เคล็ดลับ 19 ประการสร้างโภชนาการที่ดีให้ลูกวัยอนุบาล

คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกว่าการพยายามให้ลูกวัยอนุบาลรับประทานอาหารนั้นยากกว่าตอนเป็นเด็กวัยเตาะแตะเสียอีก เพราะความเป็นตัวเองของเขาที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ยิ่งเลือกกินมากขึ้น เราจึงนำทิปส์ต่อไปนี้มาฝากเพื่อเป็นไอเดียสำหรับโภชนาการที่ดีของลูกน้อยวัยอนุบาล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. อาหารสดดีที่สุด

ควรให้ลูกน้อยได้รับประทานผักและผลไม้ตั้งแต่ยังเล็ก เพราะเมื่อเขาคุ้นเคย คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องซ่อนผักไว้ในอาหารเมื่อเขาโตขึ้น

2. มื้ออาหารคือช่วงเวลาแสนสนุก

กระตุ้นลูกน้อยให้รับประทานผักและผลไม้ที่หลากหลายสีสันด้วยกิจกรรมแสนสนุก โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสร้างตารางขึ้นมาอันหนึ่ง เมื่อลูกน้อยรับประทานอาหารที่มีสีแดง เช่น สตรอเบอร์รี่ ให้ลูกแปะสติกเกอร์ในช่องสีแดง เป็นต้น

3. ให้ลูกได้มีส่วนร่วม

การให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการเตรียมอาหาร ทำให้ช่วงเวลาอาหารเด็กอนุบาลน่าตื่นเต้นมากขึ้น และคุณพ่อคุณแม่ยังสามารถใช้ช่วงเวลาในการอธิบายถึงประโยชน์ของวัตถุดิบแต่ละชนิดได้อีกด้วย

4. จัดจานอย่างสร้างสรรค์

บางครั้ง การเปลี่ยนวิธีพรีเซ้นต์อาหาร และเปลี่ยนชื่อเมนู ก็เปลี่ยนมื้ออาหารเดิมๆ ให้เป็นมื้อที่สุดวิเศษได้ เช่น หั่นก้านผักเป็นท่อน ท่อนละสองนิ้ว จากนั้นทาด้วยเนยถั่ว และตกแต่งด้วยลูกเกด แล้วเรียกมันว่า “มดบนขอนไม้” แค่ชื่อก็เรียกความสนใจจากลูกน้อยได้แล้ว ลองพลิกแพลงไปเรื่อยๆ คุณจะพบว่าลูกสนใจมื้ออาหารเพิ่มขึ้นมากทีเดียว

5. สอนลูกให้เลือกขนมที่มีประโยชน์

เวลาอาหารว่างมักเป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่มักกังวล กลัวว่าลูกจะกินขนมที่ไม่มีประโยชน์ คุณควรทำให้เขาเห็นว่าอะไรคือสิ่งที่มีประโยชน์ โดยการซื้อแต่ขนมที่มีประโยชน์มาไว้ที่บ้าน และไม่ซื้อขนมที่ไม่มีประโยชน์ให้ลูก

6. เสิร์ฟอาหารที่หลากหลายซ้ำๆ

การที่ลูกไม่กินอาหารชนิดนั้นในวันนั้น ไม่ได้หมายความว่า ลูกจะไม่กินอาหารชนิดนั้นอีกเลย ให้เวลาเขาก่อน เว้นวรรคไปเมนูอื่น แล้วลองเสิร์ฟอาหารชนิดนั้นใหม่ในสัปดาห์เดียวกัน ความพยายามของคุณจะสำเร็จในสักวัน

7. อยากให้ลูกกินอะไรแม่ต้องกินก่อน

หากคุณอยากให้ลูกกินแครอท แต่ตัวคุณเองเกลียดแครอทเอามากๆ คุณต้องทำให้ลูกเห็นว่า คุณมีความสุขกับการกินแครอทมากแค่ไหน วันหนึ่งลูกก็จะหยิบแครอทขึ้นมากินเองโดยที่คุณไม่ต้องคะยั้นคะยอเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8. เปลี่ยนอาหารทีละอย่าง

หากลูกน้อยของคุณไม่กล้าลองอาหารใหม่ๆ จงอดทน และรอเมื่อเขาพร้อม ลูกวัยอนุบาลกำลังอยู่ในช่วงที่จะชอบหรือไม่ชอบอาหารบางอย่าง คุณอาจค่อยๆ เปลี่ยนวัตถุดิบทีละอย่าง โดยยังคงมีผักที่เขาคุ้นเคยอยู่ในเมนูนั้นด้วย ไม่ควรเปลี่ยนแบบพลิกโฉมเป็นของใหม่หน้าตาแปลกทั้งหมด

