ตั้งครรภ์อายุมาก เมื่อแม่อายุ 38 ปี จะมีความเสี่ยงหรือไม่

ตั้งครรภ์อายุมาก เมื่อแม่อายุ 38 ปี จะมีความเสี่ยงหรือไม่ มีอะไรที่ต้องระวังบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับผู้หญิงอายุ 38 อาจจะยังไม่ใช่วัยที่อายุมาก หรือพูดได้ว่าเป็นสาวแก่ แต่อายุ 38 ปีสำหรับการตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์อายุมาก ถือว่า ตั้งครรภ์อายุมาก

ในความหมายของการตั้งครรภ์ “สตรีอายุมาก” (Advanced maternal age) หมายถึงสตรีตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไป โดยอ้างอิงจากอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดทารกมีภาวะดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติของจำนวนชุดโครโมโซมมากขึ้น (aneuploidy) ในรายงานของ National center for health statistics ใช้คำว่า older women และใช้กำหนดอายุ 35 ปีขึ้นไปเช่นกัน

ตั้งครรภ์อายุมาก เสี่ยงอย่างไร

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก การฝังตัวของรกเสื่อมสภาพลง อาจทำให้เด็กตัวเล็กกว่าปกติ มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด มีโอกาสที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมมากกว่าเด็กที่คลอดจากแม่อายุน้อย ๆ และยังมีความเสี่ยงจากความผิดปกติอื่น ๆ ได้อีก

ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเมื่อ ตั้งครรภ์อายุมาก

การแท้งลูก (Miscarriage)

ยิ่งอายุมาก ความเสี่ยงในการแท้ง ก็มากขึ้นตามอายุ โดยจะเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป อาจแท้งได้ทั้งตัวอ่อนที่มีชุดโครโมโซมปกติ และผิดปกติ มักเกิดการแท้งในช่วงอายุครรภ์ 6 ถึง 14 สัปดาห์ สาเหตุเกิดจากคุณภาพไข่ที่ลดลง และการเปลี่ยนแปลงของมดลูก และฮอร์โมนในร่างกาย

 

ตั้งครรภ์อายุมาก การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy)

ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์นอกมดลูกเพิ่มขึ้นตามอายุ ท้องอายุมาก คือ อายุ 35 ปีขึ้นไป อาจเพิ่มความเสี่ยง ตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ถึง 4-8 เท่าเมื่อเทียบกับท้องตอนอายุน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension in Pregnancy)

หญิงตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเกิดภาวะความดันโลหิตสูงก่อนการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้หญิงอายุ 30-34 ปี 2-4 เท่า เมื่อมีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าด้วยสาเหตุใด เป็นอันตรายทั้งกับแม่และลูก คือ ทำให้เกิดผลจากการหดตัวมากเกินไปของเส้นเลือดแดง (ซึ่งทำให้เกิดความดันโลหิตสูง) ทำให้เลือดไหลเวียนในร่างกายส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะส่วนที่สำคัญ ได้แก่ สมอง ไต หัวใจ ไม่ดี ทำให้อวัยวะทำงานล้มเหลว (organ failures) การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ทำให้มีการเกิดลิ่มเลือด เส้นเลือดอุดตัน และการแข็งตัวของเลือด (ถ้ามีเลือดออก) ผิดปกติ

 

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental abruption)

ตามปกติแล้ว รกควรจะลอกตัวออกจากโพรงมดลูก หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว ไม่ว่าจะคลอดทางช่องคลอด หรือผ่าคลอดทางหน้าท้องก็ตาม แต่หากทารกยังไม่คลอดแต่รกเกิดลอกตัวจากโพรงมดลูก ไม่ว่าจะหลุดลอกออกเพียงเล็กน้อย หรือหลุดลอกออกบริเวณกว้าง อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตทั้งแม่ และทารกในครรภ์ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คลอดก่อนกำหนด (Perinatal morbidity)

มีความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดสูง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีภาวะคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น แต่อัตราตายของทารกแรกคลอดไม่เพิ่มขึ้น และมีอัตราการรอดชีวิตของทารกสูงกว่าในกลุ่มผู้หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยอีกด้วยค่ะ

 

ทารกมีความผิดปกติของโครโมโซม (Chromosome abnormality)

ความเสี่ยงของการเกิดจำนวนโครโมโซมผิดปกติ (aneuploidy) เพิ่มขึ้นตามอายุ ความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดคือ การเกิดการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกน้ำหนักน้อย (Low birth weight)

ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ลูกคลอดออกมาจะยิ่งมีน้ำหนักน้อย

 

ทารกเสียชีวิต

การตายปริกำเนิด (Perinatal Mortality) แม่ที่ตั้งครรภ์อายุมาก ลูกมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงตั้งแต่ในครรภ์ คือ ทารกเสียชีวิตตอนน้ำหนักน้อย 500-1,000 กรัม หรือ เสียชีวิตช่วงอายุครรภ์อย่างน้อย 22 สัปดาห์เต็มถึงน้อยกว่า 7 วันหลังคลอด

ความเสี่ยงเมื่อตั้งครรภ์อายุมาก

การดูแลตัวเองเมื่อ “ตั้งครรภ์อายุมาก”

 

ก่อนตั้งครรภ์

  • วางแผนการตั้งครรภ์ เสริมวิตามิน กินโฟลิคก่อนการตั้งครรภ์
  • ตรวจร่างกายเพื่อหาความผิดปกติ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน
  • ตรวจคัดกรองโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย
  • ฉีดวัคซีนจำเป็นก่อนตั้งครรภ์ เช่น วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน หรือไวรัสตับอักเสบบี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระหว่างตั้งครรภ์

  • รีบไปฝากครรภ์ตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์ หรือเมื่ออายุครรภ์น้อย
  • เข้าใจถึงความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์
  • ตรวจคัดกรอง และการวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ เช่น การตรวจอัลตราซาวด์ (ultrasonography) การเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesis) และการเจาะเลือดจากสายสะดือของทารก (chorionic villus sampling: CVS) เป็นต้น
  • ใส่ใจเรื่องโภชนาการ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินอาหารที่ให้พลังงานเพิ่มขึ้นจากปกติ
  • กินวิตามินตามที่หมอสั่งให้ครบ
  • สังเกตอาการตัวเอง และรีบไปพบแพทย์ หากมีอาการผิดปกติ
  • คอยนับ และสังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินสุขภาพของลูก

ระยะคลอด

  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด เช่น ภาวะตกเลือดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ช่องทางคลอดฉีกขาดเนื่องจากการยืดหยุ่นไม่ดี
  • ช่วงใกล้ครบกำหนดคลอด ควรสังเกตอาการความเปลี่ยนแปลง ความผิดปกติให้ดี เช่น ท้องแข็ง มีเลือด มีน้ำคร่ำออกไหม ถ้าพบความผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ค่ะ

 

ที่มา (Department of Obstetrics and Gynecology) (Department of Obstetrics and Gynecology) (Samitivej Hospitals) (ThaiJo) (Vibhavadi)

บทความโดย

gloy