ท้องแฝด เป็นแบบไหน ดูยังไง อาการตั้งครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับคุณแม่หลาย ๆ คน ที่อีกไม่นานก็จะคลอดเจ้าตัวเล็กแล้ว หากใครกำลังอุ้มลูกแฝดอยู่ ก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือเพิ่มเป็นสองเท่า เพราะต้องเลี้ยงลูกพร้อมกันถึงสองคน ว่าแต่ว่า เราจะรู้ได้ยังไงนะ ว่าเรากำลังอุ้มท้องเด็กแฝดอยู่ อาการตั้งครรภ์แฝด สังเกตได้อย่างไร เดี๋ยวเราจะมาเล่าให้ฟัง

 

โอกาสในการท้องเด็กแฝด มีมากแค่ไหน ทำไมบางคนถึงมีลูกแฝดได้

การที่คน ๆ หนึ่งท้องลูกแฝด ว่ากันว่าสาเหตุหลัก ๆ มาจากพันธุกรรม หากบรรพบุรุษ หรือญาติ ๆ ของเราเคยมีลูกแฝด หรือเป็นแฝดกันมาก่อน โอกาสที่เราจะมีลูกแฝดก็มีมากขึ้น นอกจากนี้ อายุของคุณแม่ ก็มีส่วนทำให้ท้องเด็กแฝดได้ด้วย หากคุณแม่มีอายุมาก และท้องมาแล้วหลายครั้ง ก็อาจจะท้องเด็กแฝดได้ในครั้งต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ หากทานยาคุมติดต่อกันนาน 3 ปี หรือตั้งท้องโดยการผสมเทียมหรือทำเด็กหลอดแก้ว ก็อาจทำให้มีลูกแฝดได้ด้วยเช่นกัน

 

ฝาแฝด แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

โดยทั่วไปแล้ว เด็กแฝดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แฝดแท้ ที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน และอสุจิตัวเดียวกัน ดังนั้น เด็กที่เกิดมาจึงหน้าตาใกล้เคียงกันมาก รวมถึงยังอาจมีบุคลิกลักษณะนิสัย และรูปร่างคล้ายกันอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เด็กทั้งสองอาจเกิดมาพร้อมกับปัญหาแทรกซ้อนบางอย่าง แพทย์จึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดในขณะที่แม่กำลังอุ้มท้องเด็กอยู่

 

วิดีโอจาก : RAMA Channel

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ส่วนเด็กแฝดอีกกลุ่มหนึ่ง จะเรียกว่า แฝดเทียม แฝดคู่นี้จะเกิดจากไข่คนละฟองและอสุจิคนละตัวกัน ซึ่งเด็กที่เกิดมาอาจมีหน้าตาไม่ค่อยคล้ายกันเท่าไหร่นัก รวมทั้งอาจมีเพศที่แตกต่างกันได้ด้วย และเนื่องจากว่าเด็กเกิดจากไข่คนละฟอง เด็กจึงไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อนหลังจากการเกิดเท่าไหร่

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลี้ยงลูกแฝด ยังไงดี ความซนคูณสอง ต้องมีวิธีรับมืออย่างไร

 

อาการตั้งครรภ์แฝด เป็นแบบไหน?

ในระหว่างนี้ หากยังไม่สามารถดูเพศลูก หรืออัลตราซาวนด์ได้ ก็สามารถทายว่าลูกเป็นเด็กแฝดหรือไม่ จากอาการต่อไปนี้ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. อาการแพ้ท้อง

หากคุณแม่แพ้ท้องอย่างหนัก ทั้งคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะได้ลูกแฝด ซึ่งจากการสำรวจ พบว่า คนที่อุ้มลูกแฝด มักจะมีอาการแพ้ท้องมากกว่าคนที่ท้องลูกคนเดียวถึง 15%

 

2. ท้องใหญ่

หากสังเกตเห็นว่าตัวเองยังอายุครรภ์ไม่เยอะ แต่ท้องใหญ่มากผิดปกติ ก็เป็นไปได้ว่าคุณแม่ได้ลูกแฝด เพราะเมื่อมีเด็กในท้องหลายคน มดลูกจะขยายออกมากผิดปกติ อย่างไรก็ตาม อาจมีปัจจัยอื่นที่ทำให้ท้องใหญ่กว่าปกติได้เช่นเดียวกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 3. ลูกดิ้นเร็ว

