เด็กไทย "ไฮเปอร์" เพราะพ่อแม่ปล่อยให้ "เล่นมือถือ"

เด็กไทย "ไฮเปอร์" เพราะพ่อแม่ปล่อยให้ "เล่นมือถือ" แม้จะยอมรับว่า การใช้มือถือเลี้ยงลูกนั้นทำให้พ่อแม่ง่ายขึ้นมาก เเต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผลเสียเช่นกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กไทยไฮเปอร์ เพราะพ่อแม่ปล่อยให้ “เล่นมือถือ” 

เด็กไทยไฮเปอร์ เพราะพ่อแม่ปล่อยให้ “เล่นมือถือ” จริงหรือไม่ เล่นมือถือไม่ดีขนาดนั้นเลยรึ ทั้งที่ทำให้ลูกยอมอยู่นิ่งๆ ได้เเท้ๆ เชียว

สถานการณ์น่าเป็นห่วง

อธิบดีกรมสุขภาพจิต เผย เด็กไทยป่วย “ไฮเปอร์” กว่า  4.2  แสนคน แถมเด็กเล็กป่วย “ไฮเปอร์เทียม” อีกเพียบ แฉต้นเหตุจากพ่อแม่ ปล่อยลูกไว้กับมือถือ แท็บเล็ต จนกระทบการทำงานสมอง พูด อ่าน เขียนแย่ แนะให้ลูกเลิกเล่นมือถือ และปล่อยเล่นกับเด็กวัยเดียวกัน

นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ออกมาเปิดเผยว่า ในกลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 6-15 ปี ที่มีปัญหาผลการเรียนไม่ดี เรียนไม่ทันเพื่อนนั้นมักจะพบมี 4 โรคทางจิตเวชแอบแฝงที่พบบ่อย คือ

  1. ออทิสติก
  2. สมาธิสั้น (หรือไฮเปอร์)
  3. แอลดีหรือภาวะบกพร่องในการเรียนรู้
  4. สติปัญญาบกพร่อง

โดยโรคสมาธิสั้นพบมากที่สุด ซึ่งผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตปี 2559 ร้อยละ 5.4 คาดว่ามีเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น 420,000 คน จากประชากรเด็ก 7 ล้านคน หรือพบได้ 2-3 คนต่อห้องเรียนที่มีเด็ก 40-50 คน และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งอาการที่แสดงออกได้แก่ ซนอยู่ไม่นิ่งขาดสมาธิ หุนหันพลันแล่น หรือมักเรียกว่า “โรคไฮเปอร์” โ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดยเด็กจะวอกแวก ทำงานตก ๆ หล่น ๆ ทำอุปกรณ์การเรียนหายประจำ ซุ่มซ่าม ใจร้อน วู่วาม ซึ่งเกิดจากสมองทำงานผิดปกติ และมักมีอาการชัดเจนในช่วงประถมศึกษา

ไฮเปอร์แท้เเละเทียม

ด้าน นพ.สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ที่น่าห่วงมากขณะนี้พบว่าเด็กเล็กที่ปกติกลายเป็นโรคไฮเปอร์เทียมมากขึ้น คือมีอาการคล้ายโรคไฮเปอร์ แต่ยังไม่ถึงขั้นป่วย เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ตามใจ ปล่อยให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เล่นแท็บเล็ต สมาร์ทโฟนเพื่อทำให้เด็กนิ่ง ไม่ซน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่ในวงการจิตแพทย์พบว่าความเร็วของภาพในเกมซึ่งเปลี่ยนเร็วทุก 3 วินาที จะส่งผลโดยตรงต่อสมองทำงานไม่ลงตัว คุมสมาธิไม่ได้ ทำให้ทักษะการอ่าน การเขียน การพูดของเด็กแย่ลง อารมณ์ร้อน รอคอยไม่เป็น มีปัญหาการอยู่ร่วมกับเด็กวัยเดียวกันหรือคนอื่น ดังนั้นขอเตือนผู้ปกครองระวัง อย่าให้เด็กเล็กเล่นเกมจากอุปกรณ์เหล่านี้ หากให้หยุดเล่นได้เร็วอาการจะค่อย ๆ หายไป และควรให้เด็กได้เล่นกับเด็กวัยเดียวกัน เพื่อให้เด็กมีทักษะและพัฒนาการทุกด้าน

แก้ไขหรือรักษายังไงดี

ทั้งนี้ การดูแลนักเรียนที่เป็นโรคไฮเปอร์ ควรจัดให้เด็กนั่งเรียนหน้าชั้นหรือใกล้ครู เพื่อที่จะคอยกำกับให้เด็กมีความตั้งใจ มีสมาธิ ไม่ควรให้นั่งเรียนหลังห้องหรือนั่งใกล้ประตู หน้าต่าง เนื่องจากเด็กจะมีโอกาสเสียสมาธิง่าย ควรชื่นชมทันทีเมื่อเด็กตั้งใจเรียนหรือตั้งใจทำงาน ส่วนผู้ปกครองควรจัดบริเวณสงบในบ้านขณะเด็กทำการบ้าน

แบ่งงานให้เด็กทำทีละน้อย และควรบอกเด็กล่วงหน้าถึงเรื่องที่ต้องการให้เด็กทำ หากเด็กทำผิดควรใช้ท่าทีเอาจริง แต่สงบ ลงโทษตามข้อตกลง เช่น ลดเวลาดูทีวี ที่สำคัญต้องฝึกลูกให้มีวินัย อดทน รอคอยเป็น จัดระเบียบให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยพ่อแม่ทำเป็นตัวอย่าง ทั้งนี้อาการอยู่ไม่นิ่งของเด็ก จะลดลงเมื่อโตขึ้น แต่ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ป่วยจะมีอาการจนถึงวัยผู้ใหญ่.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา เดลินิวส์ และ นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์

บทความที่น่าสนใจ

ไฮเปอร์เทียม น่าห่วงสำหรับเด็กเล็ก หมอเตือนอย่าให้ลูกเล่นมือถือ แท็บเล็ต

ให้ลูกกินอะไรเมื่อเจ้าหนูเป็นเด็กสมาธิสั้น