รีบเช็ก! ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกสูญเสียการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด!!

ภาวะสูญเสียการได้ยินอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด ซึ่งก่อให้เกิดความบกพร่องในพัฒนาการด้านภาษาและการพูดจะล่าช้ากว่าเด็กปกติเป็นอย่างมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รายงานการเกิดภาวะ สูญเสียการได้ยิน ของทารกที่เกิดใหม่ต่อปีในประเทศไทย พบที่อัตรา 1.7 รายต่อ 1,000 ราย ซึ่งในเด็กที่มีประสาทหูพิการทั้งสองข้างระดับรุนแรงตั้งแต่แรกเกิด เมื่อโตขึ้นจะเป็นใบ้ ทำให้ด้อยโอกาสในส่วนต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา สังคม และการประกอบอาชีพ กลายเป็นปัญหาครอบครัวที่ต้องร่วมช่วยกันดูแล

มีหลักฐานในต่างประเทศพบว่า หากสามารถวินิจฉัยภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดภายในระยะแรกก่อนอายุ 3 เดือน และทำการรักษาฟื้นฟูก่อนอายุ 6 เดือน ก็จะทำให้สมรรถภาพในด้านการฟังและการพูดมีการพัฒนาได้ใกล้เคียงเด็กปกติได้

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ทารก สูญเสียการได้ยิน ตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ขวบ

  • พ่อแม่หรือคนในครอบครัวใกล้ชิด เป็นโรคประสาทหูพิการ เป็นใบ้ตั้งแต่กำเนิดหรือในวัยเด็กเล็ก
  • ทารกติดเชื้อในครรภ์ หรือแม่มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
  • ในขณะตั้งครรภ์ได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษต่อทารกในครรภ์ หรือขณะคลอด
  • ทารกมีความผิดปกติของรูปใบหน้า ศีรษะ รวมทั้งความผิดปกติของรูปร่างใบหู และช่องหู
  • ทารกมีการเจ็บป่วย หรือภาวะที่ต้องการให้ดูแลในหอบริบาลวิกฤตนาน 48 ชั่วโมงหรือมากกว่า
  • มีลักษณะเฉพาะหรืออาการที่แสดงเกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินแบบประสาทหูชั้นในเสีย หรือทางนำเสียงเสีย
  • ทารกมีอาการตัวเหลือง เนื่องจากสารบิลิรูบินในเลือดสูงจนต้องถ่ายเลือด
  • ตรวจพบการติดเชื้อของทารกหลังคลอด ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะสูญเสียการได้ยิน รวมทั้งโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคหูน้ำหนวกชนิดน้ำใสที่เกิดซ้ำ หรือปล่อยให้เป็นเรื้อรังนานอย่างน้อย 3 เดือน

พัฒนาการทางด้านการได้ยิน ภาษา และการพูดของเด็กปกติ 2 ขวบแรกต้องเป็นแบบนี้ >>
เช็กพัฒนาการทางด้านการได้ยิน ภาษา และการพูดของเด็กปกติ 2 ขวบแรก

ระยะแรกเกิดถึง 3 เดือน

  • ทารกจะลืมตาตื่น กะพริบตา หรือสะดุ้งคล้ายตกใจ เมื่อได้ยินเสียงดัง เช่น เสียงแตรรถ หมาเห่า ฯลฯ
  • ทำท่าคล้ายหยุดฟัง เมื่อพ่อแม่อุ้มหรือก้มลงพูดคุยใกล้ ๆ

ระยะ 3-6 เดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ทารกจะสามารถหันศีรษะไปทางข้างที่มาของเสียง แม้จะเป็นเสียงค่อนข้างเบาได้ เช่น เสียงของเล่น
  • ลูกจะออกเสียงคล้ายพยัญชนะ และสระรวมกัน เช่น “กา-กา” “บา-บา” ซ้ำ ๆ

ระยะ 6-9 เดือน

  • ทารกจะหันศีรษะไปมาเพื่อหาเสียงเรียกชื่อ
  • จะออกเสียงติดต่อกันยาว ๆ ได้ 4-6 พยางค์ เช่น “ลา-ลา-ลา-ลา” “บาคาบาคา”
  • ลูกจะสนใจฟังและเลียนเสียงต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงหมาเห่า เสียงจิ้งจก ตุ๊กแก

ระยะ 9-12 เดือน

  • ทารกจะก้มศีรษะมองไปยังเสียงที่เกิดข้างตัว ที่อยู่ต่ำกว่าระดับหูได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถแสดงท่าทางทำตามคำสั่งได้ถูกต้อง เช่น บ๊ายบาย สวัสดี ขอ
  • เริ่มออกเสียงพูดเป็นคำ เช่น “แม่ หม่ำ ไป” เป็นต้น

ระยะ 12-16 เดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ลูกจะหันหาเสียงได้ถูกต้องทุกทิศทาง มองหาสิ่งของ หรือคนที่คุ้นเคยได้ถูกต้อง
  • พูดเป็นคำ ๆ ได้อย่างน้อย 10-15 คำ เรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ จากที่เห็น เช่น “หมา แมว” หรือ บอกความต้องการ เช่น “เอา ไป” ได้

ระยะ 18-24 เดือน

  • ลูกสามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เช่น ชี้อวัยวะได้อย่างน้อย 2 อย่าง ชี้สิ่งของที่คุ้นเคยได้ เมื่อพ่อแม่เรียกชื่อของสิ่งนั้น
  • พูดได้ประมาณ 40-100 คำ และเริ่มพูดเป็นวลีสั้น ๆ ได้แล้ว เช่น “เอามา”

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ว่าลูกน้อยมีภาวะสูญเสียการได้ยิน ได้จากการพูดหรือมีพัฒนาการล่าช้าไม่เป็นไปตามวัย มีความผิดปกติด้านการได้ยิน เกิดความบกพร่องทางด้านภาษา หากสงสัยหรือพบความผิดปกติทางการได้ยินในทารกหรือเด็กเล็ก ควรรีบพามาพบแพทย์โดยเร็วเพื่อเริ่มต้นวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อมูลจาก : ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

แม่จ๋า! อย่าแคะหูลูก เพราะขี้หูมีประโยชน์มากกว่าที่คิด

เช็คด่วน! รูเล็กๆข้างหูของลูก สัญญาณร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

บทความโดย

Napatsakorn .R