เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องไม่เจ็บหัวนม มีเทคนิคแบบไหนบ้าง

เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร หากให้นมในท่าที่ถูกต้องจะทำให้คุณแม่หายเจ็บหัวนมได้จริงหรือ เรามาดู เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องกันเลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร หากให้นมในท่าที่ถูกต้องจะทำให้คุณแม่หายเจ็บหัวนมได้จริงหรือ เรามาดู เทคนิคดูดนมจากเต้า ที่ถูกต้องกันเลยค่ะ

 

เทคนิคการดูดนมที่ถูกต้อง 

  • ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนให้นมมารดา
  • เช็ดทำความสะอาดหัวนมด้วยน้ำต้มสุกก่อนและหลังให้นม
  • ทั้งมารดาและทารกควรอยู่ในท่าที่สบาย
  • อุ้มทารกอยู่ในอ้อมแขน ศีรษะหนุนบนข้อศอก
  • แขนและมือประคองลำตัวและบริเวณก้น
  • ให้หัวนมเขี่ยที่ปากเพื่อกระตุ้นให้ทารกอ้าปาก ทารกจะหันมาดูดเอง มารดาอาจบีบหัวนมให้นมไหลออก
  • มาก่อนเล็กน้อย ให้ทารกอมหัวนมให้ลึกถึงลานหัวนม เพื่อป้องกันหัวนมแตก
  • ระวังเต้านมจะปิดจมูกทารก ให้กดเต้านมใต้จมูกเล็กน้อย
  • หลังดูดนมอิ่มแล้วต้องจับเรอ โดยจับทารกนั่งให้เต็มตัว และศีรษะตั้งตรงหรืออุ้มพาดบ่า ลูบหลัง เบาๆให้เรอ

 

ทำไมให้นมลูกแล้วเจ็บหัวนม 

มักเริ่มจากอาการเจ็บ และแสบบริเวณหัวนมขณะที่ลูกดูดนม ต่อมาจะพบรอยแดงบริเวณหัวนมหากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องจะกลายเป็นแผลแยกแตก และมีเลือดออก คุณแม่จะเจ็บปวดมาก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุการเจ็บหัวนม

เทคนิคดูดนมจากเต้า

  • คุณแม่จัดท่าการอุ้มลูกดูดนมไม่ถูกต้อง กอดลูกไม่กระชับ ลูกอมนมแม่ได้ไม่ลึกถึงลานนม และมักเอานิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วชี้กดไว้ที่เต้านมที่อยู่เหนือจมูกลูกเพื่อแม่จะได้มองเห็นรูจมูกลูก จึงทำให้ลูกงับได้แต่หัวนม และเมื่อแม่เริ่มเจ็บหัวนม แม่มักถอยลูกห่างจากเต้า ยิ่งทำให้ลูกดูดนมแม่ได้ยากขึ้น ลูกจะงับหัวนมไว้แน่น แม่ยิ่งเจ็บมากขึ้น
  • การดึงเอาหัวนมออกจากปากลูกในขณะที่ลูกกำลังดูดอยู่ ทำให้เกิด   รอยครูด  บริเวณหัวนม
  • ลานนมที่แข็งจากการคัดเต้านมจะทำให้ลูกดูดนมยาก ลูกจะงับเฉพาะหัวนม
  • การให้ลูกหลับคาหัวนมนาน ๆ
  • การเช็ด-ถูบริเวณหัวนมบ่อย ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท่าให้นมที่ถูกต้อง 

  • ท่าลูกนอนขวางบนตัก ( Cradle hold )

เป็นท่าที่อุ้มลูกไว้บนตักมือและแขนประคองตัวลูกไว้ ให้ลูกนอนตะแคงเข้าหาตัวแม่ ศีรษะลูกอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย ท้ายทอยลูกวางอยู่บริเวณแขนของแม่ มืออีกข้างประคองเต้านมไว้
ท่านี้เหมาะสำหรับ : คุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด

  • ท่าลูกนอนขวางบนตักแบบประยุกต์ ( Modified/cross cradle hold )  

ลักษณะของท่านี้จะคลายกับท่าแรกเพียงแต่เปลี่ยนมือของคุณแม่โดยใช้มือข้างเดียวกับเต้านมที่ลูกดูดประคองเต้านมไว้ ส่วนมืออีกข้างรองรับต้นคอและท้ายทอยของลูกแทน
ท่านี้เหมาะสำหรับ : คุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดเช่นกัน และยังเหมาะสำหรับนำลูกเข้าอมหัวนม เพราะมือของคุณแม่ที่ประคองต้นคอและท้ายทอยของลูกไว้ จะช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะลูกให้เข้าหาเต้านมได้ดี

  • ท่าอุ้มลูกฟุตบอล ( Clutch hold หรือ Football hold )

ท่านี้ลูกอยู่ในท่ากึ่งตะแคงกึ่งนอนหงาย ขาชี้ไปทางด้านหลังของแม่ มือแม่จับที่ต้นคอและท้ายทอยของลูก กอดลูกให้กระชับกับสีข้างแม่ ลูกดูดนมจากเต้านมข้างเดียวกับมือที่จับลูก มืออีกข้างประคองเต้านมไว้
ท่านี้เหมาะสำหรับ : แม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเพราะตัวของลูกจะไม่ไปสัมผัสและกดทับแผลผ่าตัดที่หน้าท้องของแม่ คุณแม่ที่มีเต้านมใหญ่หรือลูกตัวเล็กเพราะลูกจะเข้าอมงับเต้านมได้ดีกว่า และคุณแม่ที่คลอดลูกแฝด เพราะสามารถให้ลูกดูดนมจากทั้งสองเต้าพร้อมๆกันได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ท่านอน ( Side lying position )

แม่ลูกนอนตะแคงเข้าหากัน แม่นอนศีรษะสูงเล็กน้อยหลังและสะโพกตรง ให้ปากลูกอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ มือที่อยู่ด้านล่างประคองตัวลูกให้ชิดลำตัวแม่อาจใช้ผ้าขนหนูที่ม้วนไว้ หรือหมอนหนุนหลังลูกแทนแขนแม่ก็ได้ มือที่อยู่ด้านบนประคองเต้านมในช่วงแรกที่เริ่มเอาหัวนมเข้าปากลูก เมื่อลูกดูดได้ดีก็ขยับออกได้
ท่านี้เหมาะสมสำหรับ : แม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องต้องการพักผ่อน หรือให้นมลูกเวลากลางคืน

 

การนวดแก้อาการคัดตึงเต้านม 

  • คุณแม่นั่งหรือยืนในท่าที่สบาย จากนั้นเริ่มนวดบริเวณบ่าด้วยมือทั้งสองข้าง
  • ขยับไหล่ไปมาให้เลือดไหลเวียน แล้วเลื่อนมือลงมา โดยให้ฝ่ามืออยู่บริเวณรักแร้ เริ่มนวดคลึงด้วยการลงน้ำหนักที่ปลายนิ้ว
  • กดไล่จากรักแร้มายังบริเวณลานนม เลื่อนฝ่ามือมาจนถึงหน้าอกด้านบน กดไล่ลงมาที่ลานนม
  • ตบเบา ๆ บริเวณเต้านม โดยใช้ปลายนิ้วช้อนใต้เต้านม แล้วตบจากด้านล่างขึ้นข้องบน
  • ใช้ปลายนิ้วกดนวดเป็นวงกลมบริเวณรอบๆ เต้านมถ้าพบว่ามีก้อนแข็งให้นวดคลึงเบา ๆ เพื่อลดอาการแข็งตึง
  • วางนิ้วชี้ลงบนหน้าอกทั้งสองข้าง ค่อย ๆ กดลงบนเต้านมแล้วลากนิ้วทั้งสองออกจากกัน ทำไปเรื่อย ๆ จนรอบเต้านม
  • โอบรอบเต้านมโดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ของมือทั้งสองข้าง กดมือทั้งสองเข้าหากัน
  • กดปลายนิ้วชี้และคลึงเบา ๆ โดยรอบของขอบลานนม
  • ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งวางลงบนขอบลานนมโดยให้หัวนมอยู่ตรงกลาง แล้วบีบนิ้วทั้งสองเข้าหากันเพื่อระบายน้ำนม

 

ให้ลูกเรอหลังให้นม

เทคนิคดูดนมจากเต้า

การอุ้มไล่ลมให้ลูกเรอ คุณแม่ควรทำทันทีหลังจากให้ลูกดูดนมเสร็จแล้วทุกครั้ง หรือทำให้ลูกเรอก่อนที่จะให้ลูกมาดูดนมอีกข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกสำรอกน้ำนมออกมาหลังจากได้นมแม่แล้ว โดยคุณแม่สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  • ท่าที่ 1 : การอุ้มเรอโดยการเอาลูกพาดบ่า

การไล่ลมในท่าอุ้มพาดบ่าให้คุณแม่อุ้มลูกโดยให้คางของลูกอยู่ที่บ่าของแม่ ใช้ฝ่ามือลูบหลังโดยลูบขึ้นจนได้ยินเสียงเรอ

  • ท่าที่ 2 : การอุ้มเรอท่าเอาลูกนั่งบนตัก

การไล่ลมในท่านั่งบนตักให้โน้มตัวลูกมาด้านหน้าเล็กน้อย ใช้ฝ่ามือหนึ่งประคองใต้คางลูกอีกมือหนึ่งลูบหลังเบาๆจนได้ยินเสียงเรอ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ให้ลูกกินนมนานแค่ไหน

