สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกวัยคลานจะกลายเป็นเด็กชอบเอาแต่ใจ

คุณพ่อคุณแม่สังเกตกันออกไหม เวลาลูกน้อยของเราชอบเอาแต่ใจเขาจะแสดงออกกันด้วยวิธีไหนกันนะ แล้วที่เจ้าตัวเล็กตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยคลานร้องไห้งอแง แบบนี้เรียกว่าลูกชอบเอาแต่ใจหรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกชอบเอาแต่ใจ เป็นอาการของลูกวัยคลานจริงหรือ

เป็นไปได้หรือไม่ว่า การที่ ลูกชอบเอาแต่ใจ ส่วนหนึ่งเกิดจาก “การตามใจ” ของพ่อแม่นั้นเอง แต่อย่างในกรณีการร้องไห้ของเด็กทารกที่พ่อแม่มักจะเข้าไปโอ๋หรือปลอบลูก ถือเป็นการแสดงออกทางการสื่อสารอย่างหนึ่งของทารกเพื่อให้พ่อแม่รับรู้ถึงความต้องการของเขานั่นเอง ไม่ใช่เกิดการเอาแต่ใจหรือเป็นการเรียกร้องความสนใจแต่ประการใด

 

มีงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า หากพ่อแม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเด็กทารกได้เร็วเท่าไหร่ ไม่ใช่แต่เฉพาะเวลาที่ลูกร้องไห้เท่านั้น แต่เป็นตอนที่พ่อแม่อยู่กับลูกแล้วตอบสนองต่อความต้องการของเขา จะส่งผลให้ทารกมีความสุขและเป็นตัวของตัวเองได้มากในขวบปีแรก เพราะเด็กทารกจะเรียนรู้และรู้สึกปลอดภัยทุกครั้งเมื่อมีพ่อแม่อยู่ด้วยเสมอในเวลาที่เขาต้องการ

แล้วเมื่อเด็กทารกเข้าสู่วัยคลาน การมีพฤติกรรมเกเร ลูกชอบเอาแต่ใจ จะเรียกว่าเป็นการเอาแต่ใจตัวเองหรือเปล่า? คำตอบของเรื่องนี้ก็คือ พฤติกรรมงอแงของเด็กวัยคลานก็ถือเป็นพัฒนาการที่ปกติของเด็กวัยนี้เช่นกัน เพราะลูกจะเริ่มแยกแยะความแตกต่างได้แล้ว แต่เมื่อลูกเริ่มที่จะเอาแต่ใจของจริงคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3 สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกวัยคลานชอบเอาแต่ใจ

#1 งอแงปฏิเสธอาหารที่คุณแม่ทำให้ จนต้องออกไปหาอาหารอื่นมาให้ทานถึงยอมกิน เป็นแบบนี้ซ้ำๆ แสดงว่าลูกเริ่มเอาแต่ใจตัวเองแล้วล่ะ

#2 เริ่มงอแง และมีอาการดื้อไม่ยอมทำตาม ถึงแม้ว่าการงอแงไม่เชื่อฟังถือเป็นพัฒนาการที่มักเกิดขึ้นในเด็กวัยคลานได้ แต่หากพ่อแม่ไม่เริ่มสอนให้ลูกรู้จักหรือมีกำหนดกฏเกณฑ์ เมื่อลูกโตขึ้นและแสดงอาการงอแง ดื้อดึง ถือเป็นการเรียกร้องความสนใจและการเอาแต่ใจตัวเอง

#3 การคอยพึ่งพาคุณพ่อคุณแม่ตลอดเวลา เช่น ไม่ยอมนอนเมื่อแม่ไม่อยู่ด้วย หรือไม่ยอมให้พ่อแม่ทำอะไรเลย มีการใส่อารมณ์ ร้องตะโกนเมื่อไม่พอใจ เป็นพฤติกรรมที่เริ่มแสดงให้เห็นความเอาแต่ใจของลูกแล้วล่ะ

การที่พ่อแม่เลี้ยงลูกแบบตามใจและให้ทุกอย่างในสิ่งที่ลูกขอ ทะนุถนอมลูกมากเกินไป เหมือนกับลูกเป็นเด็กเล็ก ๆ อยู่ตลอดเวลา จะทำให้ลูกไม่เข้าใจว่าโลกภายนอกที่แม้จริงเป็นอย่างไร ดังนั้นเพื่อหยุดโอกาสไม่ให้ลูกเป็นเด็กที่ชอบเอาแต่ใจตัวเอง พ่อแม่ควรจำกัดขอบเขตการให้อย่างมีเหตุผล ให้ลูกได้ทำในทุกสิ่งและมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย โดยเฉพาะเมื่อผ่านพ้นวัยคลานไปแล้ว.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุที่ลูกกลายเป็นคนเอาแต่ใจ เกิดจากอะไร

