สาธารณสุขอังกฤษเตือนพ่อแม่ เฝ้าระวัง "โรคไข้อีดำอีแดง"

กระทรวงสาธารณสุขของประเทศอังกฤษได้ประกาศเตือน ให้พ่อแม่ควรเฝ้าระวังและสังเกตบุตรหลานให้ดี หลังเกิดพบโรคอีดำอีแดงระบาดในเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แพทย์และกระทรวงสาธารณสุขถึงกับออกโรงเตือน หลังพบผู้ป่วยเด็กป่วยเป็นโรคไข้อีดำอีแดงมากในช่วงนี้ ทั้งยังมีกลุ่มผู้ต้องสงสัยอีก 12 รายในสัปดาห์นี้ และกำลังอยู่ในช่วงเฝ้าสังเกตการณ์

ซึ่งโรคไข้อีดำอีแดงนี้ ได้ถูกตรวจพบกลุ่มผู้ต้องสงสัยในเมืองลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ และจากสถิติก่อนหน้านี้ในช่วงตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมจนถึงต้นมกราคม ก็ได้พบกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นผู้ต้องสงสัยมากถึง 10 รายเช่นกัน เรียกได้ว่า เป็นสถิติของการเกิดกลุ่มเสี่ยงที่มากจริง ๆ

ทำให้ทางกระทรวงสาธารณสุขของประเทศอังกฤษ จึงได้ออกโรงเตือนพ่อแม่และผู้ปกครอง ให้คอยเฝ้าระวังและสังเกตอาการของบุตรหลานไว้ให้ดี ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่คะ เรามาทำความรู้จักกับโรคและอาการของโรคไข้อีดำอีแดงกันค่ะ

โรคไข้อีดำอีแดงเกิดจากอะไร?

ไข้อีดำอีแดง หรือ Scarlet fever เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ สเตรปโตคอคคัส กรุ๊ปเอ (Group A streptococcus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนบน เช่น คออักเสบ ร่วมกับมีผื่นจากพิษของเชื้อโรค ที่มีลักษณะจำเพาะเจาะจงกับโรค ซึ่งผื่นนี้เป็นที่มาของชื่อว่า”โรคไข้อีดำอีแดง” นั่นเองค่ะ โรคนี้พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน อายุประมาณ 5-15 ปี

อาการของโรคไข้อีดำอีแดงเป็นอย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผู้ป่วยโรคไข้อีดำอีแดงจะมีอาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เจ็บคอ ต่อมทอนซิลบวมแดงหรือมีจุดหนอง มีไข้สูง ร่วมกับผื่นที่มีลักษณะเฉพาะของโรค เป็นเม็ด คลำดูจะหยาบๆ สากคล้ายกับกระดาษทราย โดยเริ่มขึ้นที่บริเวณรอบคอ แล้วกระจายไปทั่วตัวและแขนขา และอาจมีเส้นสีแดงขึ้นที่บริเวณข้อพับด้านใน เช่น ใต้วงแขน หรือ ขาหนีบ หลังผื่นขึ้น 3-4 วัน จะลอกออก จากลำคอ ลงมาเรื่อยๆ จากนั้น มือ เท้า ปลายมือ ปลายเท้า และเล็บจะลอก อาจพบลักษณะแก้มแดง และรอบปากซีด ลิ้นแดงมาก ลักษณะลิ้นเป็นฝ้าหนาขึ้นและมีสีออกชมพูคล้ายผลสตรอเบอรี่ อาจมีต่อมน้ำเหลืองโต มีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ด้วยนะคะ

โรคไข้อีดำอีแดงติดต่อได้ทางไหน?

การติดต่อของโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อเชื้อสเตรปโตคอกคัส กรุ๊ปเอ ผ่านทางเดินหายใจ โดยเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะสามารถแพร่กระจายเชื้อผ่านทางน้ำลาย น้ำมูก โดยการไอ จาม ทำให้ติดต่อไปยังผู้ที่ใกล้ชิด เช่น ที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือในที่ชุมชนอื่นๆ โรคนี้มีระยะฟักตัวของเชื้อโรคประมาณ 1-3 วัน จึงแสดงอาการออกมาค่ะ

คุณหมอจะสามารถวินิจฉัยโรคไข้อีดำอีแดงได้อย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณหมอจะวินิจฉัยโรคนี้โดยอาศัยการประวัติอาการที่เข้าได้กับโรค และการตรวจร่างกายเป็นหลัก โดยดูจากลักษณะผื่นผิวหนัง ลิ้น และคออักเสบ นอกจากนี้หากอาการไม่ชัดเจนคุณหมออาจทำการเพาะเชื้อจากในคอส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อสเตรปโตคอกคัส กรุ๊ปเอได้ค่ะ

การรักษาโรคไข้อีดำอีแดงทำได้อย่างไร?

