อุ้มลูกให้ถูกท่า ทำอย่างไร / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 62

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่บางคน อาจมีความตื่นเต้นที่จะได้อุ้มลูกเป็นครั้งแรก บางคนก็จะรู้สึกกลัว และเป็นกังวลการกับอุ้มลูกน้อย ซึ่งการ อุ้มลูกให้ถูกท่า หรือควรจะอุ้มทารกรกแรกเกิดอย่างไร จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณพ่อ – คุณแม่ควรศึกษา หรือซ้อมอุ้มตุ๊กตาดูก่อน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับลูกน้อยเมื่อถึงเวลาอุ้มจริง ๆ 

อุ้มลูกให้ถูกท่า หรือวิธีอุ้มทารกให้ถูกต้อง มักจะเป็นปัญหากับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่เป็นอย่างมาก เพราะลูกตัวเล็ก และพ่อแม่ก็กลัวลูกจะตก หรือ เจ็บ เพราะเด็กทารกยังเบาะบาง คอเด็กยังไม่แข็ง ถ้าอุ้มผิดก็อาจทำให้กระดูกคอเคลื่อนที่ได้ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ในเวลาที่ต้องทำกิจวัตรให้ลูก เช่น อุ้มดูดนม อุ้มจับเร่อ เปลี่ยนผ้าอ้อม หรืออุ้มอาบน้ำ เป็นต้น

ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง มีกี่ท่า

การอุ้ม คือการแสดงออกถึงความรัก และเป็นวิธีถ่ายทอดความอบอุ่นจากแม่สู่ลูก ที่ลูกน้อยสามารถสัมผัสได้โดยตรง การอุ้มเด็กทารกนั้น จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก แต่เรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรเลย หากคุณแม่ และคุณพ่อมือใหม่รู้จักเรียนรู้ และมีวิธีอุ้มลูกที่ถูกต้อง แถมยังเป็นการทำความรู้จัก และเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างแม่ และลูก หรือ พ่อ และลูก ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ดังนั้นแล้วลองไปดูท่าอุ้มต่าง ๆ ที่ควรอุ้มลูกน้อย เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี กันค่ะ

1. ท่าเปล

วิธีนี้เป็นวิธีทั่วไป และเป็นวิธีที่ดีที่จะดูแววตาของทารก นอกจากนั้นยังเป็นวิธีธรรมชาติที่สุด และง่ายที่สุดสำหรับการอุ้มทารกด้วยเช่นกัน ท่านี้เป็นท่าที่ง่ายที่สุดในการอุ้มทารกที่มีผ้าพันไว้ สิ่งที่คุณควรทำเวลาอุ้มท่านี้ คือ:

  • การอุ้มทารกด้วยท่าเปล อันดับแรกให้ทารกนอนราบ และอุ้มขึ้นโดยมือข้างหนึ่งอยู่ใต้คอและศีรษะ อีกข้างอยู่ใต้ก้น และสะโพก
  • กางนิ้วให้มากที่สุดเวลาอุ้มเข้าหาหน้าอกของคุณ เพราะจะทำให้ประคองได้ดีเวลาอุ้มทารก
  • ค่อย ๆ เลื่อนมือจากศีรษะ และคอไปยังหลังของลูกน้อยอย่างอ่อนโยนศีรษะของทารกจะอยู่ที่แขน ให้งอแขน และข้อศอกเล็กน้อย
  • มืออีกข้างประคองช่วงก้น และสะโพกของทารก
  • อุ้มทารกไว้ใกล้ ๆ ตัวของคุณ และสามารถโยกทารกไปมาได้เล็กน้อย

การอุ้มท่าเปลเป็นท่าอุ้มที่คุณแม่สามารถสื่อถึงความรัก ความผูกพันต่อลูกได้มากที่สุด เพราะทั้งคุณแม่และคุณลูกจะมองเห็นหน้ากัน และลูกน้อยจะได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่ได้อย่างชัดเจน ท่านี้สามารถใช้ทั้งให้นมและอุ้มเล่นกับลูกได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ท่าอุ้มพาดบ่า หรือทาบลำตัว

Sleeping newborn at the male shoulder, hold gently by a hand. Family, healthy birth concept photo, close up

เป็นท่าอุ้มที่ให้ความอบอุ่น และทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย และสามารถเหยียดตัวได้ตามสบาย โดยคุณแม่จะรับน้ำหนักลูกด้วยมือที่รองก้นข้างหนึ่ง และอีกมือหนึ่งประคองหลังลูก ท่านี้คุณแม่อาจจะใช้อุ้มลูกน้อยหลังให้นมเสร็จ เพื่อให้ลูกน้อยเรอขณะเดียวกัน ก็เป็นท่าอุ้มที่ป้องกันอาการท้องอืดในลูกน้อยได้ด้วย โดยมีวิธีดังนี้