  • ช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด คุณแม่ควรให้ลูกดูดทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หรือตามความต้องการของลูก จะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ให้คุณแม่สามารถผลิตน้ำนมได้อย่างสม่ำเสมอและช่วยป้องกันเต้านมคุณแม่คัดได้อีกด้วย
  • ควรได้ดูดนมคุณแม่บ่อยและนานเท่าที่ลูกต้องการ โดยคุณแม่สามารถสังเกตว่าลูกหิวนมแล้วด้วยการที่ลูกน้อยส่ายหน้าไปมาคล้ายมองหาเต้านม ทำปากเหมือนกำลังดูดนม เอามือถูปาก ซึ่งไม่ควรรอจนลูกหิวจัดแล้วร้องไห้ออกมาเพราะจะทำให้การดูดของทารกเป็นไปได้ยากขึ้น ทั้งนี้คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมนานเท่าที่ลูกต้องการ จนกว่าลูกจะมีท่าทางว่าอิ่มแล้ว โดยการดูดเบาลง หรือคายหัวนมออก
  • ทารกแรกเกิดใน 6 สัปดาห์แรกอาจต้องการดูดนมมากถึงวันละ 8-12 ครั้ง หรือทุกๆ 2-3 ชั่วโมง จากนั้นจะลดจำนวนครั้งและระยะเวลาลง โดยทั่วไปแล้วใช้เวลากินนมจากเต้าข้างละ 10-20 นาที ดูดทุก 3-4 ชั่วโมงสัญญาณบ่งบอกว่าลูกน้อยได้รับน้ำนมเพียงพอ ช่วงเดือนแรกลูกจะกินนมวันละ 8-12 ครั้ง หลังจากนั้นลดความถี่ลงประมาณ 6-10 ครั้งต่อวัน

 

ทำไมน้ำนมไหลน้อย 

  • คุณแม่ให้ลูกดูดนมครั้งแรกหลังคลอดช้าเกินไปกว่าความเป็นจริงที่ควรจะเป็น เช่น ต้องให้ภายใน 30 นาทีแรก หรือมากกว่า 2 - 3 วันหลังทารกคลอด ทำให้กระบวนการกระตุ้นการสร้างน้ำนมไม่มีประสิทธิภาพ
  • ลูกน้อยดูดนมด้วยวิธีที่ผิด อมหัวนมได้ไม่ลึกถึงฐานหัวนม ทำให้แรงในการดูดนมเกิดขึ้นได้น้อย น้ำนมไม่ออกมา
  • คุณแม่ให้ลูกดูดนมไม่บ่อยพอ หรือน้อยกว่าวันละ 8 ครั้ง
  • มีการให้นมผง น้ำ หรืออาหารเสริมก่อน 6 เดือน ทำให้ลูกอิ่มจึงไม่ยอมดูนมแม่ต่อ
  • คุณแม่ที่ต้องทำงาน อาจมีการปั๊มนมทิ้งระยะห่างนานไป เกินกว่า 3 – 4 ชั่วโมง หรือการปั๊มแต่ละครั้งจำนวนน้อยไป
  • คุณแม่พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด รวมถึงพยายามลดความอ้วนด้วยการรับประทานอาหารน้อยเกินไป
  • คุณแม่รับประทานทานยาเม็ดคุมกำเนิดบางชนิด ในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด

 

วิธีเพิ่มน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก

เทคนิคดูดนมจากเต้า

  • หลังคลอดลูกควรให้ลูกดูดนมเลยใน 30 นาทีแรก เพื่อเป็นการกระตุ้นน้ำนมครั้งแรก
  • ให้เอาลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธี โดยให้ลูกอมหัวนมได้ลึกพอเพื่อมีแรงดูดนมออกมาและได้จำนวนเพียงพอ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายคุณแม่สร้างน้ำนมออกมาอย่างสม่ำเสมอ
  • ให้ลูกดูดนมนานขึ้นและบ่อยขึ้น โดยไม่ควรน้อยกว่าวันละ 8 ครั้ง
  • คุณแม่ที่ต้องออกไปทำงาน ควรปั๊มนมออกให้หมดเต้าทุก ๆ 3 ชั่วโมง เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้มากขึ้น
  • ใช้ผ้าอุ่นประคบเต้านมหรือนวดเต้านมเบา ๆ ก่อนและขณะที่กำลังให้ลูกดูดนม จะช่วยทำให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
  • งดการให้นมผสมหรืออาหารเสริมในช่วงอายุ 6 เดือนแรก เพราะน้ำนมแม่เพียงพอที่จะเลี้ยงให้ลูกน้อยเติบโตตามวัย โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งอาหารจากที่อื่น
  • หากพบปัญหาลูกมักจะหลับขณะดูดนม คุณแม่ควรพยายามให้ลูกดูดนมต่อด้วยการขยับเต้านม จากนั้นบีบน้ำนมเข้าปากลูกช้า ๆ จนกว่าลูกจะคายปากออกเองเพราะอิ่มแล้ว
  • หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่คิดไปเองว่ามีน้ำนมไม่เพียงพอจะเลี้ยงลูกน้อย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ งดอาหารไขมันสูงเน้นผักผลไม้และดื่มน้ำมาก ๆ ไม่ควรอดอาหารหรือทำการลดน้ำหนักอย่างเด็ดขาด

 

ที่มา : (1),(2)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ ช่วยเก็บน้ำนมสำรองแบบแสนง่าย ให้ลูกพอกินไปตลอด

ผลข้างเคียงที่เกิดจาก การกินยาคุมกำเนิด

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ลูกไม่เรอทําอย่างไร ให้ลูกกินนมเสร็จต้องจับเรอ

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow