สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม หลังคลอดลูกต้องทำยังไงถึงจะได้เงินทดแทน

สำหรับคุณแม่ที่ทำงานหรือผู้ประกันตนเองที่จ่ายเงินสมทบให้กับประกันสังคมมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อนคลอด จนกระทั่งหลังคลอดแม่บางคนยังไม่รู้ว่า กรณีคลอดบุตรนั้นคุณแม่ก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับ สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม หลังคลอดบุตรแล้วคุณแม่หรือคุณแม่สามารถเตรียมเอกสารเพื่อนำมายื่นขอรับผลประโยชน์ได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด ทุกแห่ง

สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม หลังคลอดลูกต้องทำยังไงถึงจะได้เงินทดแทน

โดยการรับสิทธิ์กรณีคลอดบุตรจากประกันสังคมนั้น คุณแม่ต้องมีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

1.ต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร จึงมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้

2.คลอดบุตรที่ใดก็ได้ ให้วินิจฉัยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง

3.ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน (การใช้สิทธิ์ลูกคนที่ 3 นั้นจะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน)

4.กรณีที่สามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เอกสารที่จะต้องเตรียมไปเพื่อขอรับผลประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร

    • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประกันตน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
    • สำหรับคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตน ใช้สูติบัตรต้นฉบับของลูกพร้อมสำเนา 1 ชุด (กรณีคลอดลูกแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

 

  • สำหรับคุณพ่อที่เป็นผู้ประกันตน ใช้สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด สำเนาทะเบียนสมรส หรือกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอบัญชีใดบัญชีหนึ่งจาก 11 ธนาคาร ดังนี้

1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
3) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
7) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
10) ธนาคารออมสิน
11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

  • ขอรับแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 เพื่อนำมากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ หรือดาวน์โหลด แบบฟอร์ม สปส. 2-01
  • นำเอกสารทั้งหมดมายื่นที่สำนักงานประกันสังคม หรือเซ็นต์มอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นแทน

หลังจากเจ้าหน้าที่พิจารณาอนุมัติแล้ว รอเพื่อดำเนินการโอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน หรือแจ้งความประสงค์เพื่อมาขอรับเงินสด/เช็ก ด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน

หากคุณแม่ท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่ม เติมได้ที่ https://www.sso.go.th/ หรือสายด่วนประกันสังคม 1506

ข้อมูล ณ วันที่  13 มิถุนายน 2558

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิทธิประกันสังคมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

การมีบุตร เป็นภาวะที่ผู้หญิงหลายคนอยากสัมผัส โดยเฉพาะผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว แต่การมีบุตร หรือการตั้งครรภ์นั้นมักจะมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้น คุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่จึงต้องหาวิธีแบ่งเบาภาระจากการฝากครรภ์ และการคลอดบุตร โดยการใช้สิทธิต่าง ๆ ที่มีอยู่ ดังนั้นเราจึงมาดูกันว่าหากใช้สิทธิประกันสังคมคุณแม่จะสามารถเบิกค่าใช้จ่ายใดได้บ้าง

สิทธิเบิกจ่ายค่าตรวจครรภ์ และฝากครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำนักงานประกันสังคมได้เพิ่มค่าตรวจและค่ารับฝากครรภ์ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ให้กับผู้ประกันตนสำหรับคนท้องอีก 1,000 บาท โดยจ่ายตามอายุครรภ์ ดังนี้

  • ฝากครรภ์โดยมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายให้ในอัตราที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท
  • ฝากครรภ์โดยมีอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายให้ในอัตราที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
  • ฝากครรภ์โดยมีอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท

ผู้ประกันตนจะต้องสำรองจ่ายเงินก่อน แล้วสามารถนำใบเสร็จกับใบรับรองแพทย์มาเบิกจ่ายทีหลังได้ที่ประกันสังคมทั่วประเทศ และสามารถยื่นขอรับค่าตรวจ ค่ารับฝากครรภ์ได้โดยไม่ต้องรอให้มีการคลอดบุตรก่อน หรือสามารถขอรับพร้อมกับการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรได้ด้วย

