หากแม่ท้องขาดแคลเซียมจะเป็นอย่างไร?

“แคลเซียม” จัดเป็นหนึ่งในสารอาหารที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะการที่แม่ท้องได้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมนั้นจะไปช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกาย โดยเฉพาะการสร้างกระดูก และฟันของทารกในครรภ์ หากแม่ท้องขาดแคลเซียมจะเป็นอย่างไร?

แคลเซียมสำหรับแม่ท้องสำคัญอย่างไร

แคลเซียมสำหรับแม่ท้อง สำคัญอย่างไร โดยปกติร่างกายคนเราจะดูดซึมแคลเซียมครั้งละ 500-600 มิลลิกรัม แต่ปริมาณแคลเซียมที่แม่ท้องต้องการนั้นสูงถึงวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม ดังนั้นสารอาหารอย่าง “แคลเซียม” จึงเป็นที่สำคัญต่อคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะแคลเซียมทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ และสารอาหารแคลเซียมในตัวคุณแม่ก็จะถูกดึงไปใช้เสริมสร้างกระดูกลูกน้อยในครรภ์ด้วย ดังนั้นการที่แม่ท้องได้รับประทานแคลเซียมอย่างเพียงพอ นอกจากจะช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกายยังช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบภูมิคุ้มกัน

 

หากแม่ท้องขาดแคลเซียมจะเป็นอย่างไร?

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งท้องควรได้รับแคลเซียมเพิ่มขึ้น เพราะหากขาดแคลเซียมจะทำให้แม่ท้องเกิดอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย หรือเรียกว่าเป็น “ตะคริว” ขึ้นมาง่าย ๆ นั้นเอง ซึ่งแม่ท้องส่วนใหญ่จะเป็นตะคริวมากถึงร้อยละ 26.8 และเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ  25 สัปดาห์ มักจะเป็นบริเวณน่องและเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งทั้งที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก ดังนั้นหากคุณแม่ได้รับการเสริมแคลเซียมก็จะช่วยให้อาการดีขึ้น และ ช่วยลดการเกิดตะคริวในแม่ท้องได้

ในอีกกรณีคือทารกในท้องจะมีการดึงแคลเซียมจากคุณแม่ไปใช้ประมาณ 2.5% ของแคลเซียมในตัวแม่ หากคุณแม่ได้รับแคลเซียมน้อยก็จะส่งผลเสียต่อตัวคุณแม่ในระยะยาว คือทำให้ฟันผุง่ายขึ้น กระดูกเปราะบางและผุได้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งอาจจะส่งผลในช่วงวัยทอง ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอทั้งต่อตัวเองและลูกน้อยในครรภ์

แคลเซียมสำหรับแม่ท้อง

แคลเซียม จึงเป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาการเติบโตของทารกในครรภ์แล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูกคุณแม่ และ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกหรือโรคกระดูกพรุนในภายหลังได้ด้วย ดังนั้นคุณแม่ควร ได้รับอาหารที่ช่วยสร้างแคลเซียม ต่อร่างกายได้เพียงพอ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เนย ชีส ปลาเล็กปลาน้อย ปลากรอบที่ทานได้ทั้งกระดูก ถั่ว และ งา เป็นต้น

อาหารอุดมแคลเซียม

แหล่งของแคลเซียมในอาหารที่พบมากมีอยู่ในนม โยเกิร์ต ชีส ปลาตัวเล็ก กุ้งฝอย ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง เต้าหู้ ผักใบเขียว ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากพืชผักได้น้อยกว่านม และ ก้างปลา การเพิ่มปริมาณแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม จากอาหารในแต่ละวันเพื่อให้แม่ท้องได้รับปริมาณแคลเซียมครบถ้วน ทำได้โดยดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว แบ่งเป็นนมวัว 1 แก้ว และ นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมอีก 1 แก้ว ปลาที่กินทั้งกระดูก เช่น ปลาข้าวสาร ปลาตัวเล็ก 2 ช้อน กินร่วมกับข้าว ไข่ 1 ฟอง ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง วันละ 3-4 ช้อนโต๊ะ ผักใบเขียว 2-3 ทัพพี ผลไม้ 2-3 ชนิด และเลือกอาหารไทย ๆ ที่มีกะปิเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงเลียง ต้มส้ม แกงเผ็ดต่าง ๆ เป็นต้น

หากแม่ท้องขาดแคลเซียมจะเป็นอย่างไร?

แหล่งที่มา : https://mjn.enfababy.com

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ ข้อมูลคุณภาพ และ สังคม คุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้ คุณแม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้ คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพ คุณแม่ และ เด็ก โภชนาการ คุณแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุน คุณพ่อ คุณแม่ ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แม่ท้องไม่กินแคลเซียมเสี่ยงกระดูกพรุน
8 อาหารเสริมแคลเซียมสำหรับคนท้องที่ไม่ชอบดื่มนม

บทความโดย

Napatsakorn .R