ลูก 1 ขวบกินอะไรดี? แนะนำ อาหารเด็ก 1 ขวบ เสริมสร้างสมองเน้นพัฒนาการ
แม่ๆหลายคนสงสัย ลูกกินอะไรดี ลูก1ขวบกินอะไรได้บ้าง อาหารของลูกน้อย อาหารของลูกในวัยนี้ มีอะไรบ้างต้องกินอะไร เพื่อเสริมพัฒนาการ เรามาดูกัน ลูก 1 ขวบกินอะไรดี? แนะนำ อาหารเด็ก 1 ขวบ เสริมสร้างสมองเน้นพัฒนาการ
อาหารสำหรับลูกน้อยใน 1 วัน
- ทารกแรกเกิด – 4 เดือน
- ควรให้กินนมแม่อย่างเดียว หากแม่ไม่สามารถให้นมได้ควรเก็บน้ำนมให้ลูกไว้กิน
- จำนวนนมที่ควรให้ คือ 6-8 มื้อ รวมตอนกลางคืนด้วย
- ในกรณีที่แม่ต้องให้ลูกน้อยกินนมผสม แบ่งตามช่วงอายุ
- ทารกแรกเกิด – 2 เดือน: ควรให้ครั้งละ ประมาณ 2-3 ออนซ์
- อายุ 2 – 4 เดือน: ควรให้ครั้งละ ประมาณ 3-5 ออนซ์
- เด็กอายุ 4 – 6 เดือน
- ยังคงให้ลูกน้อยกินนมแม่อยู่
- สำหรับแม่ต้องให้ลูกน้อยกินนมผสม ควรให้ครั้งละ ประมาณ 4-6 ออนซ์
- จำนวนนมที่ควรให้ คือ 6-8 มื้อ
- อาจจะเริ่มให้อาหาร 1 มื้อ โดยเริ่มจากอาหารบดก่อน เช่น ข้าวบดหรือกล้วยบด แล้วลองป้อนดูว่าลูกกลืนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ควรเว้นการเริ่มให้อาหารลูกไว้ก่อน
- เด็กอายุ 6 – 9 เดือน
- หากคุณแม่สามารถให้นมลูกได้ ก็ให้ได้อย่างต่อเนื่อง
- สำหรับแม่ต้องให้ลูกน้อยกินนมผสม ควรให้ครั้งละ ประมาณ 5-6 ออนซ์ จำนวน 4-5 มื้อต่อ 24 ชม.
- อาหารที่ให้ลูกทานต้องครบ 5 หมู่ แต่ต้องไม่มีการปรุงแต่งรสชาติ
- ควรเริ่มให้ลูกน้อยกินผลไม้สด หากเป็นนำผลไม้ ไม่ควรกินเกิน 2-4 ออนซ์ต่อวัน
- ควรให้ลูกทานอาหารวันละ 1-2 มื้อ สำหรับเด็ก 6-7 เดือน และควรให้ลูกทานอาหารวันละ 2 มื้อ สำหรับเด็ก 8-9 เดือน
- เด็กอายุ 9 – 12 เดือน
- หากคุณแม่สามารถให้นมลูกได้ ก็ให้ได้อย่างต่อเนื่อง
- สำหรับแม่ต้องให้ลูกน้อยกินนมผสม ควรให้ครั้งละ ประมาณ 6-8 ออนซ์ จำนวน 3-5 มื้อต่อ 24 ชม.