สิทธิเบิกจ่ายค่าคลอดบุตร

สำนักงานประกันสังคมได้ให้ผู้ประกันตนสำหรับคนท้องสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาทต่อครั้ง เช่น ค่าทำคลอด ค่าห้องพัก ค่ายา หรือค่าบริการอื่น ๆ โดยสามารถใช้บริการที่ผู้ประกันตนได้ลงทะเบียนไว้ หากใช้บริการโรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในสังกัดผู้ประกันตนต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วสามารถนำเอกสารเบิกค่าใช้จ่ายทีหลังได้ที่ประกันสังคมทั่วประเทศ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
  • กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

สิทธิการลาคลอด

นอกจากผู้ประกันตนจะสามารถเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับการฝากครรภ์ และการคลอดบุตรแล้ว สำนักงานประกันสังคมยังจ่ายค่าจ้างชดเชยในกรณีหยุดงานเพื่อลาคลอดอีกด้วย โดยทางประกันสังคมจะจ่ายค่าชดเชยในอัตรา 50 % ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน และมีเงื่อนไขเพิ่มเติมดังนี้

  • สิทธิการลาคลอดนี้สามารถใช้ได้เฉพาะฝ่ายหญิงเท่านั้น
  • จ่ายค่าชดเชยให้ไม่เกินฐานเงินเดือน 15,000 บาท หากเงินเดือนของผู้ประกันตนมากกว่ากำหนด จะคิดในอัตราเงินเดือน 15,000 บาท
  • การใช้สิทธิประกันสังคมนี้จะสามารถใช้ได้เฉพาะบุตรคนที่ 1 และคนที่ 2 เท่านั้น
  • ระยะเวลาการจ่ายเงินชดเชยจะให้ทั้งหมด 90 วัน หรือ 3 เดือน นับรวมวันหยุดราชการ

หากผู้ประกันตนลาไม่ครบ 90 วันทางประกันสังคมจะยังจ่ายเงินค่าชดเชยให้เช่นเดิม

ชดเชยกรณีแท้งบุตร

หากเกิดกรณีแท้งบุตร ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรประกันสังคมได้ตามปกติ เพราะทางประกันสังคมถือว่าท่านได้คลอดบุตรแล้วไม่ว่าเด็กจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม โดยมีเงื่อนไขดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ต้องจ่ายเงินค่าประกันสังคมแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนแท้งบุตร
  • จะต้องมีอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ หรือ 7 เดือนขึ้นไป

สิทธิ์รับเงินสงเคราะห์บุตร

ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับสงเคราะห์บุตร โดยจะได้รับเงินเหมาจ่ายเดือนละ 600 บาทจนถึงบุตรอายุ 6 ปีบริบูรณ์ โดยประกันสังคมจะไม่จ่ายค่าสงเคราะห์บุตรหากบุตรเสียชีวิต หรือยกให้ผู้อื่นเป็นบุตรบุญธรรม และมีเงื่อนไขเพิ่มเติมดังนี้

  • ต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 หรือมาตรา 39 เท่านั้น
  • จ่ายเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  • จ่ายเงินสูงสุดไม่เกินบุตร 3 คน

จะเห็นได้ว่าคุณแม่มือใหม่ที่เป็นผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ มากมายจากประกันสังคมเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย และยังเป็นหลักประกันที่จะทำให้คุณแม่และลูกน้อยปลอดภัยได้อีกด้วย

ที่มาจาก : https://www.petcharavejhospital.com/th/SSO/

บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :

ก่อนใช้ควรเช็ก14 โรคที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง

ใช้ประกันสังคมฝากท้องได้ไหม สิทธิประกันสังคม คนท้อง ที่แม่ ๆ ควรรู้

บทความโดย

Napatsakorn .R