ขึ้นชื่อว่ายารักษาโรค ก็ต้องเป็นยาที่ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ให้หายขาด มิใช่ทำให้อาการยิ่งแย่หรือรุนแรงขึ้น แต่เรื่องร้าย ๆ นี้ ก็เกิดขึ้นกับครอบครัวของคุณแม่ Danielle Hart เมื่อเธอให้ยาน้ำ Ibuprofen หรือ ไอบูโปรเฟน แก่ลูกน้อยอายุ 15 เดือนกิน เพื่อหวังจะรักษาอาการไอของลูกให้หายขาด
แต่เธอกลับพบว่า ลูกชายของเธอหรือ Finley เกิดอาการทานอาหารไม่ได้ หายใจติดขัด มีไข้ และอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งไปกว่านั้นผิวหนังของลูกน้อยมีอาการอักเสบ เป็นผื่นแดงขั้นรุนแรง จนเกิดเป็นแผลลักษณะบวม พุพองและไหม้
Danielle จึงนำลูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลทันที
อาการแพ้ยาขั้นรุนแรง
หลังจากเข้าทำการรักษาตัวได้ 4 วัน แพทย์จึงออกมาระบุว่า Finley ป่วยเป็นโรคสะตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson Syndrome) กลุ่มอาการที่หาพบได้ยาก แต่หากเป็นแล้วอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งโรคนี้เป็นกลุ่มอาการของการอักเสบทางผิวหนังเนื่องจากการแพ้ยานั่นเอง
Danielle กล่าวว่า เมื่อเธอทราบอันตรายของอาการดังกล่าว เธอช็อคเป็นอย่างมาก เธอไม่คิดว่าการให้ยา ที่เป็นตัวยาปกติ ที่พ่อแม่ท่านอื่นมักให้ลูก ๆ ทานกันนั้น จะส่งผลรุนแรง ทำให้ลูกเธอมีอาการแพ้ได้ขนาดนี้ เธอเล่าต่อว่า เธอตกใจมากเมื่อเห็นผื่นขึ้นตามตัวของ Finley อย่างหนัก ปากของลูกชายเธอมีสีดำคล้ำและมีผื่นขึ้นทั่วทั้งตัว อาการแพ้ยาขั้นรุนแรงนี้ ยังส่งผลให้อวัยวะภายในของลูกชายเธอ ทำงานบกพร่องจนเกือบล้มเหลวทั้งหมด
การรักษาอาการนี้ อาจต้องใช้เวลาร่วมหลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน ซึ่งวิธีป้องกันนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะหลีกเลี่ยงยากลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวสะตีเวนส์จอห์นสันนี้ได้ ต้องขอบคุณครอบครัวของคุณแม่ Danielle สำหรับการแชร์ประสบการณ์ในครั้งนี้ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้บ้านอื่น ๆ มีความระมัดระวังในการให้ลูกทานยามากขึ้น
โรคสะตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson Syndrome) คือ?
ภาวะปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกายที่ตอบสนองผิดปกติต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายหรือต่อการเจ็บป่วยของร่างกาย และทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ผิวหนังและของเยื่อเมือกบุภายในอวัยวะทั่วร่างกาย
อาการ
- มีผื่นแดงขึ้นทั่วตามตัว
- แผลพุพองหรือบวมแดงบริเวณใบหน้า
- ปรากฏผื่นลมพิษ
- ลิ้นบวม
- อาจมีอาการไข้ร่วมด้วยในระยะเริ่มต้น
เรื่องนี้ คุณพ่อคุณแม่ที่สนใจ สามารถอ่านข้อมูลโดยละเอียดได้ที่ โรค Stevens-Johnson อาการแพ้ยาที่อาจรุนแรงถึงชีวิตลูกรัก
ที่มาจาก ph.theasianparent.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เด็กคนนี้เกือบเสียชีวิตเพราะแพ้ยาแก้ปวด ลดไข้ชนิดหนึ่ง
มหิดลแจง กระแสข่าว 10 ขนมอันตรายพบสารตะกั่วสูง ไม่เป็นความจริง