โรคไข้อีดำอีแดง สามารถรักษาได้ไม่ยากโดยการรับประทานยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนนิซิลิน และรักษาตามอาการโดยพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวลดไข้ รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล โดยผู้ป่วยควรรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามที่คุณหมอสั่งเพื่อผลการรักษาที่ดี ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค เช่น หูชั้นกลางอักสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบติดเชื้อ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคไข้รูมาติก ติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อที่กระดูกและข้อ ติดเชื้อในสมอง หลังรับประทานยาฆ่าเชื้อครบอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก็ลดโอกาสในการแพร่เชื้อไปได้มากแล้วค่ะ

การป้องกันโรคไข้อีดำอีแดงทำได้อย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เนื่องจากโรคนี้สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัสใกล้ชิดหรือหายใจเอาละอองฝอยที่ติดเชื้อเข้าทางระบบทางเดินหายใจ การป้องกันจึงทำได้โดย การสอนเด็กๆ ให้ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสมหะหรือน้ำลายของผู้ป่วย และที่สำคัญคือไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับเพื่อนที่ป่วยนะคะ

อ่านประสบกาณ์บอกเล่าของคุณแม่เมื่อลูกป่วยเป็นโรคไข้อีดำอีแดงได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

คุณแม่ตูนได้ติดต่อมายังทีมงาน เพื่อขอแชร์ประสบการณ์ที่เพิ่งเกิดกับลูกชายวัย 6 ปี ที่เพิ่งหายจากอาการป่วยโรคอีดำอีแดง … โรคแปลกอีกโรคหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต่างหวาดหลัว

คุณแม่เล่าว่า อาการแรกเริ่มนั้น เริ่มจากน้องชินมีอาการเจ็บคอ ปวดหัว มีไข้ต่ำ น้ำมูกเริ่มข้น คุณแม่จึงไปซึ้้อยาฆ่าเชื้อให้ลูกทาน และจะให้ทานยาแก้ไข้ก็ต่อเมื่อน้องมีไข้ หลังจากที่น้องทานยาฆ่าเชื้อไปก็ดูเหมือนจะดีขึ้น ในตอนนั้น คุณแม่เข้าใจว่าอาการของลูกน่าจะเป็นอาการเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ และเจ็บคอแบบปกติทั่วไป เพราะอาการเป็น ๆ หาย ๆ แต่ผ่านไปไม่กี่วันจู่ ๆ ก็มีผื่นแดงขึ้นตามตัวของน้องชิน

โดยผื่นที่ว่านี้เป็นผื่นนูน ๆ คล้ายกับเวลาเราขนลุก เมื่อใช้มือลูบก็จะสาก ๆ คุณแม่จึงรีบพาลูกชายไปโรงพยาบาล และทำการแอ็ดมิทวันนั้นเลย แต่ตอนที่แอ็ดมิทก็ยังไม่มีอาการอะไรหนัก ไข้ก็มีแบบต่ำ ๆ คอเริ่มแดง แต่หลังจากนั้นผ่านไป 8 ชั่วโมง จู่ ๆ น้องชินก็มีไข้ขึ้นสูงถึง 39 องศา เจ็บคอมาก

คุณหมอได้เอาไฟส่องเข้าไปในปาก ก็พบว่ามีจุดหนองบริเวณต่อมทอมซิล เพดานปาก และเยื่อบุปาก ลิ้นก็กลายเป็นสีชมพูแดงคล้ายกับลูกสตอเบอร์รี่ น้องต้องนอนโรงพยาบาลถึง 3 คืนกว่าที่อาการทั้งหมดจะหายสนิท คุณแม่สงสารลูกมาก และไม่อยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับครอบครัวไหนอีก

จากประสบการณ์ดังกล่าว คุณแม่จึงอยากฝากถึงผู้ปกครองท่านอื่นว่า อย่าวินิจฉัยโรคเอง หากพบอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับโรค ไม่ว่าจะเล็กน้อย ก็ควรพาไปพบแพทย์ เพราะสมัยนี้โรคแปลก ๆ เกิดขึ้นเยอะ บางโรคก็จะไม่แสดงอาการให้เราเห็น แต่ในขณะเดียวกันก็กำลังเพาะเชื้ออยู่ภายในร่างกายของลูกเรา และควรปลูกฝังให้ลูกรักสะอาด ล้างมือให้เป็นนิสัย เพราะอย่างน้อยก็ช่วยลดเปอร์เซ็นการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้บ้าง

ที่มา: Mirror

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

โรคเส้นเลือดอักเสบ เด็กเป็นได้ ผู้ใหญ่ต้องระวัง

เมื่อควันบุหรี่คือสิ่งเร้าที่ทำให้ลูกต้องเป็นโรคหอบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth