โลกยุคใหม่หมุนเร็วกว่ายุคเราเยอะ เตรียมลูกให้พร้อมทุกการเรียนรู้

เด็กที่เกิดและเติบโตในยุคศตวรรษที่ 21 กำลังเจอกับยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพราะพ่อแม่กำลังเจอกับความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น อาชีพใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีในยุคก่อน อย่าง YouTuber หรือ Game Caster หรือกระทั่งสื่อใหม่ ๆ ที่ทำให้เกิดวิธีการเรียนรู้แบบใหม่ที่เด็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องยึดแต่ข้อมูลในตำรา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ด้วยเหตุนี้ สามสิ่งหลัก ๆ คือ 1.Skillsets 2.ความรู้ และ 3.วิธีคิดต่าง ๆ เช่น Collaborative skills, Active learning, Analytical thinking คือสิ่งที่ควรส่งเสริมให้ลูกได้รับการพัฒนา แต่หลาย ๆ อย่างพ่อแม่เองก็ไม่มั่นใจในการฝึกลูกด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการส่งลูกเรียนพิเศษเพิ่มขึ้น แต่ไม่ว่าจะพยายามยังไง พ่อแม่ก็ยังไม่หายกังวลใจ 

เพราะฉะนั้น สิ่งที่พ่อแม่ในศตวรรษที่ 21 ควรทำมากที่สุดก็คือ การเตรียมลูกให้พร้อมกับทุกการเรียนรู้ ตั้งแต่เล็ก ๆ โดยหันกลับมามองที่ศักยภาพของตัวพ่อแม่เองก่อนค่ะ เราควรลงมือเลี้ยงลูกเองให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้ก็เพื่อวางพื้นฐาน EF ที่ดีของลูก และตัวพ่อแม่จะได้รู้จักลูกอย่างลึกซึ้งด้วย เพราะการคลุกคลีกับลูกมาก ๆ จะทำให้เห็นตัวตนของลูก เมื่อเห็นศักยภาพลูกชัดเจนขึ้น ความกังวลใจก็จะน้อยลงค่ะ

ตอนลูกยังเล็ก พ่อแม่ทุกคนวางพื้นฐานการพัฒนาสมองลูกด้วยอาหารที่มีประโยชน์ แต่เมื่อลูกค่อย ๆ เติบโตขึ้น นอกจากอาหารแล้ว พ่อแม่ต้องนึกถึงการฝึกทักษะต่าง ๆ ด้วยนะคะ เช่น ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เพื่อให้สมองลูกได้พัฒนาในอีกรูปแบบหนึ่งนั่นก็คือ การคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การลงมือทำ และการควบคุมอารมณ์

นอกจากกิจวัตรประจำวันที่ลูกจะได้ฝึกสมองตนเองแล้ว การเล่นอิสระก็พัฒนาสมองลูกได้ เพราะบรรยากาศที่ไม่มีกรอบ เอื้อให้ลูกกล้าคิด กล้าทำมากขึ้น โดยพ่อแม่ตรวจสอบความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้น

หมอพบว่า พ่อแม่มักนึกถึงกิจกรรมที่จะพัฒนาสมองลูกเมื่ออยู่ในบ้านไม่ออก มีกิจกรรมหนึ่งที่หมอคิดว่า พ่อแม่สามารถชวนลูกมาทำได้ไม่ยาก ได้พัฒนาทั้งสมองส่วนคิดวิเคราะห์ ลงมือทำ แก้ปัญหา และตัดสินใจด้วย นั่นคือ กิจกรรมทำอาหาร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ชวนลูกคิดเมนูอาหาร

โดยมีกติกาว่าต้องคิดเมนูที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่เท่านั้น เพื่อให้ลูกรู้จักการ “วางเป้าหมาย” ที่ดีต่อร่างกายและสมองตนเอง  และยังฝึกลูก “คิดวิเคราะห์” แยกแยะอาหารต่าง ๆ ด้วย

2. ให้ลูกไปจ่ายตลาดตามเมนูที่คิด

เพื่อให้ลูกได้ “ลงมือทำ” ในแผนงานของตนเอง และหากมีอุปสรรค เช่น หาสิ่งของไม่เจอ หรือหาเจอแต่ของไม่สดใหม่ อากาศร้อนมาก ฯ ลูกก็จะได้ฝึก “ความอดทน” และได้ฝึก “คิดแก้ปัญหา” เองด้วย โดยพ่อแม่ต้องชะลอการช่วยเหลือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ให้ลูกลงมือทำอาหารเอง ในทุก ๆ ขั้นตอน

เพื่อให้ลูกเข้าใจว่า งานที่มีลำดับต่างๆนั้นมีเหตุผลของมันอยู่ หากสลับลำดับอาจไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ (ฝึกสมองลูกคิดเป็นระบบอย่างง่ายๆ) โดยพ่อแม่เข้าช่วยเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ หรืออันตราย เช่น กรณีที่ต้องใช้มีด

4.เรียนรู้ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

เช่น ทำจนมือเจ็บ ทำแล้วอาหารไม่สุก หรือ รสชาติแปลก ๆ ฯ เพื่อให้ลูกนำบทเรียนมาคิดแก้ไขใหม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยพ่อแม่สามารถอธิบายประโยชน์ของอาหารหลัก 5 หมู่ไปด้วยก็ได้นะคะ เช่น

  • ข้าวที่ลูกกำลังหุงอยู่ คือ คาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน ทำให้ลูกมีแรงเดิน วิ่ง
  • ไก่ที่อยู่ในน้ำซุป คือแหล่งโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของกล้ามเนื้อในร่างกาย ส่วนไดเปปไทด์ กรดอะมิโนก็เป็นส่วนย่อยของโปรตีน ที่ทำงานลงลึกในระดับสมอง สร้างสารสื่อประสาท ทำให้สมองทำงานคล่องแคล่ว
  • ผัดผักรวมจานนี้ มีเกลือแร่ และวิตามิน ซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของเซลล์ เนื้อเยื่อและเส้นประสาท
  • น้ำมันที่เราเทใส่ตอนจะผัดผักเพื่อไม่ให้ติดกระทะ มันให้พลังงานสูงมาก ทำให้ร่างกายอบอุ่น

เด็กที่กินยากหลาย ๆ คน หากได้ลงมือทำอาหารเอง ก็มักจะกินได้ดีขึ้นค่ะ

นอกจากสรรหาอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกแล้ว พ่อแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ฝึกคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และลงมือทำเอง เพราะการเตรียมลูกให้พร้อมกับทุกการเรียนรู้ ควรเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาผ่านกิจกรรมต่าง ๆ แบบเพลิดเพลิน ลองหากิจกรรมอื่น ๆ ในบ้านมาประยุกต์ดูนะคะ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ พ่อแม่ต้องใจเย็นและสื่อสารเชิงบวกด้วยค่ะ

หมอเสาวภาเลี้ยงลูกเชิงบวก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team