15 สิ่งที่แม่ลูกอ่อนทำได้ ทำแบบนี้ก็ได้ชิลๆตอนให้นมลูกไปด้วย

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ใช่แค่ทำให้แม่ต้องเหนื่อยอย่างเดียวนะ แต่ในบางครั้งนั้นมันก็ทำให้แม่หลายคนต้องติดอยู่กับที่เมื่อต้องอุ้มลูกเข้าเต้าอยู่ในอ้อมแขน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

15 สิ่งที่แม่ลูกอ่อนทำได้ ทำแบบนี้ชิลๆ ก็ได้ตอนให้นมลูกไปด้วย

เมื่อตอนต้องอยู่คนเดียว สิ่งที่แม่ลูกอ่อนทำได้ ขณะให้นมลูกไปด้วยจะช่วยให้เวลาอันมีค่านี้ทำบางสิ่งบางอย่างไปด้วยแบบที่แม่จะไม่เบื่อได้นะ
  1.  เขียนบันทึก
  2. เช็กอีเมล
  3. เล่นไลน์
  4. กินของว่าง
  5. งีบหลับ คุณแม่ใช้ท่านอนให้นมเจ้าตัวน้อยทางด้านข้าง และจะรู้สึกสบาย ๆ ที่ได้งีบหลับในขณะลูกกินนมไปด้วย
  6. ดื่มน้ำ การดื่มน้ำ เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยคุณแม่ไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำได้
  7. ทำสมาธิ เข้าสู่ช่วงของการผ่อนคลายจิตใจ หายใจเข้าและออกลึก ๆ การทำสมาธิอาจช่วยให้คุณแม่รู้สึกสงบ
  8. ปั๊มนมอีกข้าง
  9. ฟังเพลง
  10. ร้องเพลงกล่อมลูก
  11. ระบายสี การระบายสีนั้นเป็นการช่วยผ่อนคลาย รักษาบำบัดอารมณ์ได้
  12. หลับพร้อมลูก ไม่ต้องทำอะไรหลังจากให้นมลูกเสร็จ นั่งเอนหลัง พักผ่อน ยืดเส้นยืดสาย และใช้เวลานี้หลับไปพร้อมลูก ช่วยในการพักฟื้นร่างกายของคุณแม่ที่อ่อนล้า
  13. หาข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกใน Internet
  14. ออกกำลังด้วยการยกดัมเบลโดยใช้แขนเดียว
  15. อ่านหนังสือ การอ่านหนังสือก็ช่วยในแม่ผ่อนคลายได้เป็นอยางมากเช่นกัน

การนอนหลับของเด็กทารกแรกเกิด เป็นเรื่องที่คุณควรรู้และศึกษาไว้ก่อน เพราะเด็กบางคนกว่าจะหลับ หรือ นอนตามปกติเป็นเรื่องยาก ยิ่งบางคนไม่ยอมหลับแต่ง่วงสุด ๆ ก็จะร้องไห้งอแงอีกด้วย บทความต่อไปนี้จะช่วยทำให้คุณ รู้จักการนอนของลูกมากขึ้นค่ะ

เด็กแรกเกิด -3 เดือนแรก เด็กที่เกิดมาแต่ละคนจะมีร่างกาย และ จิตใจที่แตกต่างกัน การนอนหลับก็จะต่างกันด้วย คุณเป็นแม่มือใหม่สิ่งที่คุณต้องทำคือ ฝึกให้ลูกนอนเป็นเวลา จัดตารางการนอนของลูก คุณจะได้รู้ว่าเด็กแรกเกิด – 3 เดือน มีเวลาการนอนอย่างไร