- อาหารที่ให้ลูกทานต้องครบ 5 หมู่ แต่ต้องไม่มีการปรุงแต่งรสชาติ
- ให้ลูกน้อยกินผลไม้สด หากเป็นนำผลไม้ ไม่ควรกินเกิน 2-4 ออนซ์ต่อวัน
- ควรให้ลูกทานอาหารวันละ 2 มื้อ สำหรับเด็ก 9 เดือน และควรให้ลูกทานอาหารวันละ 3 มื้อ สำหรับเด็ก 10-12 เดือน
- ฝึกให้ลูกดื่มนมจากกล่องหรือแก้ว และพยายามให้ลูกเลิกกินนมตอนกลางคืน รวมถึงเลิกขวดนมด้วย
- ควรฝึกให้ลูกหยิบอาหารทานเอง แต่เริ่มจากอาหารนิ่มก่อน ระวังอย่าให้อาหารจำพวกเม็ดเพราะอาจทำให้ติดคอได้
อาหารที่เหมาะกับวัยทารก (แรกเกิด – 1 ปี)
- วัยแรกเกิด – 6 เดือน อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กในวัยนี้มีเพียง “นมแม่” เท่านั้น การให้นมแม่ไม่มีการกะเกณฑ์ปริมาณที่ตายตัว คุณแม่ควรยึดหลัก “กินอิ่มหลับสบาย” แต่คุณแม่สามารถประมาณการให้นมแต่ละครั้งนานไม่น้อยกว่า 20 – 30 นาที และให้นมอย่างน้อย 8 ครั้ง / วัน
- วัย 6 – 7 เดือน ในวัยนี้นอกจากนมแม่แล้ว ควรให้อาหารเสริมซึ่งเป็นอาหารบดวันละ 1 มื้อ เพื่อแทนนมอาจให้อาหารเสริมในช่วงมื้อเช้าหรือมื้อกลางวัน ในช่วงวัย 6 – 7 เดือนนี้ ระบบการย่อยของเด็กเริ่มแข็งแรงขึ้น ดังนั้น ควรเพิ่มเนื้อสัตว์สุกบด เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา นอกจากนี้ควรให้เกเริ่มรับประทานผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินซีบำรุงเหงือกและฟัน เพราะวัยนี้ฟันเริ่มขึ้นแล้ว ผลไม้ที่ให้รับประทานเป็นมะละกอสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ เงาะฝานชิ้นบางแล้วยีให้ละเอียดอีกครั้ง หรือจะเป็นองุ่นลอกเปลือกออก หั่นครึ่งนำเมล็ดออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ควรให้ลูกกินในปริมาณน้อย ๆ ก่อน เมื่อเริ่มคุ้นเคยค่อยเพิ่มปริมาณ
- วัย 8 – 9 เดือน ในช่วงวัยนี้รับประทานอาหารเสริมแทนนมแม่ 2 มื้อ สำหรับอาหารเสริมให้รับประทานอาหารเสริมเหมือนช่วงวัย 6 – 7 เดือน แต่ควรเพิ่มรับประทานผักบดเพิ่มด้วย และเพิ่มผลไม้เป็นอาหารว่าง
- วัย 10 – 12 เดือน ในช่วงวัยนี้ควรฝึกให้เด็กเริ่มรับประทานอาหารด้วยตนเอง แม้จะเลอะเทอะไปบ้างก็ตาม อาหารเสริมในวัยนี้เนื้อจะเริ่มหยาบขึ้นเพราะเริ่มมีฟันสำหรับบดเคี้ยวได้มากขึ้น อาหารเสริม เช่น ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ สปาเกตตี โดยคุณแม่ต้องตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาต้มสุก ใส่น้ำซุปที่มีเนื้อสัตว์และผัก เพิ่มเพิ่มรสชาติและฝึกการบดเคี้ยว สำหรับอาหารว่างนอกจากผลไม้แล้ว อาจเป็นขนมปังเวเฟอร์เพิ่มเติมก็ได้
หลักการให้อาหารเสริมแก่ลูก
1.การให้อาหารเสริมควรเริ่มทีละน้อย เช่น เริ่มให้ครั้งแรก 1 ช้อนโต๊ะ แล้วค่อย ๆ เพิ่มเป็น 2 – 3 ช้อนโต๊ะ แล้วแต่ชนิดของอาหาร
2.เวลาที่จะเริ่มอาหารเสริมชนิดใหม่ หลากหลายรสชาติ ควรเว้นระยะ 1 – 2 สัปดาห์ แล้วค่อยเริ่มอาหารชนิดใหม่ ทั้งนี้ เพื่อดูว่าลูกมีอาหารผดผื่นหรือหอบหืดที่เกิดจากการแพ้อาหารหรือไม่
3.หากลูกไม่ชอบอาหารชนิดใด ควรงดไว้ก่อนสัก 1 สัปดาห์ แล้วค่อยลองให้ลูกรับประทานใหม่อีกครั้ง ทดลองไปเรื่อย ๆ จนกว่าลูกจะยอมรับ
4.ไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำหวานหรือรับประทานของหวาน อาจส่งผลให้เด็กติดรสหวานและไม่ยอมรับประทานอาหารอื่น ๆ
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
เรื่องกลิ่นเท้า เรื่องใหญ่ รวม 5 สมุนไพรดับกลิ่นเท้า กลิ่นอับ กลิ่นเหม็น
10 น้ำยาซักผ้าเด็ก ฆ่าเชื้อโรค ผ้าหอม ไม่เป็นอันตรายต่อลูก
เหม็นผัวตอนท้อง ทำไมแม่ท้องถึงชอบเหม็นผัว อาการเกิดจากอะไร