไปกระตุ้น การเจริญเติบโต

ความรุนแรง ที่เกิดจากโรคนี้

หากเป็นเนื้องอกในมดลูก แม้ว่าจะไม่เป็นอันตราย ถึงขั้นเป็นเนื้อร้าย หรือว่า มะเร็ง แต่ก็สามารถ สร้างความรบกวนในการใช้ชีวิตประจำวัน ได้เช่นกัน เพราะถ้าหาก ประจำเดือนมาเยอะเกินไป นอกจากจะทำให้ รู้สึกไม่สบายตัว เฉอะแฉะ เหนอะหนะ จนต้องคอยเปลี่ยนผ้าอนามัยเรื่อย ๆ แล้ว อาจจะทำให้ เกิดสภาวะโลหิตจาง เนื่องจาก เสียเลือดเยอะเกินไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากเจ้าก้อนเนื้องอก ยื่นออกไปด้านนอกมดลูก แล้วเกิดไปกดทับ บริเวณกระเพาะปัสสาวะ ก็จะทำให้ เกิดอาการปัสสาวะบ่อย และ ถี่ อาจส่งผลให้ ผู้ที่เป็น ไม่สามารถพักผ่อนได้เพียงพอ เพราะต้องคอยลุกไปเข้าห้องน้ำ อยู่ตลอดเวลา

หากตัวเนื้องอกนั้น ไปกดทับบริเวณลำไส้แทน ก็จะส่งผล ให้เกิดอาการท้องผูก และอาจส่งผล ให้เป็นมะเร็งลำไส้ได้ หากปล่อยทิ้งไว้ เป็นเวลานาน

วิธีการรักษา 

1. การกินยาคุมกำเนิด การกินยาคุมกำเนิดนั้น สามารถช่วยควบคุม การหลั่งของประจำเดือน ทำให้สามารถ ควบคุมปริมาณของฮอร์โมน ที่เป็นปัจจัยหลัก ทำให้ตัวเนื้องอกโตขึ้นได้

2. การรับประทานยา สำหรับการรักษาเนื้องอกมดลูกโดยเฉพาะ

3. การฉีดยารักษา

4. การผ่าตัด โดย การผ่าตัด จะแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ การเอาออกเฉพาะเนื้องอก แล้วเก็บมดลูกเอาไว้ หรือ การตัดเอามดลูกออกไปเลย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ การวินิฉฉัยของแพทย์เจ้าของเคส

การป้องกัน ไม่ให้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การหมั่นตรวจเช็คร่างกาย อยู่เป็นประจำ และ ต่อเนื่อง เนื่องจากทุกวันนี้ การทำอัลตร้าซาวน์ ( Ultrasound ) สามารถตรวจพบก้อนเนื้องอกได้ แม้ว่า เจ้าก้อนนี้ จะมีขนาดเพียงแค่ 1 – 2 เซนติเมตร ก็ตาม

ที่มา :

1. พบหมอ รามา ฯ  : “ เนื้องอกในมดลูก ” โรคฮิต ของสาว ๆ วัยทำงาน

2. “ เนื้องอกมดลูก ” เรื่องที่ผู้หญิง ควรจะต้องรู้ ……

3. เทคโนโลยี การรักษา ” เนื้องอกมดลูก และ ถุงน้ำรังไข่” ด้วยการ ผ่าตัดผ่านกล้อง

4. สัญญาณผิดปกติ ที่บ่งว่า ” คุณอาจจะมี เนื้องอกในมดลูกได้ “

5. สัญญาณโรค ” เนื้องอกมดลูก ” อย่ามองข้าม เพื่อป้องกัน ” ภาวะแทรกซ้อน ” ที่จะเกิดขึ้น กับคุณได้

6. เทคโนโลยีการรักษา เนื้องอกมดลูก และถุงน้ำรังไข่ ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

ammy