การนอนของลูกวัยแรกเกิด – 1 เดือน

  • การนอนของทารกในช่วงนี้ จะนอนหลับดีในช่วง สัปดาห์แรก
  • ลูกจะหลับทั้งวันรวมกันประมาณ 18 ชั่วโมง
  • ลูกจะหลับครั้งละประมาณ 3-4 ชั่วโมง ตลอดทั้งวัน ทั้งกลางวันและกลางคืน
  • ในช่วงเดือนแรกคุณแม่อาจจะเหนื่อยหน่อย เพราะลูกจะตื่นบ่อย เพราะยังแยกกลางวันและกลางคืนไม่ได้ ลูกจะนอนแบบไม่ได้สนใจเวลา

ในช่วงเดือนแรกคุณจะเห็นว่าลูกนอนเยอะ นั่นเป็นกระบวนการอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยให้สมองของทารกมีการพัฒนา และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเดือนต่อไปค่ะ

การนอนของลูกวัย 2 เดือน

  • การนอนของลูกอายุ 2 เดือน จะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นเล็กน้อย ชั่วโมงการนอนหลับของลูกจะน้อยลง อาจจะอยู่ที่ 15-18 ชั่วโมงต่อวัน
  • ในช่วงตอนกลางวันลูกอาจจะหลับประมาณ 3 รอบ รอบละ 1-2 ชั่วโมง
  • ในช่วงกลางคืน ลูกจะหลับลึก ประมาณ 2-3 รอบ รอบละ 4-5 ชั่วโมง

คุณจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการนอนของลูกวัยนี้ ตั้งแต่ช่วงประมาณอายุ 6 สัปดาห์ หรือทารกบางคนเริ่มเปลี่ยนแปลงตอนอายุ 8 สัปดาห์

การนอนของลูกวัย 3 เดือน

  • ทารกในช่วงนี้จะนอนหลับรวมกันในหนึ่งวันเพียง 15 ชั่วโมงเท่านั้น
  • ลูกจะนอนในช่วงกลางวันสั้นลง นอนเพียง 2-3 รอบ รอบละ 1-2 ชั่วโมง
  • ตอนกลางคืนลูกจะนอนยาว 5-6 ชั่วโมง หรือ นอนยาวจนถึงเช้า หรือตื่นขึ้นมาเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น
  • ลูกเริ่มปรับตัวเข้าสู่สภาวะการนอนแบบปกติ และสามารถแยกกลางวันกลางคืนได้แล้ว
  • คุณแม่ที่มีลูกในช่วงอายุ 3 เดือนนี้ จะรู้สึกว่าได้พักผ่อนมากขึ้นในตอนกลางคืน เพราะอาจจะตื่นขึ้นมาให้นมลูกเพียง 1 หรือ 2 ครั้งเท่านั้น เวลาที่เหลือก็นอนยาวตามลูกไปได้เลยค่ะ

ในช่วงที่ลูกอายุได้ 3 เดือน ระบบกระเพาะอาหารของลูกจะเริ่มทำงานได้ตามปกติ ระบบย่อยอาหารทำการย่อยนมได้ดีกว่าช่วงแรก นับจากนี้เป็นต้นไปลูกจะเริ่มหลับยาวในตอนกลางคืน และเริ่มปรับตัวให้รู้จักกลางวันและกลางคืนได้แล้วค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การสอนลูกน้อยของคุณให้รู้จักความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน:

การนอนหลับของลูกเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับคุณแม่มือใหม่ คุณต้องรู้จักการนอนของลูกให้ดี การเลี้ยงลูกจะเป็นเรื่องง่ายขึ้น เพราะมันไม่ง่ายเลย ที่จะทำให้ลูกรู้ว่าเวลาไหนคือเวลานอน ดังนั้น คุณต้องฝึกให้ลูกรู้จักกลางวัน และ กลางคืน กลางวันควรนอนอย่างไร กลางคืนต้องนอนนานแค่ไหน เพื่อช่วยลดความเหนื่อยล้าของคุณแม่นั่นเองค่ะ

1. สำหรับคุณพ่อคุณแม่ การนอนกลางคืนอาจจะชิน ว่าเราต้องนอนกลางคืน ทำงานในตอนกลางวัน แต่สำหรับทารกแรกเกิดเขาจะยังไม่รู้ คุณต้องค่อย ๆ ปรับตัว และเรียนรู้ไปกับลูก ลูกจะค่อย ๆ ชินกับการนอนในตอนกลางคืนเหมือนคุณ

