คุณแม่แชร์ประสบการณ์ สอนลูกเข้าสังคม อย่างไรให้สำเร็จ

กลัวไหมเมื่อลูกต้องไปโรงเรียนวันแรก กลัวไหมเมื่อลูกต้องไปอยู่ในสังคมใหม่โดยที่ไม่มีคุณคอยอยู่ข้างๆ มาดูเคล็ดลับการเลี้ยงลูกของบรรดาคุณแม่คนเก่ง จะมีวิธีเพิ่ม SQ สอนลูกเข้าสังคม อย่างไร ให้ลูกสามารถปรับตัวกับเพื่อนๆ และเอาตัวรอดในสังคมได้อย่างมีความสุขกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ๆ แต่ละคนต่างก็มีวิธีการเลี้ยงลูกรักวัยเริ่มเข้าโรงเรียน มีเทคนิค สอนลูกเข้าสังคม เพิ่มทักษะด้าน SQ ให้ลูกสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ ที่มีนิสัย และความชอบแตกต่างกัน จะเป็นอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลย!

 

คุณแม่จอย น้องเมฆ

“แม่จอยจะหมั่นพาลูกไปเข้าสังคมค่ะ ไม่ว่าจะเป็นญาติๆ หรือเพื่อนๆ ของลูก ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนแถวบ้าน หรือที่เรียนพิเศษ แม่จอยจะสอนวิธีการทำความรู้จักเพื่อน หรือมารยาทเวลาเจอผู้หลักผู้ใหญ่ รวมถึงการวางตัวที่ถูกต้องเหมาะสมด้วยค่ะ  ดังนั้นเวลาเจอเพื่อนใหม่ๆ เมฆจะรู้ว่าต้องทำความรู้จักกันอย่างไร เมฆเลยไม่ค่อยมีปัญหาเวลาต้องไปโรงเรียนที่ใหม่ หรือไปสถานที่ที่ไม่มีใครรู้จัก  เพราะลูกสามารถปรับตัวเข้าหาสังคมได้เป็นอย่างดีค่ะ “

 

คุณแม่น้ำอุ่น น้องอันดา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“อุ่นเลี้ยงลูกแบบสบายๆ ไม่ประคบประหงมค่ะ ดังนั้น ลูกอุ่นจะสามารถดูแลตัวเองได้ดีค่ะ และที่บ้านให้ความสำคัญเรื่องการแบ่งปันเสมอ  เพราะการแบ่งปันเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพที่ดี อันดาไม่เคยหวงของเล่น แถมยังชอบชวนเพื่อนๆ มาเล่นของเล่นที่บ้านด้วยค่ะ ในซอยบ้านแถวนี้อันดาเป็นที่รักของเพื่อนทุกคนเลยค่ะ “

 

แม่แพทน้องคริสเตียน (ซ้าย) และ แม่ทรายน้องเกวิน (ขวา)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“สำหรับน้องคริสเตียน เค้าเข้ากับเพื่อนๆ ได้ดีค่ะ เวลาได้เล่นอยู่กับเพื่อนๆ หรือเจอหน้ากันทีไร เค้าจะค่อนข้างสนุก ชอบ มีความอยากเล่นด้วยกันอยู่แล้วค่ะ ทีนี้แม่แพทก็ต้องสอนให้เด็กๆ เค้ารักกัน ดูแลกัน และเล่นกันดีๆ ”  – แม่แพท

“เกวินชอบมากๆ เวลาได้ออกจากบ้านมาเจอเพื่อนๆ ของเค้าค่ะ เค้าชอบดูแลเทคแคร์คนอื่นๆ เสมอ เพราะที่บ้านและที่โรงเรียนจะปลูกฝังเรื่องการ Sharing ตั้งแต่เด็กค่ะ” – แม่ทราย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่จุง น้องลิลลี่

