ไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด ดียังไง แม่ท้องควรรู้ไว้
แม่ท้องที่เพิ่งคลอดลูก บางคนเลือกให้ลูกไปอาบน้ำทำความสะอาดคราบเลือด ไขที่ติดตามตัวก่อน แต่กลับบางคนเลือกที่จะสัมผัส โอบกอดกับลูกทันที โดยที่น้องคุณพยาบาลยัง ไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด เป็นเพราะอะไร ทำไมถึงมีคุณแม่เลือกจะทำแบบนี้กันเยอะ มาดูเหตุผลกันก่อนดีกว่า
การไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอดคืออะไร?
คุณแม่หลายท่านเลือกที่จะไม่อาบน้ำหรือทำความสะอาดไขและน้ำคร่ำที่ติดตัวทารก พวกเธอเลือกที่จะกอดลูกไว้เป็นอันดับแรกหลังจากที่คลอดลูกออกมา ทั้งนี้ เนื่องจากการได้อุ้มหรือกอดลูกน้อยไว้แนบออกตั้งแต่แรกคลอดเป็นการสร้างสายใยที่ดีระหว่างแม่และลูก และทำให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ทันที ส่งผลกับการกระตุ้นการให้นมแม่เป็นอย่างดี
คุณแม่ที่มีประสบการณ์การ ไม่อาบน้ำให้ทารกทันทีหลังคลอดนั้นบอกว่า พวกเธอมีช่วงเวลาที่ดีที่ได้กอดลูกไว้แบบนั้น กลิ่นของทารกแรกคลอด เป็นกลิ่นที่มหัศจรรย์ ถึงแม้พวกเธอจะไม่ยอมอาบน้ำให้ทารกแรกคลอดถึง 4 วันก็ตาม
ประโยชน์ของการไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด
ไขหุ้มทารกมีหน้าที่ช่วยปกคลุมร่างกายและผิวหนังของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งจะถูกสร้างเมื่ออายุครรภ์ได้ 18 สัปดาห์
ไขที่ห่อหุ้มทารกขณะที่อยู่ในครรภ์ ช่วยสร้างความชุ่มชื่นให้กับผิวทารก และช่วยสร้างสิ่งหล่อลื่นให้ทารกสามารถคลอดผ่านช่องคลอดได้โดยง่าย และหลังจากที่คลอดออกมา ไขเหล่านี้ยังช่วยรักษาอุณหภูมิร่างกายของทารกและปกป้องผิวอันบอบบางของทารกจากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
Laurie MacLeod พยาบาลผดุงครรภ์แห่ง the Ohio State University Wexner Medical Center กล่าวว่า “ไขที่ห่อหุ้มร่างกายทารกนั้นไม่จำเป็นต้องชำระล้างออกในทันที เพราะมันทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกแรกคลอด และยังช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผิวทารกเป็นอย่างดีคุณพ่อคุณแม่สามารถชำระล้างไขเหล่านี้ออกได้ในภายหลัง”
ติดตาม ประโยช์ของการไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด หน้าต่อไปค่ะ
นอกจากนั้นยังมีน้ำคร่ำที่ช่วยห่อหุ้มและปกป้องร่างกายทารกอีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ กล่าวว่า น้ำคร่ำเหล่านี้ช่วยปกป้องร่างกายทารกและเป็นตัวช่วยเสริมสร้างวิตามิน เค ได้อย่างดีอีกด้วย เพราะฉะนั้นหากรีบอาบน้ำหรือทำความสะอาดให้ทารก ก็เท่ากับว่า ทารกจะสูญเสียตัวช่วยการสร้างวิตามิน เค ที่สำคัญนี้ไปด้วย และน้ำคร่ำเหล่านี้ก็ยังเป็นตัวช่วยที่ดีของการสร้างจุลินทรีย์ในทารก และเป็นตัวช่วยควบคุมปริมาณของ “แบคทีเรียที่จำเป็น” ที่สำคัญต่อมนุษย์อีกด้วย
ในความจริงนั้น แบคทีเรียที่จำเป็นที่อยู่ในน้ำคร่ำนี้ เป็นตัวสร้างวิตามิน เค ที่จำเป็นต้องร่างกาย และวิตามิน เค ยังเป็นส่วนสำคัญกับทารกแรกคลอด ในการป้องกันโรคร้ายแรง ที่เรียกว่า ภาวะเลือดออกง่ายในเด็กทารกที่เกิดจากการขาดวิตามินเค (haemorrhagic disease of the newborn – HDN)
แต่ความจริงแล้ว จุดประสงค์ที่สำคัญของการไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด คือ เพื่อให้เกิดการสัมผัสจากอ้อมกอดของแม่และลูก ซึ่งให้ประโยชน์มากกว่าการอาบน้ำทารกในทันที
Kay Johnson พยาบาลผดุงครรภ์จาก Atlanta Birth Care กล่าวว่า การอาบน้ำเด็กทารกแรกเกิดนั้นต้องทำการแยกแม่และลูกออกจากกัน และใช้เวลานานหลายชั่วโมง ซึ่งนั่นส่งผลกระทบต่อช่วงเวลาที่แม่และลูกควรจะได้อยู่ด้วยกันหลังคลอด และที่สำคัญคือส่งผลต่อการกระตุ้นน้ำนมแม่จากการให้ลูกดูดนมแม่อีกด้วย
นานแค่ไหนจึงจะควรอาบน้ำให้ทารกได้?
MacLeod กล่าวว่า ระยะเวลาที่จะปล่อยทารกไว้โดยไม่อาบน้ำนั้น ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของคุณพ่อและคุณแม่ ซึ่งบางครอบครัวเลือกทิ้งไว้ เป็นสัปดาห์ หรือปกติอยู่ที่ราวๆ 12 ชั่วโมง
Dr Aaron Rossi ผู้เชี่ยวชาญการบำบัดโรคกระดูกสันหลัง มีลูกถึง 4 คนด้วยกัน และลูกทุกคนของเธอคลอดที่บ้าน และเธอเลือกที่จะไม่อาบน้ำให้ลูกตั้งแต่แรกคลอด โดยที่เธอปล่อยให้ไขและน้ำคร่ำแห้งไปเองโดยธรรมชาติ ซึ่งหลังจากนั้นเธอก็อาบน้ำพร้อมลูกของๆ ตามปกติ เธอกล่าวว่า ทุกอย่างเรียบร้อย โอเคดี และเธอมีความสุข ไม่มีเรื่องอะไรต้องให้กังวล ที่เธอเลือกสิ่งนี้ให้กับลูกของเธอ
คุณแม่คิดยังไงกับเทรนด์นี้คะ คุณแม่จะลองประสบการณ์ใหม่ๆนี้ หรือยังคงคิดว่าควรอาบน้ำให้ทารกแรกคลอดก่อนพามาส่งให้กับมือคุณแม่? ลองแสดงความคิดเห็นให้เราทราบได้ค่ะ
ที่มาจาก sg.theasianparent.com
บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
10 เรื่องจริงที่คุณอาจจะไม่รู้ เกี่ยวกับทารก
ภาพหาดูยาก!! ทารกแรกคลอดในถุงน้ำคร่ำ