รู้หรือไม่? "เด็กแรกเกิด" รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ไวกว่าผู้ใหญ่

เด็กแรกเกิด มักจะร้องไห้เพื่อสื่อว่าเขากำลังหิว เจ็บปวด หรือไม่พอใจ ทำให้พ่อแม่หรือใครๆ ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าทารกน้อยรู้สึกเช่นไร แต่จากงี้วิจัยชิ้นนี้ จะเปิดเผยถึงความลับของสมองทารกว่าพวกเขานั้นสามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้มากน้อยเพียงใด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คำให้การจากสมอง เด็กแรกเกิด จะสามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้ไวขนาดไหนกันน้า

สมองของ เด็กแรกเกิด มีความคล้ายกับสมองผู้ใหญ่ จากการค้นคว้าวิจัยทางด้านสมองของมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด (Oxford University) พบว่า เมื่อเด็กทารกมีอาการเจ็บปวดจะมีความรู้สึกเช่นเดียวกับผู้ใหญ่

การศึกษาวิยจัยครั้งนี้ ใช้เด็กแรกเกิด ที่มีสุขภาพดีจำนวน 10 คน อายุระหว่าง 1 – 6 วัน และผู้ใหญ่สุขภาพดี จำนวน 10 คน อายุระหว่าง 23 - 36 ปี โดยทารกทุกคนจะได้รับคัดเลือกจากโรงพยาบาลจอห์นคลิฟฟ์อ๊อกซ์ฟอร์ด และอาสาสมัครผู้ใหญ่นั่นจะใช้เจ้าหน้าที่หรือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด

ในระหว่างทำการวิจัยมีผู้ที่ร่วมทำการทดสอบทั้งทารกแรกเกิด พ่อแม่ และบุคลากรทางการแพทย์ โดยการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI (เป็นเครื่องที่ใช้สร้างภาพเสมือนจริงภายในร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุ แล้วนำมาประมาณผลที่คอมพิวเตอร์) ใช้สแกนร่างกายของผู้ทดสอบขณะที่พวกเขานอนหลับ จากนั้นใช้แท่งแบบพิเศษจิ้มที่ปลายเท้าของทารก ทำให้มีความรู้สึกเหมือนโดนดินสอจิ้ม แต่เป็นการกระตุ้นเบาๆ เท่านั้น เพื่อจะได้ไม่ให้ทารกน้อยตื่น เสร็จแล้วดูปฎิกิริยาตอบสนองความรู้สึกของทารกผ่าน MRI ก่อนจะนำไปเปรียบเทียบกับสมองของผู้ใหญ่ ที่ใช้วิธีการสแกนเช่นเดียวกับทารก

จากการวิจัยพบว่า ผู้ใหญ่จำนวน 18 ใน 20 คน จะแสดงอาการเช่นเดียวกับทารก และจากการสแกน พบว่า สมองของทารกจะตอบสนองต่อการจิ้มเพียงเบาๆ (128 mN) เท่านั้น ในขญะที่ผู้ใหญ่ต้องได้รับแรงกระตุ้นแรงๆ (512mN) ถึง 4 ครั้ง นั่นหมายความว่า เด็กทารกจะรับรู้ความรู้สึกเหมือนกับผู้ใหญ่ แต่พวกเขาสามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้ต่ำกว่าหรือไวกว่าผู้ใหญ่เท่านั่นเอง

การวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก The Wellcome Trust และได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร eLife ดร. Rebeccah Slater จากแผนกกุมารเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด กล่าวว่า "ไม่นานมานี้ คนส่วนใหญ่ไม่เคยคิดจะศึกษาความเจ็บปวดของทารกโดยใช้ MRI ได้ เพราะว่าเด็กๆ นั้นไม่เหมือนกับผู้ใหญ่" ดร. Slater ยังกล่าวต่อว่า "ทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 สัปดาห์ จะว่านอนสอนง่ายมากกว่าเด็กที่อายุมากกว่า และพวกเรายังค้นพบว่า พ่อแม่ของพวกเขาสามารถที่จะนอนหลับภายในเครื่องแสกนได้ เพื่อที่จะศึกษาความเจ็บปวดในสมองของทารกโดยใช้ MRI"

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะเห็นได้ว่าเรื่องความเจ็บปวดเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทารกไม่สามารถบอกได้ว่าพวกเขารู้สึกเจ็บปวด และหากมองด้วยตาเปล่าจะไม่รู้เลยว่าทารกมีอาการเจ็บปวดอยู่ ในความเป็นจริงบางคนเกิดการโต้แย้งว่าสมองของเด็กทารกอาจยังไม่มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ ทำให้พวกเขารู้สึกเจ็บปวดเพียงเพราะได้รับการกระตุ้นเบาๆ เท่านั้น

การศึกษานี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะเกิดขึ้นจากองค์กรที่เกี่ยวกับการสร้างภาพการทำงานของทารก โดยเพื่อนของเขาที่  UCL ไม่เพียงแค่นั้น นักวิจัยกล่าวว่า ในตอนนี้เป็นไปได้ว่าเราได้เห็นอาการที่เจ็บปวดภายในสมองของทารกที่คล้ายกับผู้ใหญ่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อเร็วๆ นี้ ในปี 1980 การศึกษาหาปฏิบัติการระงับความรู้สึกที่เส้นประสาทและกล้ามเนื้อของทารกเป็นเรื่องธรรมดา เพราะในขณะนั้นไม่มีตัวยาใดที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในขณะผ่าตัด ต่อมาในปี 2014 มีการจัดการความเจ็บปวดของทารกแรกเกิดขึ้น แม้ว่าทารกจะได้รับความเจ็บปวดเฉลี่ย 11 ครั้งต่อวัน แต่ทารกกว่า 60% ไม่ได้รับยาแก้ปวดใดๆ "เด็กๆ นับพันคนทั่วประเทศอังกฤษต้องเผชิญกับความเจ็บปวดทุกๆ วัน บ่อยครั้งพวกเขาไม่ได้รับแนวทางความช่วยเหลือในการจัดการความเจ็บปวดเลย การศึกษาจึงชี้ให้เห็นว่า ไม่เพียงแค่ทารกรู้สึกเจ็บปวดอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจจะมีความรู้สึกไวกว่าผู้ใหญ่" Dr Slater กล่าว

การศึกษาในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะตรวจพบสัญญาณความเจ็บปวดเส้นประสาท โดยใช้เทคโนโลยี MRI ในอนาคตพวกเราหวังว่าจะมีการพัฒนาระบบการตรวจจับ “สัญญาณความเจ็บปวด” ในสมองของทารก ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถทดสอบหาความแตกต่างของการบรรเทาอาการเจ็บปวด และสามารถใช้งานได้ประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บแต่ไม่สามารถพูดได้

ที่มา: www.ox.ac.uk

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถอดรหัส เสียงร้องไห้ทารก รู้มั้ย? หนูร้องไห้แบบนี้เพราะอะไร

ลูกร้องไห้โยเย เพราะไม่สบาย แม่จะสังเกตได้ยังไง

บทความโดย

Khunsiri