“สมัยเข้าโรงเรียนใหม่ๆ ลิลลี่ร้องไห้ทุกวันเลยค่ะ เพราะยังปรับตัวไม่ได้ และก่อนหน้านี้ก็อยู่กับแม่จุงคนเดียวมาโดยตลอด พอต้องไปอยู่ในโรงเรียนที่มีแต่คนแปลกหน้าเลยทำใจไม่ได้เลยค่ะ แต่แม่จุงก็สอนตลอดว่า หนูต้องหัดทำความรู้จักคนอื่นทั้งเพื่อนและครู ทุกคนใจดีและรักหนูเหมือนกัน ถ้าหนูยิ้มให้เพื่อน เพื่อนก็จะยิ้มให้หนู ถ้าหนูยิ้มให้ครู ครูก็จะยิ้มให้หนูเหมือนกัน แม่เชื่อว่าลิลลี่เป็นคนเก่ง และลิลลี่ต้องทำได้ ” เค้าก็เข้าใจค่ะ และค่อยๆ เปลี่ยนแปลงตัวเอง จนตอนนี้ชอบไปโรงเรียนมาก บ่นตลอดว่า มามี้เมื่อไหร่จะเปิดเทอม ลิลลี่อยากเจอเพื่อน อยากเจอครูค่ะ “

 

แม่อัญ น้องเจมี่

“วิธีการเสริมสร้าง SQ ให้หนุ่มน้อยบ้านนี้ คุณแม่บ้านนี้ใช้วิธีนัดเจอเพื่อนๆ ที่มีลูกวัยใกล้เคียงกัน นัดทานข้าวหรือทำกิจกรรมร่วมกัน ในเทศกาลต่างๆ คุณแม่โชคดีตรงที่ที่ทำงานแด้ดดี้มีเพื่อนจากหลากหลายประเทศ ฉะนั้นเวลาหลังเลิกงานหรือช่วงวันหยุด สุดสัปดาห์ เพื่อนๆ แด้ดดี้ ที่มีลูกในวัยใกล้เคียงกัน จะนัดรวมตัวกันทานข้าวด้วยกันบ่อยๆ ยิ่งเป็นช่วงเทศกาล จะยิ่งเป็นช่วงที่สนุกสนานมาก การมารวมตัวกันหลายๆ คนเด็กๆ จะได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ทั้งการได้แลกเปลี่ยนของเล่นของขวัญ และยังสนุกกับเกมส์ต่างๆ อีกด้วย โดยเฉพาะวัน ฮาโลวีน เจมี่จะชอบมากที่สุด เพราะได้ไปเคาะประตูตามบ้าน ทักทายหลายๆ บ้าน ทั้งตื่นเต้นที่ต้องทักทายคนแปลกหน้า ทั้งยังลุ้นจะได้ขนม ลูกอม ของเล่นอะไร บางครั้งได้เงินก้นถุงติดมือกลับมา ระหว่างเดินไปบ้านแต่ละบ้านยังได้ทักทายเพื่อนใหม่ๆ อย่างสนุกสนานอีกต่างหาก”

 

แม่อิ้งค์ น้องเอิง

“อิ้งค์จะให้น้องเอิงทดลองสิ่งใหม่ เจอสังคมที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่ที่โรงเรียนหรือสังคมแค่ญาติพี่น้อง แต่อิ้งค์จะพาน้องเอิงไปร่วมงานพบปะของกรุ๊ปแม่ๆ ในเฟซบุคเสมอค่ะ น้องเอิงก็จะเจอได้เพื่อนๆ วัยเดียวกัน ทำให้สังคมลูกเปิดกว้างมากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แม่รัตน์ น้องฮักกี้ น้องฮาชิ

“แม่รัตน์กับพ่ออี้ มีลูกชาย 2คน ชื่อน้องฮักกี้ อายุ 6ขวบ และน้องฮาชิ อายุ 2ขวบครึ่ง ก่อนจะมีลูกได้ปรึกษาและตกลงกับคุณพ่อว่าเราจะช่วยกันดูแลและเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง เพื่อจะให้ลูกได้อยู่ใกล้ชิดและมีความอบอุ่นที่สุด เวลาไปไหนข้างนอกก็จะพากันไปด้วยตลอด มีกิจกรรมต่างๆ ให้ลูกได้ทำร่วมกันกับครอบครัวบ่อยๆ เช่น คุณพ่อทำงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวก็จะมีกิจกรรมที่ได้ออกไปตามสถานที่ต่างๆ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เปลี่ยนโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น ทำให้เขามั่นใจในการเข้าสังคม เมื่อพบเจอปัญหาต่างๆ ก็จะพยายามให้เขามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างให้เขามีภูมิคุ้มกัน เมื่อได้พบปะผู้คนใหม่ๆ หรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างออกไป เมื่อโตขึ้นเขาก็จะเรียนรู้และปรับตัวเพื่อเผชิญกับโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”

