ออกซิเจนในเลือดของลูก น้อยก็ไม่ดี มากก็อันตราย

หากลูกของคุณพ่อคุณแม่คลอดก่อนกำหนด อาจจะมีภาวะของออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือการรักษาจนทำให้มีออกซิเจนสูงได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อลูกนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ออกซิเจนในเลือดของลูก น้อยก็ไม่ดี มากก็อันตราย

การตรวจ ออกซิเจนในเลือดของลูก ส่วนใหญ่แล้วการตรวจสุขภาพของเด็กเล็ก ๆ จะต้องใช้การประเมินผลหลายรูปแบบรวมกัน เช่น การสังเกตอาการ วัดส่วนประกอบที่สำคัญของเลือด การวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนนั้นจะบ่งบอกข้อมูลเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สุขภาพของหัวใจ และระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรือเด็กที่มีประวัติว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ

 

การให้ออกซิเจนในเด็ก

ความอิ่มตัวของออกซิเจน บอกอะไร

ในเด็กที่คลอดครบกำหนด จะมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ 95-100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นค่าปกติโดยอาจแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดนั้นค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนจะอยู่ที่ประมาณ 84-90 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปอดจะยังทำงานได้ไม่เต็มที่นั่นเองค่ะ

ทั้งนี้ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดนั้นบอกว่า ออกซิเจนที่อยู่ในเลือดมีมากแค่ไหน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพลูกน้อยได้นั่นเองค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความอิ่มตัวของออกซิเจน “ต่ำ” จะเป็นอย่างไร

 

เป็น hypoxemia หรือ ภาวะขาดออกซิเจน ภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย คือภาวะที่เลือดมีออกซิเจมต่ำกว่าปกติ ทำให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ หรือทำงานไม่เป็นปกติ โดยอาการที่แสดงออกเมื่อออกซิเจนในเลือดเท่ากับ 75% หรือต่ำกว่า คือการหายใจจะทำได้ยากลำบาก ถ้าเป็นหนักอาจจะมีอาการเขียวหรือม่วงคล้ำเกิดขึ้นได้ตามริมฝีปาก ปลายมือปลายเท้า

ระดับออกซิเจนปกติ

แรงดันออกซิเจนหรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนอยู่ที่ 96-99% ซึ่งเป็นสภาวะที่ดีที่สุดต่อร่างกาย ซึ่งระดับออกซิเจนนี้จะส่งผลให้

1  สมองทำงานดี ที่ระดับออกซิเจนปกติสมองจะมีการสั่งงานได้ดี เนื่องจากซลล์สมองจะใช้ปริมาณออกซิเจนมากกว่า 20% ของออกซิเจนทั้งหมดในการทำงาน ดังนั้นเมื่อร่างกายมีออกซิเจนอยู่ในระดับปกติจะทำให้เซลล์สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้มีความจำดี มีสมาธิในการเรียนและการทำงาน เรียนรู้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดีและช่วยให้ระบบภายในร่างกายทำงานได้ปกติภายใต้การสั่งงานของสมองที่ถูกต้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2  ผิวพรรณดี เนื่องจากออกซิเจนและน้ำคือองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์ ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับน้ำและออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอ เซลล์ที่อยู่ในร่างกายก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ส่งผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล และช่วยให้เซลล์มีอายุยืนขึ้น ช่วยลดริ้วรอยที่เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร

3   ร่างกายแข็งแรง ออกซิเจนที่อยู่ในรูปของน้ำ เมื่อเข้าร่างกายจะดูดซึมเข้าสู่ตับ เซลล์ของตับจะได้รับออกซิเจนที่อยู่ในน้ำโดยที่เซลล์ตับจะดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการเปลี่ยนสารอาหารที่ดูดซึมเข้ามาให้เป็นพลังงานส่งให้กับร่างกาย เมื่อเซลล์ตับแข็งแรงจึงสามารถสร้างพลังงานเพียงพอในการใช้งานของร่างกาย ร่างกายจึงแข็งแรงสมบูรณ์และยังช่วยให้ตับสามารถขับสารพิษออกจากร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการตกค้างของสารพิษที่เป็นอัตรายต่อร่างกาย

ความอิ่มตัวของออกซิเจน “สูง” จะเป็นอย่างไร

หากลูกมีภาวะออกซิเจนต่ำต่อเนื่อง ในบางกรณีอาจไม่เกิดความผิดปกติหรืออันตรายใดๆ แต่ในบางกรณีที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่เลือด ซึ่งอาจทำให้ออกซิเจนในเลือดสูง ส่งผลให้มีปัญกาบริเวณจอประสาทตาของลูกได้ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้อาจจะส่งผลให้ตาบอดได้เช่นกันค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การให้ออกซิเจนในเด็ก 5 เรื่องที่คุณไม่รู้ และจำเป็นที่จะต้องรู้เกี่ยวกับ ทารกแรกเกิด

ปริมาณออกซิเจน ในอากาศแค่ไหนถึงเป็นอันตราย

โดยปกติแล้ว อากาศที่เราหายใจเข้าไปนั้น  ประกอบด้วยออกซิเจนประมาณ 21 % และ ไนโตนเจนประมาณ 79 %และ ปริมาณออกซิเจนที่สภาพเหมาะสมที่คนเราสามารถอยู่ได้อย่างสบาย จะต้องมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 19.5 – 23.5 % แต่ถ้าปริมาณออกซิเจนในอากาศลดลงเหลือ 15 – 17 % จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ของร่างกายเกิดขึ้น นั่นก็คืออาการของภาวะพร่องออกซิเจน ( Hypoxia ) ซึ่งนายแพทย์สุระ เจตน์วาทีแพทย์เวชศาสตร์การบิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ชีพชั้นสูง และ การลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ให้ข้อมูลว่าปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในช่วง 12 – 15 % ถือว่ามีความเสี่ยงต่อร่างกายมนุษย์แล้ว ถ้าเหลือ 12 % ถือว่าอันตรายและถ้าต่ำถึง 8% เมื่อไรจะเสียชีวิตได้ภายใน 8 นาที

ภาวะพร่องออกซิเจน อาการเป็นอย่างไร

–  รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจลำบากขึ้น หายใจถี่ขึ้น ไอ
–  หัวใจเต้นเร็วขึ้น
–  การรับรู้ตัวลดลง สับสน มึนงง ซึม
–  วิงเวียน ปวดศีรษะเนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว
–  คลื่นไส้ อาเจียน
–  ผิวหนังซีด หรือเขียวคล้ำ
–  รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
–  รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มีเหงื่อออกมาก
–  การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน
–  มือเท้าชา
–  ตาพร่ามัว ลานสายตาแคบลง
–  เพ้อ หมดสติ ชัก

ภาวะพร่องออกซิเจน รักษาได้อย่างไร

เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก
ออกซิเจนหรือสายให้ออกซิเจนทางจมูก เพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้เซลล์และอวัยวะสำคัญถูกทำลาย
ทั้งนี้จะต้องให้ออกซิเจนในระดับต่ำที่สุดที่จะเพียงพอเพื่อที่จะรักษาระดับออกซิเจนในเลือด เพราะถ้าหากให้ออกซิเจนเกินความต้องการ จะเกิดภาวะพิษจากออกซิเจนได้เช่นกัน

 

ติดเชื้อในกระแสเลือด การให้ออกซิเจนในเด็ก

 

ที่มา : Livestrong

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พีแอนด์จี ร่วมกับ เทสโก้ โลตัส ส่งแคมเปญพิเศษ “Mom to Mom” ชวนเหล่าคุณแม่ ร่วมใจกันช่วยเหลือแม่ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19

แม่ร้องขอความเป็นธรรมให้ลูก! หมอฉีดยาจนลูกตาย แต่อ้างลูกสำลักนมเสียชีวิต!

ซึ้ง! พ่อถ่ายภาพ pre-wedding กับลูกสาวหลังแม่ตาย