อันตรายจากการเขย่าทารก จับลูกเล็กเขย่าไปมา อาจทำให้พ่อแม่ปวดใจตลอดชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่ส่วนใหญ่อาจไม่รู้หรือคิดไม่ถึงว่า อันตรายจากการเขย่าทารก นั้นมีประมาณ 1 ใน 3 ที่ลูกน้อยต้องเสียชีวิต และ 1 ใน 3 ที่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ และร้อยละ 30-40 ของที่เหลือรักษาให้หายเป็นปกติไม่ได้ เป็นเหตุให้กลายเป็นเด็กพิการโดยถาวร!

 

แพทย์เตือน อันตรายจากการเขย่าทารก รุนแรงถึงชีวิต !

แพทย์หญิงลูซินดา ไดคส์ กุมารแพทย์แห่งโรงพยาบาลและคลินิกของมหาวิทยาลัยวิสคอนซินได้ค้นพบว่า การที่พ่อแม่จับลูกน้อยขึ้นมาเขย่าตัวไปมาเพื่อหวังจะให้ลูกหยุดร้องไห้งอแงนั้น อาจทำให้สมองของลูกได้รับอันตรายโดยไม่ตั้งใจได้ ยิ่งการจับลูกเล็ก ๆ เขย่าด้วยอารมณ์โมโหยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ เพราะอาจทำให้สมองกระทบกระเทือน เป็นเหตุให้ลูกพิการโดยถาวรได้ เช่น ไร้สมรรถภาพในการเรียนรู้ ตาบอด หรือเป็นอัมพาตในสมองใหญ่ เป็นต้น และในกรณีที่ร้ายแรงจริง ๆ อาจทำให้เด็กเสียชีวิต ที่ในทางการแพทย์เรียกการตายของเด็กจากกรณีนี้ว่า Shaken Baby Syndrome อาการบาดเจ็บในลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเกิดได้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตั้งสติเลี้ยงลูกค่ะ โมโหลูก อย่าจับลูกเขย่า!!!

การจับตัวลูกเขย่า ๆ แรงด้วยอารมณ์โกรธเพียงชั่ววูบ หรือด้วยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องปวดร้าวใจไปชั่วชีวิตมานักต่อนักแล้ว พ่อแม่ควรเข้าใจว่าการเขย่าตัวลูกเวลาร้องไห้เพื่อหวังจะให้เด็กหยุดร้องโดยเร็ว หรือขู่เพื่อให้หยุดร้องไห้จากการที่พ่อแม่โมโหหรือรำคาญเสียงร้องของลูกนั้น เป็นผลทำให้ลูกบาดเจ็บจากการเขย่านี้ซึ่งรู้สึกรุนแรงไม่น้อยไปกว่าการทุบ เพียงแต่ว่าการทุบตีรุนแรงนั้นจะเห็นรอยฟกช้ำแต่การเขย่านั้นแรง ๆ นั้นจะทำให้สมองได้รับการกระทบกระเทือนซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น

เนื่องจากเมื่อเด็กถูกจับแขน หรือจับหัวไหล่แล้วเขย่าอย่างรุนแรงและกระชากกลับอย่างรวดเร็ว หัวของเด็กจะสั่นไปมาข้างหน้าข้างหลังอยู่ตลอดเวลา คล้ายกับการผงกหัว ซึ่งสำหรับเด็กเล็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบนั้น ยังมีกล้ามเนื้อที่คออ่อนอยู่ ไม่สามารถค้ำจุนส่วนของหัวให้ตั้งอย่างมั่นคงได้ นอกจากนี้เด็กเล็กจะมีกะโหลกศีรษะที่มีขนาดใหญ่ เป็นเหตุให้ส่วนของสมองภายในกะโหลกศีรษะมีเนื้อที่สำหรับการถูกเขย่าไปมาได้มาก แต่ส่วนที่จะป้องกันอันตรายจากการบาดเจ็บทางสมองมีน้อยลง มีผลให้เส้นเลือดเล็กๆ ที่เชื่อมกันระหว่างเนื้อเยื่อของสมองฉีกขาด แล้วเลือดที่ออกนั้นก็ทำให้เส้นเลือดใหญ่ในสมองที่ยังไม่แข็งแรงของเด็กอ่อนเกิดการแตกปริฉีกขาดมีเลือดออกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาพประกอบจาก : www.radiologyassistant.nl/en/p43c63c41ef792/diagnostic-imaging-in-child-abuse.html

 

คุณหมอได้อธิบายเพิ่มเติมว่า “ขณะที่สมองถูกเขย่าให้เคลื่อนไปมาอยู่ภายในกะโหลกศีรษะนั้น เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงระหว่างสมองกับกะโหลกศีรษะจะยืดตัวออก และเกิดการฉีกขาดทำให้มีเลือดไหลภายใน เลือดนี้จะไปกดสมอง ขณะเดียวกันสมองอาจจะเกิดการฉีกขาดจากแรงเขย่าในทันทีทันใดนั้นอีกด้วย”  ในกรณีนี้เราไม่อาจมองเห็นการบาดเจ็บได้ แต่ถ้าพบว่าลูกมีอาการง่วง ชอบนอนมากผิดปกติ หงุดหงิด อาเจียน และไม่อยากอาหาร อาจเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่ามีอาการที่สมองได้รับความกระทบกระเทือน ควรรีบที่จะพาลูกไปพบหมอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อตัวลูก ส่งผลถึงขนาดต้องกลายเป็นเด็กพิการ หรือสูญเสียถึงชีวิต

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดังนั้นไม่ว่าลูกจะส่งเสียงงอแง จนทำให้พ่อแม่ปวดหัว มีอารมณ์หงุดหงิดขึ้นมา ก็ไม่ควรที่จะไปจับตัวลูกขึ้นมาเขย่าตัวอารมณ์เสียใส่ หรือหลีกเลี่ยงการกระทำทางกายที่รุนแรงทุกอย่างต่อทารกและเด็กเล็กนะคะ ควรมองหาสาเหตุที่ลูกร้องไห้ บางทีการที่ลูกร้องไม่หยุด อาจเป็นเพราะกำลังไม่สบาย มีอาการเจ็บป่วย หรือต้องการให้พ่อแม่ตอบสนองในขณะนั้น สำหรับเด็กเล็กแล้ววิธีปลอบโยนลูกให้หยุดร้องไห้หรืองอแงที่ดี ก็คือการอุ้มขึ้นมากอดและปลอบโยน ทั้งสัมผัสและคำพูดที่นุ่มนวลจะช่วยทำให้ลูกน้อยหยุดร้องไห้ และได้รับความอบอุ่น มั่นคง ปลอดภัยขึ้น แต่คุณพ่อคุณแม่มีสติและใส่ใจในการเลี้ยงลูก อันตรายก็จะไม่เกิดกับลูกได้ง่าย ๆ นะคะ.


 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

5 สัญญาณอันตราย เกิดอะไรหลังผ่าคลอดที่ควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

ลูกชอบกลืนยาสีฟัน ทำไงดี อันตรายไหมแบบนี้ มีผลร้ายไหม?

ที่มา :

www.doctor.or.th

www.csip.org

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team