2. ในช่วงไม่กี่สัปดาห์แรกหลังคลอด ลูกจะเริ่มเรียนรู้การนอนระหว่างกลางวันและกลางคืน คุณสามารถทำให้ลูกเริ่มชินได้คือ ในตอนกลางวันถ้าลูกเหมือนจะนอนหลับยาวเกิน 2-3 ชั่วโมงต่อรอบ ให้ปลุกลูกเพื่อตื่นมากินนม และเล่นกับเขาเล็กน้อย เพื่อเสริมพัฒนาการ และในตอนกลางคืนควรใส่ชุดนอนให้ลูกสิ่งนี้ลูกสามารถรับรู้ได้ ในตอนกลางคืนไม่จำเป็นต้องปลุกลูกมากินนม ควรปล่อยให้ลูกนอนให้ยาวที่สุด คุณแม่เพียงสังเกตการหายใจ และท่านอนของลูกให้ปลอดภัยก็พอค่ะ

3. เล่นกับลูกในตอนกลางวันให้มาก และลดการเล่นในตอนเย็นและช่วงเวลาก่อนนอน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. เปิดเพลงกล่อมนอนให้ลูกฟังในตอนกลางคืนเท่านั้น

5. ตอนกลางวันให้นอนในห้องที่โปร่งแสง ในตอนกลางคืนให้นอนในห้องที่มืดสลัวเท่านั้น

วิธีช่วยให้ลูกนอนหลับ.. ไม่ยาก! คุณแม่มือใหม่ทำได้

1. พูดคุยกับลูก

ในช่วงแรกลูกจะไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณพูดหรือต้องการสื่อสาร ลูกของคุณจะไม่สื่อสารตอบกลับอะไรมาทั้งนั้น แต่ สิ่งที่คุณพูดจะฝังเข้าไปในสมองของลูก ลูกจะมีพัฒนาการทักษะ การเรียนรู้และการสื่อสาร กลางคืนกล่อมให้ลูกนอนและสอนว่ามืดแล้วต้องนอนนะลูก การสื่อสารในตอนกลางวันและกลางคืนจะไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ลูกจะเข้าใจภายในเวลาไม่นาน ซึ่งคุณแม่ต้องอดทนรอค่ะ

2. ฝึกพัฒนาการเรื่องวงจรการนอนหลับของลูก

ในธรรมชาติของเด็กแรกเกิดร่างกายจะยังไม่สามารถรับรู้ถึงวงจรการนอนหลับตามธรรมชาติของมนุษย์ได้ ลูกจะเริ่มมีพัฒนาการในช่วงวัย 3 – 4 เดือน เป็นต้นไป

สำหรับเด็กที่มีพัฒนาการในเรื่องนี้ช้า มักจะนอนหลับมากขึ้นในเวลากลางวันและตื่นในเวลากลางคืน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูก หรือฝึกให้เขารู้จักวงจรการนอนหลับตามธรรมชาติได้ โดยการให้ลูกกินนมทุก 2-3 ชั่วโมง ในช่วงเวลากลางวัน และ ให้ลูกได้อยู่ในบริเวณที่ได้รับแสงสว่างตามธรรมชาติ ถ้าลูกนอนก็ไม่ต้องปรับเปลี่ยนให้บรรยากาศมืดลงแต่อย่างใด เพื่อให้เขาคุ้นชินและแยกระหว่างช่วงกลางวันและกลางคืนได้