คุณแม่ที่ท้องแฝด อาจรู้สึกว่าลูกดิ้นไว เมื่อเทียบกับเพื่อน ๆ หรือคนท้องคนอื่น ๆ แต่ว่าแพทย์หลาย ๆ คน ก็ยังไม่ปักใจเชื่อเท่าไหร่นัก เพราะว่าคุณแม่ที่ท้องเป็นครั้งที่สอง มักจะรู้สึกว่าลูกดิ้นไวกว่าปกติอยู่แล้ว

 

 

4. เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

คุณแม่ท้องแฝดหลาย ๆ คน มักจะบอกว่ารู้สึกเหนื่อยเป็นพิเศษในช่วงไตรมาสแรก โดยจะรู้สึกง่วง และร่างกายอ่อนล้ามาก ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้ อาจมาจากการที่ร่างกายของคุณแม่นั้นทำงานหนักมากขึ้น เพื่อดูแลเด็ก ๆ ทั้ง 2 คน แต่ทั้งนี้ ก็อาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้คุณแม่เหนื่อยได้ง่าย เช่น ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานหนัก การรับประทานอาหารไม่เพียงพอ เป็นต้น

 

5. หัวใจคุณแม่จะเต้นเร็วกว่าปกติ

คุณแม่ที่ท้องแฝด อาจจะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ เมื่อเทียบกับคุณแม่ครรภ์เดี่ยวคนอื่น ๆ เพราะหัวใจคุณแม่จะงานหนัก เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั้งตัวคุณแม่และเด็ก ๆ

 

อย่างไรก็ตาม อาการทั้งหมดนี้ เป็นแค่ข้อสันนิษฐานเท่านั้น ไม่สามารถนำมายืนยันได้แบบ 100% ว่าเรากำลังท้องลูกแฝดจริง ๆ หากอยากทราบว่าลูกเป็นเพศไหน หรือเป็นเด็กแฝดหรือไม่ สามารถไปตรวจกับคุณหมอ เพื่อให้ได้คำตอบที่แน่ชัดจะดีที่สุดค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลี้ยง ลูกแฝด ยังไง? ไม่ให้เขารู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้

 

วิธีตรวจหาครรภ์แฝด เพื่อให้รู้ว่ามีลูกแฝดหรือไม่

การตรวจหาลูกแฝดด้วยวิธีทางการแพทย์ที่ปลอดภัยโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ มีอยู่หลายวิธี ดังต่อไปนี้

 

  • การวัดระดับฮอร์โมน (HcG) การตรวจระดับฮอร์โมน HcG จะสามารถตรวจได้จากเลือดหรือปัสสาวะของคุณแม่ ซึ่งจะทำได้ 10 วันหลังจากการปฏิสนธิ สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์แฝด จะมีระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า เมื่อเทียบกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกเพียงคนเดียว
  • การฟังเสียงหัวใจของเด็กในท้อง หากคุณแม่ท้องเด็กแฝด คุณหมออาจได้ยินเสียงหัวใจของเด็ก 2 คนพร้อม ๆ แต่ทั้งนี้ เสียงที่ 2 ที่ได้ยินอาจเป็นเสียงอย่างอื่น เช่น เสียงหัวใจของคุณแม่ หรือเสียงแบ็คกราวด์โดยรอบ เป็นต้น
  • การตรวจหา alpha fetoproteine หรือ AFP เป็น การตรวจหาสารดังกล่าวจากเลือดของคุณแม่ ซึ่งทำได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 หากคุณแม่มีลูกแฝด ค่า Maternal serum alpha-fetoprotein จะสูงเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับระดับที่ตรวจพบในแม่ครรภ์เดี่ยว
  • การอัลตราซาวนด์ วิธีนี้มีความแม่นยำมากที่สุด และนิยมมากที่สุด ซึ่งเมื่อคุณหมอฉายภาพอัลตราซาวนด์ขึ้นจอ คุณแม่ก็จะรู้ได้ในตอนนั้นทันที ว่าเด็กในท้องมีคนเดียวหรือมี 2 คน

 

 

เมื่อรู้ว่าท้องแฝด ควรดูแลตัวเองอย่างไร

เมื่อเข้ารับการตรวจจนทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์เด็กแฝด สิ่งต่อไปที่คุณแม่ต้องทำ คือ หมั่นรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นรับประทานธาตุเหล็ก โฟลิก และวิตามินให้หลากหลาย รวมทั้งงดการมีเพศสัมพันธ์ในไตรมาสสุดท้าย พักผ่อนให้เพียงพอ เครียดให้น้อยลง และปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ยังควรเฝ้าสังเกตตัวเองด้วย ว่ามีอาการที่บ่งบอกว่าจะคลอดก่อนกำหนดหรือไม่ และในช่วงนี้ คุณแม่อาจต้องพบเจอกับภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดจากการตั้งครรภ์เด็กแฝด สามารถอ่านต่อได้ที่นี่เลยค่ะ

