แม่รู้ไว้เลย สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ทารกนอนไม่หลับ เจ้าตัวเล็กสะดุ้งตื่น อาจเป็นเพราะ “เสียงกรน” ของป๊ะป๊านี่แหละ ที่ทำให้หนูน้อยต้องคอยมาสะดุ้งตื่นเอาแบบนี้
ต้องมาสะดุ้งตื่นเพราะเสียงกรนป๊า แถมผลอยหลับไปไม่เท่าไหร่ เสียงระเบิดลงมาอีกล่ะ แล้วหนูจะนอนได้ไหมเนี่ย
สาเหตุที่ทำให้ ทารกนอนไม่หลับ ดูคลิปนี้แล้วจะรู้
www.facebook.com/1396230623930949/videos/1546835835537093/?fref=nf
ทารกนอน อย่าทำแบบนี้!
ทารกนอน อย่าทำแบบนี้! 5 สิ่งที่ห้ามทำเกี่ยวกับการนอนของทารก เพราะการนอนสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็ก มีอะไรบ้างที่ห้ามทำเกี่ยวกับการนอนของทารก คุณพ่อคุณแม่ต้องอ่าน!
1. อย่านับการนอนหลับสั้นๆ ว่าเป็นการนอน
สำหรับเด็กทารกนั้นการนอนหลับอย่างที่เต็มที่ คือ การนอนที่นานกว่า 45 นาที การนอนสั้นๆ หรือ การนอนที่ไม่ถึง 45 นาทีนั้นไม่ใช่การนอนหลับอย่างเต็มที่
Elizabeth Pantley คุณแม่ลูกสี่ผู้เขียนหนังสือชื่อ The No-Cry Nap Solution ได้ให้คำแนะนำว่า “การนอนหลับสั้นๆ ของทารกอาจทำให้คุณเข้าใจผิดได้ว่าลูกนอนหลับเพียงพอแล้วในแต่ละวัน แต่ความจริงแล้วการนอนแบบสั้นๆ หรือการนอนในระยะเวลาไม่นาน เป็นสาเหตุทำให้ทารกหงุดหงิด และร้องไห้บ่อยๆ ได้ เพราะทารกจะไม่ได้รับประโยชน์และไม่ได้รับพลังงานอย่างเต็มที่เท่ากับการนอนหลับนานๆ ”
ลูกแรกเกิด นอนนาน
แม้จะไม่มีตัวเลขตายตัวที่จะบอกว่าทารกควรนอนกี่ชั่วโมงในแต่ละคืน แต่เรามีตารางการนอนสำหรับเด็กแต่ละวัยที่ให้ตัวเลขเฉลี่ยคร่าว ๆ ไว้ให้ผู้ปกครองดูเป็นไอเดีย จำไว้ว่านี่เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น เด็กบางคนอาจจะนอนมากหรือน้อยกว่านี้ก็ถือเป็นเรื่องปกติ
ชั่วโมงการนอนของเด็กแต่ละวัย
- เด็กแรกเกิดจะนอนประมาณวันละ 15 ชั่วโมง ซึ่งรวมทั้งเวลานอนปกติตอนกลางคืนและเวลานอนระหว่างวัน
- เด็กอายุสามเดือนจะเริ่มนอนมากขึ้นในช่วงกลางคืนและนอนน้อยลงในช่วงกลางวัน แต่รวม ๆ กันก็ประมาณ 15 ชั่วโมงเหมือนกัน
- เมื่ออายุถึง 6 เดือน เด็กจะนอนประมาณคืนละ 11 ชั่วโมง และจะนอนกลางวันวันละ 2 รอบเท่านั้น
- เมื่ออายุ 9 เดือน เด็กจะนอนประมาณ 11-12 ชั่วโมงในแต่ละคืน และจะนอนกลางวัน 2 รอบ รอบละประมาณ 2-3 ชั่วโมง
2. อย่าเพิ่งรีบไปหาทันทีเมื่อลูกตื่น
เป็นเรื่องปกติ ที่ระหว่างนอนทารกอาจหลับๆ ตื่นๆ บ้าง การที่พ่อแม่รีบวิ่งไปหาลูกเมื่อลูกตื่นแล้วร้อง อาจเป็นการกวนลูกหรือทำให้ลูกตื่นขึ้นมาทันทีแทนที่จะได้นอนต่อนานๆ ทารกต้องการความเงียบและความสงบในการนอน ตอนลูกเริ่มนอนก็เช่นกัน หากลูกไม่ยอมนอนเสียที พ่อแม่อาจปล่อยลูกไว้ในเปลคนเดียวนานประมาณ 30 นาที เพื่อให้บรรยากาศสงบ แล้วลูกจะนอนหลับง่ายขึ้น
3. อย่าปลุกลูก
สำหรับเด็กวัย 4 เดือนขึ้นไป อย่าปลุกลูก เว้นแต่จำเป็นจริง ๆ พ่อแม่หลายคนมักกังวลว่าถ้าลูกนอนตอนกลางวันนาน ๆ พอตกกลางคืนลูกจะหลับยาก
Dr. Jennifer Shu กุมารแพทย์และผู้ร่วมเขียนหนังสือ Heading Home with Your Newborn ได้แนะนำว่า พยายามอย่าปลุกทารกที่กำลังหลับอยู่ เพราะเด็กหลายคนที่หลับนานช่วงกลางวัน ก็หลับนานในช่วงกลางคืนได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การปลุกลูกจากการนอนนาน ๆ ยังทำให้ลูกไม่ได้รับประโยชน์และไม่ได้รับพลังงานจากการนอนอย่างเต็มที่ด้วย
4. อย่าเมินเฉยต่ออาการง่วง
Dr. Marc Weissbluth ผู้เขียนหนังสือ Healthy Sleep Habits, Happy Child ได้ให้คำแนะนำว่า พ่อแม่ไม่ควรเมินเฉยๆ ต่ออาการแปลกของลูกเพราะนั่นอาจหมายถึงอาการง่วงได้ เด็กบางคนอาจไม่ได้แค่หาวเวลาง่วง แต่มีอาการอื่นๆ มากมายที่บ่งบอกว่าลูกง่วง เช่น เปลือกตาตก ตาลอย หงุดหงิด ร้องไห้ หากคุณพบอาการดังกล่าวควรกล่อมลูกนอนทันที เพราะหากยังไม่ได้นอนเสียที อาจทำให้เด็กหรือทารกเข้าสู่ภาวะเหนื่อยมากเกินไป (overtired zone) และจะยิ่งงอแงเข้าไปอีก
5. อย่าใช้ผ้าห่มบ่อย
สมาคมกุมารเวชศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำแนะนำว่าพ่อแม่ไม่ควรซื้อ ทั้งหมอน ผ้าห่ม ผ้านวมคลุมเตียง ผ้ารองผ้าห่ม ผ้านวมบุรอบเตียงมาวางไว้ใกล้บริเวณที่ทารกนอนหลับ เพราะเครื่องนอนที่วางไว้เยอะมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อทารกได้ เครื่องนอนเหล่านี้อาจทำให้เกิดการตายแบบกะทันหันหรืออาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome) เช่น หากมีผ้านวมบุรอบเตียงอาจทำให้หน้าของเด็กไปซุกอยู่บริเวณผ้านวมขณะนอนหลับ และทำให้เด็กหายใจไม่ออกได้
SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรืออาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก เมืองไทยเรียกว่าโรคไหลตายในทารก มักเกิดขึ้นในเด็กอายุระหว่าง 2-4 เดือน สิ่งเหล่านี้คือ 5 สิ่งที่พ่อแม่ควรระลึกไว้เพื่อป้องกันลูกน้อยจาก SIDS
- ควรให้เด็กนอนหงาย เพราะเด็กจะสามารถหายใจเอาอากาศที่มีปริมาณออกซิเจนได้มากกว่าเด็กที่นอนคว่ำ อยู่ให้ห่างจากควันและกลิ่นบุหรี่
- ต้องแน่ใจว่าเด็กได้นอนบนที่นอนที่แข็งพอ อย่าให้ลูกมานอนเตียงเดียวกันคุณ มันจะเพิ่มความเสี่ยงที่เครื่องนอนจะมาทับหรือคลุมลูกได้
- อย่าให้ลูกนอนบนที่นอนที่อ่อนยวบ ย้ายตุ๊กตาและผ้าห่มที่หลวมจนเกินไปออกจากเตียงเวลาที่ลูกหลับ ให้ใช้ผ้าห่มที่สามารถหายใจผ่านได้เพื่อป้องกันเวลาที่ลูกนอนแล้วผ้าห่มมาคลุมหน้า หากคุณต้องการใช้แผ่นกันชนรอบเตียงลูก ควรใช้ผ้าที่ทอเหมือนผ้าตาข่ายที่สามารถหายใจผ่านได้ ต้องแน่ใจว่าแผ่นกันชนเตียงติดตั้งแบบสอดเข้าและออกสลับกันรอบลูกกรงเตียงเพื่อทำให้มันแน่นและมั่นคงไม่หลุดลงมาคลุมหน้าลูกน้อย
- ห้องนอนลูกควรมีอุณหภูมิที่เย็นพอ ไม่อุ่นหรืออบอ้าวจนเกินไป อุณภูมิที่เหมาะสมสำหรับทารกคือ 25 – 26 องศาเซลเซียส อาจใช้จุกนมปลอมให้ทารกดูดเพื่อให้เด็กหลับสบายขึ้น
- นมแม่สามารถลดความเสี่ยงของ SIDS ได้ นมแม่เป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพดีของลูกน้อยในหลาย ๆ ด้าน เพราะฉะนั้นแม้ไม่ได้รับการพิสูจน์ ก็ไม่มีอะไรเสียหายที่จะให้ลูกกินนมจากเต้า
ดูแล้วสงสารเจ้าตัวน้อยเหมือนกันนะเนี่ยะ กำลังนอนหลับสบายอยู่เชียว งานนี้ต้องสะกิดคุณพ่อไปนอนห้องอื่นแล้วล่ะ บ้านไหนเจออารมณ์พ่อลูกแบบนี้กันบ้าง ร่วมกันแชร์และส่งภาพมาให้ดูกันนะคะ
ที่มา : เพจจะดังจะดับเราจับมาแฉ
วิดีโออื่นที่น่าสนใจ :
น่าเอ็นดู..คลิปทารกแฝดคุยกันหลังออกมาได้แค่ชั่วโมงเดียว
เห็นชัด! คลิปนาทีกำเนิดทารกที่กำลังออกจากท้องแม่