  • สอดมือขวาใต้ศีรษะ และคอลูก ส่วนมือซ้ายควรจะคอยประคองก้นและกระดูกสันหลัง
  • อุ้มลูกขึ้นมาในระดับหัวไหล่ ศีรษะลูกไม่ควรพับข้ามไหล่ของคุณแม่ไปข้างหลัง แล้วใช้แขนรองรับก้นลูก ขาของลูกควรห้อยต่ำกว่าแขนของคุณแม่
  • เพื่อความมั่นคงยิ่งขึ้นควรประคองศีรษะลูกด้วยมือข้างที่ว่าง และถ้าคุณต้องโน้มตัวไปข้างหน้า ทุกครั้งต้องไม่ลืมใช้
  • มือประคองศีรษะ และคอของลูกด้วย

3. ท่าอุ้มที่ท้อง

ท่านี้สามารถทำให้ลูกน้อยของคุณสงบลงได้เวลาอยู่ไม่สุข มาดูว่ามีอะไรบ้างที่คุณต้องทำในการอุ้มท่านี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ให้ศีรษะ และหน้าอกของทารกอยู่บนแขนของคุณในลักษณะคว่ำ
  • ดูให้ดีว่าหน้าของลูกน้อยหันออกข้างนอกสามารถหายใจได้ และหนุนอยู่บนแขนของคุณ
  • เคาะหรือนวดหลังของทารกเล็กน้อยด้วยมืออีกข้างหนึ่ง
  • คอยดูว่าศีรษะและคอของทารกได้รับการประคองอย่างดีตลอดเวลา

4. อุ้มแบบตาสบตา

ท่านี้เป็นท่าที่จะทำให้คุณสื่อสารกับลูกน้อยได้ดีที่สุด มาดูกันว่าวิธีการที่คุณต้องทำมีอะไรบ้าง:

  • วางมือข้างหนึ่งไว้หลังคอและศีรษะของทารก
  • มืออีกข้างประคองก้นของทารกไว้
  • อุ้มทารกไว้ด้านหน้าของคุณในระดับต่ำกว่าหน้าอก
  • ยิ้มและหยอกล้อเจ้าตัวน้อยแสนน่ารักของคุณ

5. ท่าถือลูกบอล

ท่านี้เหมาะกับการป้อนอาหารให้ลูกน้อย สามารถทำได้ไม่ว่าคุณจะยืนหรือนั่ง มาดูกันว่าคุณต้องทำอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • วางมือไว้ที่หลังศีรษะและคอของทารกให้หลังของทารกนอนอยู่บนแขนข้างเดียวกัน คุณสามารถเปลี่ยนแขนในการอุ้มได้ แค่ต้องมั่นใจว่าศีรษะ และคอของลูกน้อยจะถูกประคองไว้ตลอด
  • ทารกมีการบิดตัวด้วยการถีบขาหาคุณมากขึ้น
  • ขยับทารกเข้าใกล้อก หรือเอวของคุณ
  • ใช้มือข้างที่ว่างป้อนอาหารทารก หรือช่วยประคองศีรษะทารกก็ได้

6. ท่า “เปิดโลกกว้าง”

หากลูกน้อยของคุณเป็นเด็กที่ช่างอยากรู้อยากเห็น ท่านี้เป็นท่าที่เหมาะมาก ที่จะทำให้ลูกน้อยของคุณมองเห็นว่ามีอะไรรอบ ๆ ตัวบ้าง ทั้งหมดที่คุณต้องทำก็คือ

  • ให้หลังของทารกแนบกับหน้าอกของคุณ และอย่าลืมต้องมั่นใจว่าหัวของทารกได้รับการดูแลที่ปลอดภัย
  • ให้มือข้างหนึ่งประคองก้นของทารก
  • นำมืออีกข้างประคองอกของทารกไว้โดยพาดมาด้านหน้าของทารก
  • ดูให้ดีว่าศีรษะของทารกได้รับการประคองอย่างปลอดภัยจากหน้าอกของคุณ
  • หากคุณนั่งอยู่ สามารถวางทารกไว้บนตักของคุณได้เลยโดยไม่ต้องเอามือประคองก้นของทารกก็ได้

7. อุ้มทารกไว้แนบสะโพก หรือข้างลำตัวเมื่อทารกถึงวัยที่สามารถประคองศีรษะของตัวเองได้แล้ว

สำหรับทารกที่โตขึ้นมาหน่อยประมาณ 4 – 6 เดือน ทารกสามารถประคองศีรษะของตัวเองได้แล้ว! คุณสามารถอุ้มไว้ข้างลำตัวได้เลย (การอุ้มทั้งหมดนี้สำหรับทารกที่เด็กมาก ๆ จนกระทั่งถึงวัยหัดเดิน) :

