1000 วันแรกที่สมองสร้างไว และเทคนิคเสริมพัฒนาการสมองลูก

เด็กจะมีพัฒนาการทางสมองที่ดี เฉลียวฉลาด เรียนรู้เร็ว นอกจากขึ้นอยู่กับยีนส์แล้ว การเลี้ยงดูแล้ว การเล่น สื่อการเรียนรู้ การเลือกโภชนาการที่ดี ก็ทำให้ลูกมีพัฒนาการสมองที่ดีได้เช่นกันค่ะ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจพัฒนาการสมองช่วง 1000 วันแรก และตัวช่วยส่งสัญญาณประสาทในสมองคือ “ไมอีลิน” กันค่ะ ชื่ออาจยังไม่คุ้นหู แต่เจ้า “ไมอีลิน” นี่ล่ะ คือตัวช่วยพัฒนาการและการประมวลผลของสมองอย่างแท้จริง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1,000 วันแรก…สมองสร้างไวที่สุด

1,000 วันแรกเป็นช่วงที่สมองสร้างไวที่สุด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการสร้างเซลล์ประสาท และการเชื่อมต่อของสมอง1 โดยระบบประสาทของลูกน้อยจะเริ่มมีการพัฒนาหลังการปฏิสนธิของไข่และสเปิร์มเพียงไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ดี การพัฒนาของสมองไม่ได้จบลงเพียงแค่การสร้างเซลล์ประสาทเท่านั้น เพราะเซลล์ประสาทเพียงเซลล์เดียวไม่สามารถทำงานได้ ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของเซลล์ประสาทหลายๆ เซลล์ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกันจึงสามารถทำงานได้ ดังนั้นกระบวนการสำคัญในการทำงานของสมองคือ การที่เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์สามารถส่งสัญญาณหากันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทจะมีความหมายถึง

การที่วงจรประสาทเชื่อมโยงกันได้ดี

การส่งสัญญาณประสาทเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว2-3

ปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งสัญญาณประสาทคือ “การสร้างปลอกไมอีลิน” (Myelination) โดยปลอกไมอีลิน (Myelin sheath) เป็นส่วนของเซลล์สนับสนุนเซลล์ประสาทที่มาพันรอบส่วนของแขนงประสาทนำออก การที่แขนงประสาทนำออกมีปลอกไมอีลินมาห่อหุ้มจะทำให้การส่งสัญญาณประสาทเป็นไปแบบก้าวกระโดด คือจากจุดหนึ่งกระโดดไปยังอีกจุดหนึ่ง แทนที่จะเป็นการส่งสัญญาณต่อ ๆ กันในระยะใกล้ซึ่งจะพบในกรณีที่แขนงประสาทนำออกไม่มีปลอกไมอีลินมาห่อหุ้ม เปรียบเทียบได้กับการกระโดด 1 ครั้งย่อมสามารถไปได้ไกลกว่าการเดิน 1 ก้าว จึงสามารถกล่าวได้ว่า การสร้างปลอกไมอีลินจะช่วยทำให้การส่งสัญญาณประสาทเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อยเป็นอย่างยิ่ง

นอกจากนี้การได้รับสารอาหารที่พอเพียงก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะปลอกไมอีลินมีองค์ประกอบเป็นไขมันถึงร้อยละ 70 ดังนั้น ไขมันที่ได้รับจากอาหาร โดยเฉพาะไขมันจากนมแม่ จะเป็นแหล่งที่สำคัญในการสร้างปลอกไมอีลินในสมอง หลังจากผ่านพ้นช่วงวัยทารกไปแล้ว อาหารที่เด็กได้รับในแต่ละวันจะเป็นแหล่งสำคัญของวัตถุดิบในกลุ่มไขมันที่จะนำไปใช้ในการสร้างปลอกไมอีลิน4-7

โภชนาการก็มีส่วนสำคัญในการสร้างไมอีลิน และโครงสร้างอื่นๆ ในสมองที่ช่วยพัฒนาสมอง โดยสารอาหารสำคัญที่มีบทบาทในการสร้างไมอีลิน ได้แก่ ดีเอชเอ ธาตุเหล็ก โคลีน โปรตีน วิตามินบี 12 และสฟิงโกไมอีลิน เป็นต้น8

เทคนิคสร้างไมอีลิน

สำหรับเด็กขวบปีแรก ควรเน้นกระตุ้นประสาทสัมผัส การมองเห็น การฟัง และภาษา โดยโอบกอดลูกบ่อยๆ เลือกของเล่นมีสีสันเพื่อกระตุ้นสายตา ใช้เสียงดนตรีในการสื่อสาร ในเด็กอายุ 1-3 ปี เน้นเรื่องของภาษา ฝึกจดจำคำศัพท์ ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น ต่อของเล่น ใช้ช้อนตักอาหาร จับคู่สิ่งของ ส่วนเด็กโตวัย 3 ขวบขึ้นไป ต้องเริ่มฝึกใช้เหตุผล รู้จักอดทนรอคอย เพื่อสร้างปลอกไมอีลินในวงจรประสาทส่วนของการทำงานขั้นสูงค่ะ แล้วอย่าลืมดูแลเรื่องโภชนาการลูกน้อย ให้ลูกทานอาหารที่มีดีเอชเอ โคลีน ลูทีน และ สฟิงโกไมอีลิน ซึ่งพบได้ในอาหารพวกไข่ ครีม ชีส นม รวมถึงผลิตภัณฑ์นมต่างๆ9 นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ขอบคุณข้อมูลจาก นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

Reference;

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. Sarah Cusick, PhD and Michael K. Georgieff, MD. THE FIRST 1,000 DAYS OF LIFE: THE BRAIN’S WINDOW OF OPPORTUNITY. https://www.unicef-irc.org/article/958-the-first-1000-days-of-life-the-brains-window-of-opportunity.html
  2. Joan Stiles, Terry L. Jernigan. The Basics of Brain Development, Neuropsychol Rev (2010) 20:327–348
  3. Robert Stufflebeam. Neurons, Synapses, Action Potentials, and Neurotransmission – The Mind Project. https://www.mind.ilstu.edu/curriculum/neurons_intro/neurons_intro.php
  4. Mind’s Machine, 2e, Figure 2.1 The Major Parts of the Neuron. 2e.mindsmachine.com/figures/02/02.01.html. Textbook Reference: The Nervous System Is Composed of Cells, p. 22
  5. Hiroaki Asou, et al. Development of Oligodendrocyte and Myelination in the Central Nervous System. Keio J Med 44(2), 47-52 (1995)
  6. Otwin Linderkamp, Ludwig Janus, et al. Time Table of Normal Foetal Brain Development. Int. J. Prenatal and Perinatal Psychology and Medicine Vol. 21 (2009) No. 1/2, pp. 4–16
  7. Purves D, Augustine GJ, Fitzpatrick D, et al., editors. Increased Conduction Velocity as a Result of Myelination Neuroscience. 2nd edition. Sunderland (MA): Sinauer Associates; 2001
  8. Michael K Georgieff. The American Journal of Clinical Nutrition, Volume 85, Issue 2, 1 February 2007, Pages 614S–620S, https://doi.org/10.1093/ajcn/85.2.614S
  9. Vesper et al., Sphingolipids in Food and the Emerging Importance of Sphingolipids to Nutrition. 1999

 

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team