3. ทำตารางการนอนให้ลูก

เป็นเรื่องจำเป็นมาก ๆ เพราะถ้าลูกเป็นเด็กนอนตรงเวลา คุณจะไม่เหนื่อย ลูกจะไม่เหนื่อย พัฒนาการของลูกก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ คุณแม่ควรสังเกตอาการง่วงนอนของลูก เช่น หาว ขมวดคิ้ว ขยี้ตา เมื่อมีอาการเหล่านี้ ให้ดูเวลาว่าสมควรนอนแล้วหรือไม่ ถ้าถึงเวลาก็ให้ลูกนอนทันที ไม่เกิน 1-2 เดือน ลูกจะนอนตรงเวลากันทุกวัน และคุณก็สามารถกำหนดการทำกิจกรรมอย่างอื่นได้ค่ะ

4. ทำกิจวัตรประจำวันก่อนนอน

เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญอีกหนึ่งเรื่องสำหรับลูก คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรทำกิจวัตรประจำวันก่อนนอนร่วมกับลูกของคุณ สิ่งนี้นอกจากช่วยเรื่องการนอนแล้ว ยังมีส่วนช่วยในเรื่องพัฒนาการของเด็กอีกด้วย

คุณแม่สามารถเริ่มทำกิจวัตรประจำวันก่อนนอนกับลูกโดยใช้เวลาไม่เกิน 60-90 นาที ในช่วงเดือนแรก พอในเดือนถัดมาก็ปรับลดลงมาเหลือ 15-20 นาที ก็พอค่ะ

กิจวัตรประจำวันก่อนนอนอย่างเช่น การอาบน้ำ การนวดสัมผัสให้ลูก การเปลี่ยนผ้าอ้อม การเล่านิทาน และ การเปิดเพลงกล่อมนอน กิจกรรมดังกล่าวหากทำเป็นประจำก่อนนอนก็จะช่วยให้ลูกหลับง่ายขึ้นค่ะ

5. นอนกอดลูก

เพื่อเป็นการทำให้ลูกรู้และเข้าใจว่าถึงเวลานอนแล้วนะ คุณแม่ควรนอนกอดลูกเป็นประจำทุกวันก่อนนอน สิ่งนี้จะช่วยทำให้ทารกเข้าใจว่า เมื่อคุณแม่ทำแบบนี้หมายความว่าถึงเวลาที่เขาต้องนอนแล้วนั่นเอง สิ่งนี้นอกจากช่วยให้ลูกนอนหลับแล้ว ยังช่วยให้ลูกรู้สึกถึงความปลอดภัย ทำให้เขานอนหลับอย่างสงบอีกด้วย

6. ให้นมลูกให้ตรงเวลา

ทารก 1 – 3 เดือนแรก จะหิวบ่อยค่ะ เพราะขนาดกระเพาะที่ยังเล็กอยู่ ต้องคอยให้นมกันทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ในตอนกลางวันก็อาจจะไม่เป็นไร สามารถให้นมลูกได้ตามปกติ แต่ในตอนกลางคืน ถ้าลูกยังหลับยาวไม่ได้ นอนไปแค่ 2-3 ชั่วโมงแล้วตื่นมาจะกินนม คุณแม่ควรจะกอด ๆ โอ๋ ๆ ให้ลูกนอนต่อก่อน อย่าเพิ่งป้อนนมทันที รอดูว่าลูกจะหลับต่อหรือไม่ (ส่วนมากหลับต่อไปอีก 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง) ถ้าลูกหลับต่อ เป็นสัญญาณที่ดี ให้ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ในตอนกลางคืนควรให้ลูกกินนมเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น เพื่อฝึกให้ลูกนอนยาว ๆ ค่ะ

การนอนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับเด็กทารก และ ใน 1 ปีแรกเพราะเด็กจะมีพัฒนาการที่ดีมาก ๆ ทั้งด้านอารมณ์และด้านร่างกาย พัฒนาการดีจะทำให้เด็กพร้อมเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทุกวันค่ะ

credit content : www.semidelicatebalance.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

หลังคลอดห้ามกินอะไร อาหารที่แม่ลูกอ่อนอย่าเพิ่งกินช่วงให้นม

7 เรื่องที่ไม่มีใครมาบอก แม่ลูกอ่อนที่ให้นมลูกฟังหรอก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R