9. เลือกของหวานที่ดีต่อสุขภาพ

แทนที่จะให้ลูกอมเมื่อเขาอยากกินอะไรหวานๆ ควรเลือกเป็นผลไม้อบแห้งอย่างลูกเกดหรือแอพริคอตแห้งแทน เพราะของหวานไม่ได้ให้โทษไปเสียทุกอย่าง อาหารจะอร่อยต้องครบรส คุณสามารถเสิร์ฟของหวานให้ลูกได้ด้วยอาหารที่มีประโยชน์ ทำให้ลูกรู้ว่า เขาสามารถเลือกสิ่งที่ดีเพื่อสุขภาพได้อย่างไร และต้องแน่ใจว่าลูกน้อยแปรงฟันหลังจากกินของหวานเหล่านั้นเสมอ

10. เตรียมผลไม้แช่เย็นเป็นของว่าง

ผลไม้แช่เย็นเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับมื้ออาหารว่างที่เหมาะกับอากาศบ้านเรา คุณอาจหั่นแตงโม มะม่วง ฝรั่ง แอปเปิลใส่กล่องแช่ตู้เย็นไว้ ให้เขาหยิบออกมารับประทานได้ทันทีเมื่อเขาต้องการของว่าง

11. ผสมผสานเพื่อโภชนาการที่ดี

สมูทตี้เป็นเครื่องดื่มผสมผสานผลไม้หลายชนิดเข้าด้วยกัน คุณสามารถมิกซ์แอนด์แมทช์ส่วนผสมที่แตกต่างเพื่อสร้างสรรค์สมูทตี้ที่ไม่เหมือนใคร นอกจากความอร่อยในรูปแบบเครื่องดื่มแล้ว  ยังสามารถเอามาใส่พิมพ์แช่แข็งทำเป็นไอศกรีมแสนอร่อยได้อีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

12. เติมความกรุบกรอบให้เด็กชอบเคี้ยว

ถั่วต่างๆ มีคุณค่าทางอาหารมากมาย เมื่อคุณเลือกซีเรียล อย่าลืมเลือก โฮลเกรน หากลูกน้อยชอบกินข้าวขาวมากกว่าข้าวกล้อง ให้ค่อยๆ ลองผสมข้าวกล้องทีละน้อยในช่วงเริ่มต้น

13. จัดหนักโปรตีน

โปรตีนมีส่วนสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย ควรเลือกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เมนูปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง นอกจากนี้ไข่ก็เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ที่สามารถนำไปดัดแปลงเป็นเมนูต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย

14. เติมแคลเซียมให้กระดูก

อาหารที่ทำจากนมคือแหล่งแคลเซียมสำหรับเด็ก ๆ หากลูกน้อยของคุณย่อยแลกโตสได้ไม่ดี อาจหันมาดื่มนมถั่วเหลืองแทน นอกจากนี้ คุณแม่อาจลองหาทางเติมนมลงในอาหารที่คุณกำลังทำอยู่ได้อีกด้วย

15. รู้จักไขมัน

ไขมันก็มีทั้งไขมันดีและไขมันไม่ดี คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรู้ถึงความแตกต่างของไขมันทั้งสองแบบ ไขมันดีมีโอเมก้า 3 และ 6 พบได้ในปลาแซลมอน และปลาแมกเคอเรล ถั่ว และอโวคาโด ส่วนไขมันไม่ดีหรือไขมันทรานส์ควรหลีกเลี่ยง สามารถดูที่ฉลากผลิตภัณฑ์ว่ามีส่วนผสมของไขมันไม่ดีอยู่หรือไม่ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

16. ควบคุมปริมาณโซเดียม

อาหารแปรรูป และอาหารฟาสต์ฟู้ด มีเกลือในปริมาณมากเกินไป ไม่ดีต่อสุขภาพ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ หันมารับประทานอาหารสด และอาหารโฮมเมดแทน แต่หากจำเป็นต้องซื้ออาหารกระป๋อง หรืออาหารแห้ง ควรเลือกที่มีโซเดียมต่ำ

17. หลีกเลี่ยงอาหาร junk food

เป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารขยะไม่ดีต่อสุขภาพอย่างไร อย่างมันฝรั่งทอดกรอบมีทั้งไขมันทรานส์และเกลือจำนวนมาก และมีการโฆษณาอย่างแพร่หลาย คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มต้นที่การจำกัดเวลาอยู่หน้าจอของลูก เพื่อลดการเข้าถึงโฆษณา junk food

18. หันมากินอาหาร (โฮมเมด)

หากลูกของคุณชื่นชอบ นักเกต และไก่ทอด ทำไมไม่ซื้อมาทำเองที่บ้านล่ะ คุณแม่สามารถหาสูตรได้ง่ายๆในอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญคุณสามารถควบคุมวัตถุดิบทุกอย่างได้ด้วยตัวเองด้วยล่ะ

19. เปลี่ยนวิธีปรุงอาหาร

วิธีปรุงอาหารก็มีผลต่อสุขภาพ เป็นความคิดที่ดีหากคุณจะลองเปลี่ยนจากอาหารทอดมาเป็นต้ม อบ นึ่ง ตุ๋นแทน

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

10 แอพฯน่าเล่น สำหรับลูกวัยอนุบาล

4 กิจกรรมฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ลูกวัยอนุบาล

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา