สังเกตุให้ดี!! 8 อาการเตือนคลอดก่อนกําหนด ที่แม่ท้องก่อน 37 สัปดาห์ต้องระวัง

คลอดก่อนกำหนด เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้กับแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะแม่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นไลฟ์สไตล์ที่เสี่ยงทำให้ลูกคลอดก่อนกำหนด หรือแม่ที่เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนดมาแล้ว รวมถึงมีโรคประจำตัว และสาเหตุอื่น ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัญญาณอันตราย! 8 อาการเตือนคลอดก่อนกําหนด ลักษณะการคลอดก่อนกำหนดถือเป็นการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ดังนั้นตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์คุณแม่ควรใส่ใจดูแลทั้งตัวเองและลูกน้อย และสังเกตุ!! อาการเตือนคลอดก่อนกําหนด อาการคลอดก่อนกำหนด เหล่านี้ให้ดี หากมีอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่ควรจะพาตัวเองไปพบแพทย์โดยด่วนนะคะ!

1.รู้สึกมีอาการเจ็บครรภ์เองโดยไม่ทราบสาเหตุ มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน

2.มีการหดรัดของมดลูก  สังเกตุดูว่า ในอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไปนั้น มดลูกหดรัดตัวบ่อยมากกว่า 6 ครั้งใน 1 ชั่วโมงหรือเปล่า โดยช่วงเวลาที่เกิดบ่อยนั้นมักอยู่ในช่วงกลางดึก ประมาณ 4 ทุ่ม และ ตี 2 ซึ่งคุณแม่อาจจะรู้สึกปวดหรือไม่ปวดก็ได้ อาจเป็นเพราะมดลูกมีการหดรัดตัวไม่แรง

3.มีอาการปวดหน่วง ๆ บริเวณบั้นเอว ต้นขาอาจเป็นๆ หายๆหรือปวดตลอดเวลา

4.มีอาการปวดท้องหรือปวดบริเวณหัวหน่าวคล้ายกับตอนปวดประจำเดือน อาจปวดเป็นช่วงๆ หรือปวดตลอดเวลา

5.ปัสสาวะบ่อยขึ้น และอาจมีอาการท้องเสีย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6.มีมูก มูกเลือดหรือน้ำใส ๆ ออกทางช่องคลอด อาจมีเลือดปนออกมาด้วยเป็นสีแดงจาง ๆ สีชมพู หรือสีน้ำตาลปนเลือด หรือมีมูกข้นเป็นก้อนหลุดออกมา

7.มีความรู้สึกว่าทารกดิ้นผิดปกติ หรือรู้สึกได้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย

8.ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกก่อนกำหนด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากพบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ แม้เพียงอาการใดอาการหนึ่ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนนะคะ

อาการใกล้คลอด อาการคลอดก่อนกำหนด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา

คุณแม่ท้องแก่ใกล้คลอดคงตื่นเต้นกับลูกน้อยที่จะลืมตาดูโลกในไม่ช้า กำหนดคลอดพอจะช่วยให้มีเวลาเตรียมตัวได้อย่างคร่าว ๆ แต่อาการใกล้คลอดแบบไหนที่เป็นสัญญาณเตือนให้ไปโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เพราะหลายคนก็มีอาการใกล้คลอดแตกต่างกันออกไป โดยคุณแม่อาจลองสังเกตได้จากสัญญาณเตือนสำคัญเหล่านี้

มีมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด

คุณแม่สามารถพบมูกเลือดไหลออกทางช่องคลอดภายในไม่กี่นาที เป็นชั่วโมง หรือบางรายเป็นวันก่อนการคลอด โดยมูกที่พบมีอยู่หลายลักษณะ ตั้งแต่มูกใส สีน้ำตาล สีออกชมพู หรือแม้แต่สีแดงสดเหมือนเลือด มีความหนืดและข้นคล้ายตกขาว

มูกนี้เป็นกลไกในการป้องกันแบคทีเรีย เชื้อโรค และสิ่งสกปรกทั้งหลายไม่ให้เข้าสู่มดลูก โดยร่างกายจะมีการสร้างชั้นเมือกหนาปกคลุมบริเวณปากมดลูกในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ แต่เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมในการคลอดจะทำให้เกิดการสลายเมือกเหล่านั้นออกมาทางช่องคลอด แต่ในบางรายก็อาจมีมูกเลือดออกมาในปริมาณที่น้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำเดินหรือน้ำคร่ำเดิน

เป็นอีกอาการที่ค่อนข้างชัดเจนว่าใกล้คลอดแล้ว คุณแม่จะมีของเหลวเป็นน้ำใส ๆ ไหลออกมาจากช่องคลอดเช่นเดียวกับมูกเลือด ส่วนมากจะไหลออกมาในปริมาณไม่เยอะแล้วหายไป แต่บางรายอาจมีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอดในปริมาณมาก โดยพบได้ 1 ใน 10 ของหญิงตั้งครรภ์

อาการเหล่านี้เกิดจากถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มตัวเด็กเกิดฉีกขาดหรือแตก เพื่อเตรียมตัวให้เด็กคลอดออกจากท้องแม่ แต่อาจทำให้หลายคนมักสับสนระหว่างน้ำปัสสาวะและน้ำจากถุงน้ำคร่ำ ซึ่งโดยทั่วไปของเหลวจากอาการน้ำเดินจะเป็นของเหลวใสและไม่มีกลิ่น

เจ็บท้องคลอด

ในช่วงที่เกิดการเจ็บท้องคลอดจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บ มีอาการตึง ๆ หรือบีบรัดที่ครรภ์ หลายคนมักจะเรียกอาการนี้ว่าท้องแข็ง มีอาการปวดตื้อ ๆ บริเวณหลังและท้องช่วงล่าง โดยเริ่มปวดไล่มาตั้งแต่มดลูกลงไปยังก้นอย่างสม่ำเสมอหรือไล่จากล่างขึ้นบนสลับกัน ปวดเป็นจังหวะ และมีรูปแบบในการปวดที่คาดเดาได้ เช่น มีอาการปวดทุก ๆ 8 นาที ปวดอยู่นานประมาณ 30-70 วินาที ซึ่งอาการปวดจะเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ปวดนานและถี่ขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการคลอด เนื่องจากมดลูกบีบตัวและหดรัด อีกทั้งการหยุดทำกิจกรรมหรือเปลี่ยนท่าทางจะไม่ช่วยให้อาการปวดดีขึ้น มักพบว่ามีอาการปวดร่วมกับน้ำเดินและมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด

แม้อาการเจ็บท้องจะเป็นสัญญาณเตือนที่ค่อนข้างชัดเจน แต่ยังมีความคล้ายกับอาการปวดเตือนที่เป็นการเจ็บท้องหลอก (False Labor) ซึ่งอาจทำให้คุณแม่มือใหม่สับสนได้อยู่บ้าง โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจดูอีกครั้งว่าสภาพร่างกายของแม่มีความพร้อมและปากมดลูกเปิดกว้างมากพอหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณเตือนอื่น ๆ ที่บ่งบอกถึงอาการใกล้คลอดเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่เป็นอาการเล็กน้อย เปลี่ยนแปลงไม่มาก หรืออาจเป็นอาการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน ทำให้คุณแม่ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างได้มากนัก ซึ่งแต่ละคนอาจมีอาการมากน้อยต่างกันหรือในบางรายก็อาจไม่มี เช่น

  • ตำแหน่งของท้องเคลื่อนต่ำลง ทารกเริ่มมีการเคลื่อนตัวลงมาใกล้บริเวณกระดูกเชิงกรานมากขึ้น จึงทำให้เห็นได้ว่าตำแหน่งครรภ์ในช่วงใกล้คลอดอยู่ต่ำมากกว่าในช่วงตั้งครรภ์แก่ แต่ยังไม่คลอด ระยะนี้คุณแม่อาจจะหายใจได้สะดวกขึ้น เพราะแรงกดที่กระบังลมลดลง และอาจมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • อาการท้องเสียหรือถ่ายเหลว ในช่วงเข้าสู่ระยะใกล้คลอด คุณแม่อาจพบอาการถ่ายเหลวหรือท้องเสีย เพราะร่างกายมีการสร้างสารคล้ายฮอร์โมนที่ชื่อ โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเตรียมพร้อมกับการคลอด ทำให้มดลูกหดตัวและช่วยขยายปากมดลูกให้กว้างขึ้น แต่ก็กระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายมากด้วยเช่นกัน
  • ปวดหลัง หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะพบอาการปวดหลังได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากหลังของเราอยู่ในลักษณะโค้งเป็นเวลานานหลายเดือน เพื่อรองรับทารกในครรภ์ และเด็กทารกอาจจะเคลื่อนตัวต่ำลงมาจนศีรษะอยู่ใกล้หรือชนกับกระดูกสันหลังแม่ ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดอาการปวดอย่างต่อเนื่องมากขึ้น
  • นอนไม่หลับหรือหลับยาก
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิด

ปวดจริงหรือปวดหลอก สัญญาณแบบไหนที่บอกว่าคลอดจริง

จวนเจียนจะคลอดก็ต้องพบอาการปวดอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่อาการปวดท้องก็มีทั้งแบบปวดท้องคลอด (True Labor Contractions) ที่เป็นอาการปวดจะคลอดออกมาจริงในเวลาอันใกล้ และอาการปวดท้องหลอก ซึ่งเป็นอาการปวดที่ช่วยย้ำว่าระยะเวลาการจะคลอดเริ่มใกล้เข้ามา จึงทำให้หลายคนเรียกว่าเป็นอาการปวดเตือน (False Labor/Braxton Hicks Contractions) อาการปวดทั้ง 2 แบบสามารถสร้างความสับสนให้คุณแม่หลายท่าน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการคลอดมากนัก ซึ่งอาการปวดท้องเตือนจะแตกต่างกับปวดท้องจริงตามลักษณะที่สังเกตได้จาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เป็นอาการไม่สบายตัว อึดอัดบริเวณช่วงหน้าท้องด้านหน้าหรือกระดูกเชิงกราน
  • อาการปวดไม่รุนแรง หลายคนอธิบายว่ามีลักษณะคล้ายอาการปวดประจำเดือน
  • ปวดเป็นช่วง ๆ แล้วหายไป ไม่ปวดถี่ติดกัน
  • อาการมักหายไปเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง หรือหยุดทำกิจกรรมนั้น ๆ
  • เกิดได้ตั้งแต่ช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ หรือในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์

หากคุณแม่เริ่มมีอาการปวดท้องในลักษณะนี้ก็อย่าเพิ่งกังวลใจไป แต่ควรระมัดระวังในการเดิน เมื่อมีอาการลองเปลี่ยนท่าทางหรือขยับร่างกาย งีบหลับระหว่างวัน แช่ตัวในน้ำอุ่น หรือฟังเพลงเพื่อความผ่อนคลายก็อาจทำให้อาการหายไป

เตรียมความพร้อมเมื่อใกล้คลอด

กำหนดคลอดเข้ามาใกล้เรื่อย ๆ ทำให้คุณแม่กระตือรือร้นในการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้ควรมีการดูแลตนเองหลายเรื่อง ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รับฝากครรภ์ หรือแม้แต่เทคนิคคนรุ่นก่อนที่ช่วยให้คลอดได้ง่ายมากขึ้น แต่ควรเลือกในสิ่งที่เหมาะสมและพอดี รวมไปถึงไม่ควรวิตกกังวลในการคลอดมากจนเกินไป

นอกจากนี้ก็ต้องไม่ลืมเตรียมตัวหลังการคลอดให้พร้อมเช่นกัน ประเด็นที่ควรคำนึงอาจเป็นเรื่องการปรึกษากับคู่ครองและครอบครัว ศึกษาเส้นทางในการเดินทาง ระยะทางในการไปโรงพยาบาล ผู้ดูแลในระหว่างการคลอด หรือระยะเวลาในการพักฟื้นร่างกาย รวมไปถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ของตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในระหว่างอยู่โรงพยาบาลและหลังคลอด เช่น เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว เพื่อให้มั่นใจว่าเตรียมการทุกอย่างที่ต้องทำไว้เรียบร้อยล่วงหน้าก่อนคลอด และมีแผนสำรองอยู่เสมอในกรณีฉุกเฉิน เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ไม่มีอะไรต้องให้กังวล

รับมือกับอาการใกล้คลอดเมื่ออยู่โรงพยาบาล

แพทย์จะมีการประเมินความพร้อมในการคลอดของคุณแม่ โดยมีการตรวจดูปากมดลูกเป็นระยะว่าเปิดกว้างแค่ไหน หากเปิดกว้างถึง 10 เซนติเมตรก็จะสามารถคลอดได้ แต่ในบางรายที่ถุงน้ำคร่ำไม่แตก แพทย์อาจจะต้องมีการเจาะถุงน้ำคร่ำ หรืออาจมีการให้ยาเร่งคลอด เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการคลอดได้ง่ายขึ้น

เมื่อเริ่มมีอาการเจ็บท้องคลอดมากขึ้นในระหว่างนี้ อาจลองฝึกการหายใจยาวเพื่อเบ่งคลอด โดยให้ผู้ดูแลทำไปพร้อม ๆ กันเป็นจังหวะ เพื่อช่วยให้เบ่งคลอดได้ง่ายมากขึ้น หรือให้ช่วยลูบหลังเบา ๆ ก็อาจบรรเทาอาการปวดระหว่างรอคลอดได้

 


ที่มา :

www.thaihealthlife.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ต้องรู้! การดิ้นของทารกในครรภ์ 8 เดือน มีผลทำให้ท้องแข็งและคลอดก่อนกำหนดได้

คลอดก่อนกําหนดเกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด ?

 

บทความโดย

Napatsakorn .R