เคล็ดลับสุขภาพดีของเบบี๋ เริ่มต้นจากมื้อแรก

หากอาหารคำแรก สามารถกำหนดสุขภาพในอีกสิบปีข้างหน้าของลูกได้ แม่จะเลือกอาหารแบบไหนให้ลูกทาน ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ทุกคนล้วนคาดหวังอยากให้ลูกรักเติบโตมามีสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่มีแม่จำนวนไม่มากนักที่ทราบว่า เคล็ดลับสุขภาพดีของเบบี๋ เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการเลือกอาหารให้เหมาะสมกับร่างกาย เข้าใจในวิถีธรรมชาติ จากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เหล่านี้เอง อาจส่งผลให้ลูกน้อย มีร่างกายอ่อนแอ กลายเป็นเด็กอ้วน มีโรคต่างๆ รุมเร้ายาวเหยียดในอนาคตที่รอคอยอยู่ไม่ไกล…

ลูกป่วยเพราะอ่อนแอ หรือเติบโตมาแบบฝืนธรรมชาติ ?

ธรรมชาติออกแบบระบบย่อยอาหารของมนุษย์ ให้เอื้ออำนวยต่อการรับประทานผักและผลไม้ มากกว่าการบริโภคเนื้อสัตว์ เพราะเรามีภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหารต่ำกว่าสัตว์กินเนื้อถึง 20 เท่า มีลำไส้ที่สั้นกว่าเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัวถึง 9 เท่า เมื่อเราทานเนื้อสัตว์ที่ย่อยยากอยู่แล้วเข้าไป ประกอบกับเนื้อสัตว์เป็นอาหารที่ไม่มีกากใย ยิ่งทานผักผลไม้น้อยเข้าไปอีก ก็จะยิ่งทำให้ขับถ่ายสิ่งเน่าเสียออกจากลำไส้ได้ช้า จนกลายเป็นโรคท้องผูก และอาจเป็นการเปิดประตูต้อนรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยไม่รู้ตัว

 

วารสารการแพทย์อเมริกัน (The Journal of The American Medical Association) รายงานว่า การทานอาหารจากพืชเป็นหลัก สามารถป้องกันโรคหัวใจได้ถึง 97% สอดคล้องกับรายงานการศึกษาวิจัย ที่ว่าการกินผักผลไม้ต่อเนื่องตั้งแต่วัยเด็ก ช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งในอนาคตได้ จากการศึกษาติดตามคนจำนวน 4,999 คน เป็นเวลา 60 ปี พบว่า การทานผลไม้มากๆ ในวัยเด็ก ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งในวัยผู้ใหญ่ได้ถึง 38 เปอร์เซ็นต์

PBWF คืออะไร? ทำไมต้องให้ลูกทานอาหารเน้นพืช

PBWF ย่อมาจาก Plant Based Whole Food หมายถึง การรับประทานอาหารจากพืชเป็นหลัก ได้แก่ ผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืชเต็มเมล็ดต่างๆ โดยอาหารเหล่านี้ ต้องไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป สกัด ขัดสี หรือปรุงแต่งจนสูญเสียคุณค่าของสารอาหารตามธรรมชาติไป หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ใหญ่ วัว หมู นมวัว รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสัตว์ อาทิ แฮม ไส้กรอก เบคอน ชีส เนย น้ำมัน ซึ่งมีระดับไขมันอิ่มตัวสูง สัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง และเป็นสาเหตุของโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ลดการใช้น้ำตาล เกลือ แป้งขัดขาว ไม่ทำอาหารให้สุกด้วยวิธี ทอด ปิ้ง ย่าง หรือผ่านกระบวนการใช้ความร้อนสูง ซึ่งเป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนส์ ( Phytonutrients ) ที่มีอยู่ในพืช ยังอุดมด้วย กรดอะมิโนจำเป็น มีฤทธิ์ต้านโรคร้ายแรง อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคต้อกระจก รวมถึงลดความเสี่ยงในการเป็นโรคทางภูมิคุ้มกันต่างๆ อาทิ โรคภูมิแพ้ หอบหืด และยังช่วยให้กระบวนการอักเสบต่างๆ เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบ กลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น

เคล็ดลับสุขภาพดีของเบบี๋ เริ่มต้นได้ตั้งแต่วัยหัดเคี้ยว

 

การเลือกทานอาหารในวัยผู้ใหญ่ มีพื้นฐานมาจากความคุ้นลิ้นชินรสในช่วงสิบปีแรกของชีวิต หากคุณแม่ต้องการให้ลูกรัก โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีเลิศ เลือกทานอาหารจากพืชเป็นหลัก ไม่ไขว้เขวต่ออาหารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อร่างกาย ต้องเริ่มจากการสร้างสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูกเอื้ออำนวยต่อการรับประทานผักผลไม้เสียก่อน พ่อแม่เองก็ต้องทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี แล้วเริ่มให้เด็กๆ วัยหัดเคี้ยว ทานอาหารที่ทำจากผักบดผสมนมแม่ เพราะการทานผักก่อนผลไม้ นอกจากจะช่วยปรับระบบรับรสชาติ และระบบย่อยอาหารได้ดีแล้ว ยังช่วยให้ลูกไม่เสพติดรสหวาน สามารถทานผัก ผลไม้ และธัญพืชชนิดต่างๆ ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ถือเป็น เคล็ดลับสุขภาพดีของเบบี๋ ที่แม่ทุกคนนำไปปรับใช้กับลูกรักได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อเด็กๆ มีวิจารณญาณในการเลือกทานอาหารที่เป็นมิตรกับสุขภาพ ก็เท่ากับมีเกราะป้องกันแสนวิเศษติดตัวไปตลอดชีวิต มีสุขภาพร่างกายดีจากภายในสู่ภายนอก ทั้งยังไม่เสี่ยงต่อการแพ้อาหาร หรือเป็นโรคภูมิแพ้และโรคแพ้ภูมิตัวเอง ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารน้อยลง รวมทั้งมีรูปร่างสมส่วน ไม่เป็นโรคอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค และที่สำคัญ ลูกรักจะเป็นต้นแบบที่ดี ทั้ง ทางด้านพันธุกรรม และพฤติกรรมให้กับเจเนอเรชั่นต่อไปอีกด้วย

 

สนใจรับคู่มือโภชนาเจ้าตัวน้อย คลิก : https://www.startright.info

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง :

https:// mgronline.com/daily/detail/9550000131186

https:// www. motherandcare.in.th/motherandcare-toddler-โภชนาการ-สุขภาพดี-เรื่องกิน

https:// www. wellnesswecare.com/th/category/plant-based-whole-food

ดร.โจเอล เฟอร์แมน (เขียน), พญ.สุธีรา เอื้อไพโรน์กิจ (แปล), โตไป…ไกลโรค (Disease-Proof your child). กรุงเทพฯ : ฟรีมายด์, 2559.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช, อาหารบำบัดโรค (ฉบับปรับปรุงล่าสุด). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560.

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team