คนท้องต้องรู้! อาการขาดแคลเซียมในคนท้องส่งผลอย่างไรต่อทารก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“แคลเซียม” จัดเป็นหนึ่งในสารอาหารที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะการที่แม่ท้องได้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมนั้นจะไปช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกาย โดยเฉพาะการสร้างกระดูก และฟันของทารกในครรภ์ หากแม่ท้องขาดแคลเซียมจะเป็นอย่างไร? วันนี้ theAsianparent พามาดู คนท้องต้องรู้! อาการขาดแคลเซียมในคนท้องส่งผลอย่างไรต่อทารก

คนท้องขาดแคลเซียม

คนท้องต้องรู้! อาการขาดแคลเซียมในคนท้องส่งผลอย่างไรต่อทารก

แคลเซียมสำหรับแม่ท้องสำคัญอย่างไร

โดยปกติร่างกายคนเราจะดูดซึมแคลเซียมครั้งละ 500-600 มิลลิกรัม แต่ปริมาณแคลเซียมที่แม่ท้องต้องการนั้นสูงถึงวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม ดังนั้นสารอาหารอย่าง “แคลเซียม” จึงเป็นที่สำคัญต่อคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะแคลเซียมทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ และสารอาหารแคลเซียมในตัวคุณแม่ก็จะถูกดึงไปใช้เสริมสร้างกระดูกลูกน้อยในครรภ์ด้วย ดังนั้นการที่แม่ท้องได้รับประทานแคลเซียมอย่างเพียงพอ นอกจากจะช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกายยังช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบภูมิคุ้มกัน

เรื่องน่ารู้ แคลเซียมกับแม่ท้อง

โดยทั่วไปแล้วคุณแม่ท้องควรจะได้รับแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายประมาณวันละ 1000 มิลลิกรัม เพื่อจะได้สามารถมีแคลเซียมมากเพียงพอ ที่จะส่งไปสร้างเสริมพัฒนาการของลูกน้อย และ เพื่อให้เพียงพอต่อการรักษามวลกระดูกในร่างกายของคุณแม่ หากว่าได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงเอาแคลเซียมจาก กระดูกของคุณแม่เองนั่นแหละ ไปบำรุงหล่อเลี้ยงทารก ทำให้เกิดปัญหาภาวะกระดูกพรุน และ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการตะคริวในแม่ท้องด้วย

หากแม่ท้องขาดแคลเซียมจะเป็นอย่างไร?

คนท้องขาดแคลเซียม

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งท้องควรได้รับแคลเซียมเพิ่มขึ้น เพราะหากขาดแคลเซียมจะทำให้แม่ท้องเกิดอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย หรือเรียกว่าเป็น “ตะคริว” ขึ้นมาง่าย ๆ นั้นเอง ซึ่งแม่ท้องส่วนใหญ่จะเป็นตะคริวมากถึงร้อยละ 26.8 และเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 25 สัปดาห์ มักจะเป็นบริเวณน่องและเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งทั้งที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก ดังนั้นหากคุณแม่ได้รับการเสริมแคลเซียมก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นและช่วยลดการเกิดตะคริวในแม่ท้องได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในอีกกรณีคือทารกในท้องจะมีการดึงแคลเซียมจากคุณแม่ไปใช้ประมาณ 2.5% ของแคลเซียมในตัวแม่ หากคุณแม่ได้รับแคลเซียมน้อยก็จะส่งผลเสียต่อตัวคุณแม่ในระยะยาว คือทำให้ฟันผุง่ายขึ้น กระดูกเปราะบางและผุได้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งอาจจะส่งผลในช่วงวัยทอง ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอทั้งต่อตัวเองและลูกน้อยในครรภ์

แคลเซียมทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ และสารอาหารแคลเซียมในตัวคุณแม่ก็จะถูกดึงไปใช้เสริมสร้างกระดูกลูกน้อยในครรภ์ การที่แม่ท้องได้รับประทานแคลเซียมอย่างเพียงพอ นอกจากจะช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกายยังช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบภูมิคุ้มกัน

นอกจากอาหารแคลเซียมสูงที่คนท้องต้องบำรุงแล้ว อย่าลืมรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และแคลเซียมก็ต้องทำงานร่วมกับแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น โปรตีน ฟอสฟอรัส สังกะสี ฟลูออไรด์ โดยเฉพาะแมกนีเซียมซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกชนิดหนึ่งของกระดูก โดยแมกนีเซียม 60-65% จะอยู่ในกระดูกส่วนการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายนั้นต้องอาศัยวิตามินดี

แคลเซียม จึงเป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาการเติบโตของทารกในครรภ์แล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูกคุณแม่ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกหรือโรคกระดูกพรุนในภายหลังได้ด้วย ดังนั้นคุณแม่ควรได้รับอาหารที่ช่วยสร้างแคลเซียมต่อร่างกายได้เพียงพอ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เนย ชีส ปลาเล็กปลาน้อย ปลากรอบที่ทานได้ทั้งกระดูก ถั่ว และ งา เป็นต้น

แม่ท้องต้องกินอาหารแคลเซียมสูง

โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ แนะนำประชาชนควรได้รับแคลเซียมจากการรับประทานอาหารและออกกำลังกายในช่วงเช้า เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจากแสงแดด ช่วยเสริมการดูดซึมแคลเซียมให้ร่างกาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงอาหารแคลเซียมสูง ว่า แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมได้ จึงต้องรับมาจากอาหารผ่านการย่อยและดูดซึมที่ลำไส้เล็ก ซึ่งการดูดซึมแคลเซียมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ร่างกายสามารถดูดซึมได้ประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะขับถ่ายทิ้งไป

ประโยชน์ของแคลเซียม

หน้าที่ของแคลเซียม นอกจากจะเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ยังซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยในการแข็งตัวของเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ และควบคุมสมดุลของกรดและด่างในร่างกาย

หากร่างกายขาดแคลเซียม

  • หากขาดแคลเซียมในเด็กจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน ทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกผิดปกติ
  • ถ้าในหญิงวัยหมดประจำเดือนจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน และเป็นสาเหตุของโรคกระดูกเสื่อม
  • หากร่างกายขาดแคลเซียมอย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง กระตุกและชัก

แม่ท้องควรได้รับแคลเซียมแค่ไหนถึงเพียงพอ

นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลทำให้ร่างกายขาดแคลเซียม เช่น ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย ดื่มกาแฟเกินขนาด ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในหญิงวัยหมดประจำเดือน และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือเคยกระดูกหักมาก่อน

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวันตามช่วงอายุมีปริมาณไม่เท่ากัน

  1. ผู้ใหญ่ที่อายุน้อย 40-50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  2. อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1,000-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน
  3. หากอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปและผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน

คนท้องขาดแคลเซียม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารเสริมแคลเซียมสำหรับคนท้อง อาหารเสริมสำหรับแม่ท้องเพิ่มแคลเซียม

  1. ปลาตัวเล็กตัวน้อย เช่น ปลาข้าวสาร ปลากะตัก เป็นต้น คุณแม่นำมาทอดกรอบ กินได้ทั้งตัวค่ะ ช่วยเสริมแคลเซียมได้ดีไม่แพ้นมเลยทีเดียว
  2. ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต หรือ อาหารว่างอื่น ๆ ที่ทำให้ได้รับแคลเซียม แต่ถ้าคุณแม่ไม่สามารถทานผลิตภัณฑ์ที่มีนมเป็นส่วนประกอบไม่ได้เช่นกัน ก็ไม่เป็นไรค่ะ
  3. ธัญพืช ธัญพืชจำพวกถั่ว ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วแดง เต้าหู้ ลูกเดือย เป็นต้น นำมาประกอบอาหาร เพิ่มแคลเซียมได้ไม่ต่างจากนมค่ะ แถมยังนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย เพิ่มคุณค่าสารอาหารมากยิ่งขึ้น
  4. อาหารไทย แม่ท้องสามารถรับประทานอาหารไทย ๆ ที่มีกะปิเป็นส่วนประกอบก็ได้ เช่น แกงเลียง ต้มส้ม แกงเผ็ดต่าง ๆ
  5. ผักและผลไม้หลากสี คุณแม่ควรรับประทานผักและผลไม้หลากสีให้มากขึ้น เพื่อเสริมคุณค่าสารอาหารให้ร่างกาย เช่น ผักบร็อกโคลี คะน้า ผักโขม แครอท แคนตาลูป เป็นต้น
  6. ไข่ แม่ท้องควรทานไข่ให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ฟอง เพื่อทดแทน ในส่วนของโปรตีน
  7. เนื้อสัตว์ เช่น หมู ไก่ ปลาให้ได้ทุกวันเพิ่มเสริมโปรตีน ที่สำคัญควรทานปลาให้ได้อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
  8. อาหารทะเลอื่น ๆ คุณแม่ควรทานอาหารทะเลอื่น ๆ ก็มีประโยชน์ ช่วยป้องกันการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรกินเฉพาะเนื้อปลา แต่ควรกินอาหารทะเลชนิดอื่น ๆ เช่น กุ้ง หรือ ใช้เกลือทะเล/เกลือที่เสริมธาตุไอโอดีนปรุงอาหาร ก็จะช่วยบำรุงสมอง และ ส่งเสริมความฉลาดของลูกในท้องได้ค่ะ ควรทานปลาให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาหารที่แม่ให้นมควรกิน กินแล้วดีต่อลูก แม่ลูกอ่อนควรกินอย่างไรให้ถึงลูก

อาหารที่มีไอโอดีนสําหรับคนท้อง ความต้องการไอโอดีน หญิงตั้งครรภ์ ป้องกันลูกในท้องสมองพิการ

60 วันแรกในท้องแม่ ทารกในครรภ์มีรูปร่างอย่างไร พ่อแม่อยากเห็นไหม?

คนท้องทำงานเยอะ นอนดึก ทำงานตอนกลางคืน ลูกในท้องจะเป็นอะไรไหม

บทความโดย

bossblink