  • อุ้มให้ข้างลำตัวทารก (แนบลำตัว) หรือตรงกลาง (คร่อมตัวคุณ) ไว้ที่ข้างลำตัว หรือสะโพกของคุณ ให้แน่ใจว่าจะอุ้มให้ด้านซ้าย หรือกลางตัวของทารกอยู่ทางด้านขวาของคุณ หรือฝั่งตรงข้ามขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากอุ้มทารกไว้ข้างไหน ต้องแน่ใจว่าหากอุ้มทารกไว้ข้างนั้น ๆ แล้วจะไม่มีปัญหาอะไร อย่าลืมให้ความปลอดภัยแก่ศีรษะของทารกเป็นพิเศษ และดูให้ดีว่าหน้าของทารกไม่ได้คว่ำอยู่ (จากการอุ้มแบบนี้ เหล่าคุณแม่มักจะอุ้มลูกน้อยไว้ทางขวาแนบกับด้านซ้ายของลูกน้อย (ให้ขาของลูกคร่อมตัวแม่) และให้หน้าของลูกหันไปข้างหน้า)
  • ใช้แขนของคุณ “ประคอง” ขาและหลังของทารก จับให้ถนัด และสบายที่สุดสำหรับคุณ และลูกน้อย
  • คุณสามารถใช้มืออีกข้างช่วยประคองขาและหลัง หรือว่าส่วนอื่น ๆ ที่คิดว่าต้องการการดูแลมากที่สุดก็ได้ นอกจากนั้นคุณสามารถใช้มือข้างนี้ป้อนอาหาร หรือทำงานที่จำเป็นอื่น ๆ (ทารกไม่ได้ต้องการการประคองมาก ๆ ตลอดเวลา และคุณก็จะรู้สึกอุ้มทารกได้สบายมากขึ้นด้วย)
  • วิธีการอุ้มแบบนี้เป็นท่าทั่วไป สำคัญ และสะดวกสบาย โดยเฉพาะเวลาที่คุณมีงานหลายอย่างต้องทำ ใช้ท่านี้อย่างชำนาญและระมัดระวัง รับรองเลยว่าคุณจะต้องพึงพอใจมากๆ แน่นอน

เคล็ดลับการอุ้มลูก

  • ให้นั่งเมื่ออุ้มทารกครั้งแรกเพราะเป็นการเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด
  • ดูจากคนที่มีประสบการณ์ในการอุ้มทารกบ่อย ๆ ก่อนที่คุณจะเริ่มอุ้ม
  • พยายามเล่น และสื่อสารกับทารกก่อนอุ้ม เพราะจะทำให้ทารกคุ้นเคยกับคุณ เขาจะจดจำเสียง กลิ่น และหน้าตาของคุณได้
  • หากคุณเห็นศีรษะที่อ่อนโยน และปลอดภัย คุณทำได้ดีแล้ว
  • ทางเลือกอื่น ๆ ในการประคองศีรษะของทารกด้วยการใช้ด้านข้างของศอก ให้ใช้มือซ้ายช่วยประคองลำตัวของทารก
  • เด็กทารกชอบถูกอุ้ม คุณอาจเห็นว่าคุณทำแบบนั้นบ่อย ๆ เป้สำหรับอุ้มทารกสามารถช่วยคุณได้ ทำให้คุณทำงานต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

คำเตือน

  1. ความผิดพลาดในการประคองศีรษะของทารกจะทำให้เกิดการบาดเจ็บในระยะยาวได้
  2. ห้ามอุ้มทารกขณะที่ถือของร้อน อาหาร หรือทำอาหาร
  3. การเขย่าหรือเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเกินไปจะทำให้ทารกได้รับอันตราย
  4. การอุ้มทารกตรง ๆ (บริเวณท้อง) ในลักษณะที่ทารกไม่สามารถนั่งได้เองจะทำให้เกิดความเสียหายต่อกระดูกสันหลังของทารก

การอุ้มลูกนับเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อีกเรื่องหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องอุ้มให้ถูกวิธีการต่าง เพราะทารกเกิดมาพร้อมกับหลังที่โค้งงอ ดังนั้นกระดูกสันหลังของลูก จะต้องเหยียดตรงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนถัดมา ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากคุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกอย่างถูกต้อง อย่างวิธีแล้ว ก็ถือว่ากำลังช่วยกระบวนการดังกล่าวนี้ของลูกน้อยได้เป็นอย่างดีเลยล่ะค่ะ และเพื่อพัฒนาการที่ดีและความปลอดภัยของลูกน้อยอีกด้วย

ที่มา : https://www.amarinbabyandkids.com/parenting/how-to-hold-a-baby/

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

ammy