สาเหตุที่ลูกเอาแต่ใจ ปัจจัยหลัก ๆ ล้วนมาจาก คุณพ่อ คุณแม่ ปู่ย่า ตายาย ทั่งนั้นคะ เพราะอะไรนะหรอคะ เพราะการที่ทุกคนตามใจมาแต่เล็กคะ ยกตัวอยางเช่น อยากได้อะไรก็ต้องได้ อยากไปไหนก็ต้องได้ไป อยากทำอะไรก็ต้องได้ทำ นั้นเกิดจากผู้ใหญ่ให้ท้ายนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นเด็กรุ้นไหน ๆ ก็ตามถ้าหากผู้ใหญ่ให้ท้ายอยู่อยางนั้นจะทำให้เด็กโตมาเป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง ไม่ฟังเหตุผลของคนอื่น ไม่สนใจว่าทำแล้วผลจะออกมาเป็นแบบไหน แล้วเป็นไงละคะ พวกคุณก็ต้องมาตามแก้ปัญหาให้ และ ถ้าตามใจเรื่อย ๆ คุณก็จะคอยแก้ปัญหาไม่จบไม่สิ้นเป็นแน่นอนคะ เพราะเด็กก็จะคิดว่าพวกคุณนั้นให้ทำได้นั้นเอง และ จะมีคนมาคอยแก้ให้อยู่เสมอ ไม่ว่าอะไรก็ตามคะ

ทำไมถึงชอบเอาชนะ

ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ในช่วงวัยนี้เป็นวัยที่ลูกเริ่มมีบุคคลิกที่ชัดเจน มีความรู้สึก มีความคิดที่อยากจะเป็นคนสำคัญ อยากได้คำชมจากคนรอบข้าง ดังนั้นพฤติกรรมที่แสดงออก ก็คือ การพยายามเป็นคนเก่ง อยากเอาชนะ เพราะอยากได้คำชื่นชมจากคนรอบข้าง กลัวการพ่ายแพ้ เพราะรู้สึกเป็นเรื่องน่าอาย โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมอยากเอาชนะ หรือกลัวการแพ้ ก็คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ต้องการสร้างความเชื่อมั่น

เนื่องจากในวัยนี้เริ่มเป็นวัยที่เกิดการเรียนรู้ และเลียนแบบพฤติกรรมจากคนรอบข้าง ดังนั้นเขาจึงพยายามสร้างตัวตน หรือพยายามเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ เราจึงจะเห็นได้ว่า ในวัยนี้ลูกจะมีความพยายามในการเรียนรู้ และทำสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาตนเอง และอยากให้ตนเองเก่งขึ้น เพื่อให้ผู้ใหญ่หรือคนรอบข้างยอมรับ ซึ่งบางครั้งความพยายามนั้น อาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ชอบเอาชนะ อยากเป็นที่หนึ่ง กลัวการพ่ายแพ้ ดังนั้นพ่อแม่จึงควรให้เหตุผล และพูดคุย ทำความเข้าใจกับลูก หากบางสิ่งที่ลูกทำนั้นไม่สำเร็จ หรืออาจส่งเสริมได้ด้วยการพาลูกไปทำกิจกรรมที่เขามีความถนัด หรือมีความชอบ เพื่อให้ลูกได้ซึมซับประสบการณ์ดี ๆ ที่เขาได้ทำในสิ่งที่ชอบและประสบความสำเร็จ

ลูกเริ่มแยกแยะสิ่งดี ไม่ดีได้

เพราะในช่วงวัยนี้ลูกเริ่มมีการเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวได้ดีขึ้น ดังนั้นเขาจึงเริ่มรู้จักการแยกแยะสิ่งดี ไม่ดี ถูก ไม่ถูกได้มากขึ้น ดังนั้นเขาจึงมีความเข้าใจถึงการเปรียบเทียบ และไม่อยากที่จะถูกเรียกว่าตัวเองไม่ดี หรือเป็นเด็กไม่เก่ง จึงพยายามที่จะแสดงออกโดยการทำตัวให้เป็นคนเก่ง หรือเป็นเด็กที่โดดเด่น เพื่อที่จะไม่ให้พ่อแม่ หรือคนรอบข้างชื่นชมนั่นเอง

อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล

ในช่วงวัยนี้ถึงแม้ลูกจะเริ่มมีกระบวนการคิด และมีเหตุผลในหลาย ๆ เรื่อง แต่ลึก ๆ แล้ว การตัดสินใจ หรือการแสองออกส่วนใหญ่ยังมาจากการใช้อารมณ์เป็นหลัก ดังนั้นเราจะเห็นว่าในเรื่องบางเรื่องลูกจะยังไม่สามารถยอมรับและทำความเข้าใจได้ เช่น เวลาเล่นเกมส์ ถ้าลูกแพ้ ลูกก็อาจจะมีโวยวาย เพราะอยากเอาชนะ สิ่งที่พ่อแม่จะต้องช่วยก็คือ อธิบายให้ลูกเกิดความเข้าใจว่า ในการเล่นเกมส์แต่ละเกมส์ จะต้องมีกฎกติกา ซึ่งย่อมมีผู้แพ้ – ผู้ชนะ ซึ่งหากเราแพ้ เราก็ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ ไม่โวยวาย ตั้งสติ และค่อย ๆพยายามแก้ตัวใหม่ในการเล่นครั้งต่อไป

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมี แอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมา ฟิต แอน เฟิร์ม อีกครั้ง  theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

 

Credit content: www.manager.co.th

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7 วิธีปราบลูกเอาแต่ใจ

6 วิธีหยุดลูกไม่ให้เอาแต่ใจก่อนจะเสียคน

ลูกดื้อ พฤติกรรมนี้เกิดจากอะไร? คุณแม่ควรรับมือเจ้าตัวแสบด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผลดี

 

บทความโดย

Napatsakorn .R