 

แม่ฝ้าย น้องซูพรีม

“การพัฒนาทักษะ SQ อย่างแรก คือ สอนให้ลูกคิดว่าการพูดคุยกับผู้คนไม่ใช่เรื่องน่าอายค่ะ ยิ่งถ้าเราพูดเพราะหรือพูดแบบน่ารัก คนก็จะยิ่งรักเรา แล้วก็พยายามสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูก ให้ลูกมีไอดอลค่ะ แล้วการคบเพื่อนก็สำคัญนะคะ โชคดีที่ลูกมีเพื่อนน่ารัก กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีๆ ไปทิศทางเดียวกัน เค้าเห็นเพื่อนทำจนเค้าคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติค่ะในการกล้าแสดงออก ไม่กลัวคนค่ะ”

 

แม่ปลา น้องนนท์ น้องนาวิน น้องเอว่า

“ความหวังของพ่อแม่ก็คือ อยากให้ลูกทั้งสามรักกัน ช่วยเหลือกันและสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข แล้วถ้าพูดถึงการมีความสุขกับสังคมที่อยู่ก็คือการมี SQ ที่ดี พื้นฐาน SQ นั้นมีอยู่ในตัวเด็กๆทุกคนอยู่แล้ว พ่อแม่มีหน้าที่ผลักดันและชี้นำให้เด็กๆ มีความมั่นใจที่จะทำเท่านั้นค่ะ พี่เลี้ยงลูกๆ ให้มีสุขภาพแข็งแรงซึ่งมาจากสุขภาพจิต อาหาร กีฬา เพราะมันคือพื้นฐานของความสุขและหลายๆ อย่าง ไม่ได้เลี้ยงลูกแบบเข้มงวดเท่าไหร่ มักจะปล่อยให้เป็นไปตามวัยมากกว่า เพียงแต่จะคอยดูว่าไม่ให้เกินกาลเทศะและเกินวัยของเขา

ตอนนี้ลูกๆ ไม่มีอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์แล้วค่ะ เย้ :)) ไม่มีไอแพดมานานแล้ว มีแต่พี่นนท์ที่มีโทรศัพท์ไว้ติดต่อกับพ่อแม่และเพื่อนๆ การตัดอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ออกไปช่วยให้ลูกเล่นกับเพื่อนๆ และทำอย่างอื่นได้มากขึ้น ช่วยให้ลูกเข้าสังคม และนี่คือการเสริม SQ ให้ลูกโดยไม่รู้ตัวค่ะ อีกอย่างหนึ่งที่ถือว่าโชคดีเลยก็ว่าได้ คือระบบการเรียนที่นี่ ไม่มีระบบเรียนพิเศษเหมือนเมืองไทย ไม่มีการแข่งขันกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ถ้าจะแข่งคงแข่งกับตัวเองมากกว่า อย่าง เอว่า เรียนอนุบาล 2 ไม่มีเรียนวันอังคารบ่าย และพุธบ่าย ส่วนนนท์และวินไม่มีเรียนวันพุธบ่าย จะเห็นว่าในหนึ่งสัปดาห์ เด็กๆ จะมีครึ่งวันที่ได้หยุดพักผ่อนช่วงกลางสัปดาห์ 

คุณพ่อเด็กๆ สอนเสมอเรื่องการตรงต่อเวลา สำคัญมากๆ ในชีวิตค่ะ โดยเฉพาะพี่นนท์คนโต เขาจะให้ความสำคัญกับเวลามากๆหลายๆ อย่างใน SQ พี่ว่าบางทีมันก็มาเองตามธรรมชาติของเด็กๆ นะคะ มนุษยสัมพันธ์ ยิ้มแย้มแจ่มใส เพียงแต่ผู้ใหญ่ช่วยชี้และเสริมให้ทุกอย่างชัดเจนมากขึ้นเท่านั้นเอง 

อีกอย่างหนึ่งพี่จะคอยสอนให้เด็กๆ ใส่ใจความรู้สึกของคนอื่น เพราะทำให้เราอยู่ร่วมกับสัมคมได้ดี มีอยู่ครั้งหนึ่ง พี่นนท์มีปัญหากับเพื่อน กลับมาถึงบ้านโวยวายใหญ่เลยว่ามีคนแกล้งเขาหลายครั้ง จนเขาอดทนไม่ได้เลยโยนหิมะใส่ที่หน้าเขาไป แล้วเด็กคนนั้นก็บอกว่าจะไปฟ้องแม่ สักพักแม่และเด็กก็มาหาเราที่บ้านมาโวยใส่ สิ่งที่พี่ทำคือรับฟัง นิ่งๆ พอเขาโวยจบพี่ก็บอกว่า ฉันต้องขอโทษด้วยค่ะ ปกติลูกฉันจะไม่รังแกใครก่อน ขอฉันคุยกับลูกฉันก่อนนะคะ หลังจากนั้น เราสองคนแม่ลูกก็ได้คุยกันว่าเรื่องมันเป็นมายังไง แล้วแม่ก็ถามว่า เราเป็นเพื่อนบ้านกันอย่างนี้ ไม่ว่าเราจะถูกหรือผิด เราก็ต้องเจอเขาทุกวันนะ แล้วจะเอายังไง ถ้าจบแบบนี้ไม่ดีแน่ๆ พี่นนท์คิดว่ายังไง (พี่เอาสถานการณ์มาเป็นประโยชน์ต่อการสอนลูก)

สรุปว่าเราก็ออกไปร้านค้าใกล้ๆ บ้านเพื่อซื้อช็อคโกแลตและไปกดกริ่งบ้านเขา พี่นนท์บอกขอโทษเขา แม่ทั้งสองก็มองหน้ากันติด เด็กๆ ก็เล่นกันอย่างปกติ คือเรื่องนี้สอนพี่นนท์หลายอย่างเลย การให้อภัยและพูดคำว่า ขอโทษ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คนเริ่มก่อนก็ตาม ความสำคัญคืออนาคตที่เราต้องเจอกันต่อไป ต่อมาพี่นนท์ก็มาบอกแม่ว่า ขอบคุณที่แม่เชื่อพี่นนท์ ตอนนี้พี่นนท์สบายใจมากๆ เลยที่ทำแบบนั้น อันนี้คือส่วนหนึ่งที่เราปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้โดยไม่รู้สึกว่าโดนเอาเปรียบหรือคิดว่าทำไมต้องเป็นฝ่ายเราที่ขอโทษ ความรู้สึกนั้นไม่สำคัญค่ะ สำคัญที่ใจเราต่างหาก ถ้าเราไม่ผิดเราก็ไม่ผิดค่ะ แต่เราจะอยู่กับสังคมอย่างไรให้มีความสุข 

จะว่าไปแล้วสังคมและระบบการเรียนที่นี่ก็เอื้ออำนวยต่อการเสริมสร้าง SQ ของเด็กนักเรียนมากเลยค่ะ ที่นี่จะมีหน่วยช่วยเหลือและสนับสนุนเด็กๆ ให้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ถ้ามีปิดเทอมสองอาทิตย์หรือ ปิดเทอมใหญ่ 7 อาทิตย์ก็จะมี Camp ให้เด็กๆ จากทุกโรงเรียนมารวมตัวกัน โดยส่วนใหญ่ไม่รู้จักกันมาก่อนเลย การสร้างมนุษยสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ดีนะคะ  เป็นการเรียนรู้โดยที่เด็กไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ ย้อนกลับมาที่ลิงทั้งสามของบ้านนี้ ไม่ว่าจะมีประชุมผู้ปกครองกี่ครั้งๆ เปลี่ยนครูกี่คน ก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เด็กๆ เป็นที่รักของเพื่อนๆ ช่วยเหลือเพื่อนอย่างมีจิตอาสา คุณพ่อคุณแม่ก็ปลื้มสิคะ”

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team