 

อันตรายจากการตั้งครรภ์แฝด

หลายคนดีใจเมื่อรู้ว่าตัวเองได้ลูกแฝด เพราะไม่ต้องอุ้มท้องบ่อย ๆ แต่ก็ไม่ควรมองข้ามอันตรายจากการตั้งครรภ์แฝด และโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นด้วย มาดูกันว่า การตั้งครรภ์แฝดคุณแม่มีความเสี่ยงอะไรบ้าง

 

  1. เลือดจาง การตั้งครรภ์แฝดจะให้แม่มีเลือดจากมากขึ้น เพราะปริมาณน้ำเลือดเพิ่มขึ้น และความต้องการธาตุเหล็กมีมากกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เดี่ยว
  2. ครรภ์เป็นพิษ หรือความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ โดยมีโอกาสเกิดขึ้นได้ถึงร้อยละ 20 ซึ่งมากกว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ปกติถึง 3 เท่า
  3. รกเกาะต่ำ เนื่องจากรกมีขนาดใหญ่ หรือมีรก 2 อัน แผ่ขยายลงมาใกล้หรือปิดบริเวณปากมดลูก ทำให้ตกเลือดก่อนคลอด
  4. อึดอัด หายใจไม่ออก อาเจียนบ่อย เพราะมดลูกขนาดใหญ่ ไปกดอวัยวะต่าง ๆ ในช่องท้องและทรวงอก
  5. สายสะดือโผล่มากกว่าปกติ เมื่อเจ็บท้องและถุงน้ำคร่ำแตก เพราะสายสะดือถูกกด ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกไม่พอ ลูกอาจเสียชีวิตได้
  6. อาจต้องใช้เครื่องมือช่วยในการคลอดมากกว่าปกติ เช่น ต้องดมยาสลบ หรือต้องได้รับการผ่าตัดมากกว่ารายปกติ เพราะท่าของทารกผิดปกติ หรือมีรกขวางทางคลอด
  7. ตกเลือดหลังคลอดมาก เพราะมดลูกใหญ่ การหดรัดตัวไม่ดี
  8. มักคลอดก่อนกำหนดและลูกมีน้ำหนักน้อย คุณแม่ที่ตั้งท้องแฝดมักจะคลอดก่อนกำหนดราว 3-4 สัปดาห์ ลูกก็จะตัวเล็ก ปอดยังไม่แข็งแรง รวมถึงมีปัญหาในการเลี้ยงดูแม้จะตั้งครรภ์ครบกำหนด โดยน้ำหนักเฉลี่ยของเด็กแฝดสองจะน้อยกว่าน้ำหนักเฉลี่ยของเด็กคนเดียวประมาณ 1,000 กรัม หากเป็นแฝดสาม แฝดสี่ น้ำหนักเฉลี่ยก็ยิ่งน้อยลง และอาจคลอดเร็วขึ้นด้วย
  9. อัตราการเสียชีวิตของทารกสูงเป็น 2-3 เท่าของทารกครรภ์เดี่ยว แฝดน้องมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าแฝดพี่ถึงร้อยละ 30 เพราะท่าของทารกมักจะผิดปกติ อาจขวางตัวหรือเอาก้นลง สายสะดือโผล่ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ ได้รับความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ลูกแฝด รวมถึงวิธีการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ กันไปแล้ว หากบ้านไหนที่คุณแม่ตั้งท้องลูกแฝด ก็อย่าลืมดูแลตนเองเป็นพิเศษด้วยล่ะ คอยเช็กสุขภาพตนเอง และลูกน้อยในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ น้อง ๆ ในครรภ์จะได้คลอดออกมา มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

อาการ ครรภ์เป็นพิษ เป็นอย่างไร สาเหตุของครรภ์เป็นพิษคือ?

10 ข้อดีของการมีลูกแฝด ลูกแฝดเจ๋งยังไง มาดูเหตุผลกันเถอะ

เลี้ยงลูกแฝด ยังไงดี ความซนคูณสอง ต้องมีวิธีรับมืออย่างไร

ที่มา : verywell , trueplookpanya , rakluke