สมองพิการ เรื่องที่ไม่มีแม่คนไหนอยากให้เกิดกับลูก

สมองพิการ เกิดจากสาเหตุใด ลักษณะของเด็กสมองพิการเป็นอย่างไร จะสังเกตได้อย่างไร รักษาอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สมองพิการ เรื่องที่ไม่มีแม่คนไหนอยากให้เกิดกับลูก

สมองพิการ (Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียกกันว่า ซีพี (C.P.) เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการทางสมอง  การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ทำให้มีปัญหาในด้านของการเคลื่อนไหว ซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะของปัญหาที่แตกต่างกันออกไป เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง งุ่มง่าม เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ท่าทาง และการทรงตัวที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว ท่าทางในขณะนั่ง ยืน หรือเดินผิดปกติ หรือเด็กสมองพิการบางคนอาจเดินไม่ได้เลยก็มี

นอกจากความผิดปกติดังที่กล่าวมาแล้ว ยังอาจมีความผิดปกติในด้านการทำงานของสมองด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องทางมองเห็น มีความบกพร่องทางการได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา รวมไปถึงอาจมีอาการของโรคลมชัก เป็นต้น

เด็กสมองพิการ

สมองพิการ เกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุของการเกิดสมองพิการ เกิดได้ตั้งแต่ในระยะก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของสมอง คือ ตั้งแต่ช่วงที่ทารกอยู่ในท้องแม่ จนถึงอายุ 7-8 ปี อย่างไรก็ตาม มีประมาณ 1 ใน 3 ที่ไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด

1. ระยะก่อนคลอด

อาจเกิดจากความผิดปกติของสมองทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือเกิดจากการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน หรือเชื้อไวรัสอื่น ๆ หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือในระหว่างตั้งครรภ์นั้นคุณแม่ท้องอาจจะได้รับสารพิษบางอย่าง เป็นต้น

2. ระยะระหว่างคลอด

อาจเกิดจากการคลอดก่อนกำหนด คลอดยาก รกพันคอ ขาดออกซิเจนในช่วงแรกคลอด สมองได้รับการกระทบกระเทือน มีภาวะตกเลือด หรือมีเลือดออกในสมองขณะคลอด เป็นต้น

3. ระยะหลังคลอด

อาจเกิดจากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรืออาจเกิดจากการที่ศีรษะมีการกระทบกระเทือนหลังคลอด เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลักษณะของเด็กสมองพิการ

อาการของเด็กสมองพิการนั้น สามารถสังเกตได้จาก

  • มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กทั่วไป
  • หยิบจับสิ่งของได้ไม่สะดวก แขนขาเกร็ง เดินลำบาก เดินปลายเท้าเขย่ง เด็กบางคนอาจจะเกิดความเจ็บปวดจากการเกร็งมาก เด็กบางคนอาจจะมีกระดูกและข้อผิดรูป จนอาจเกิดภาวะข้อเคลื่อน หรือข้อหลุดตามมาได้
  • อาจมีอาการตัวอ่อนปวกเปียก ทำให้ไม่สามารถทรงตัวในท่านั่ง ยืน หรือเดินได้
  • มีปัญหาในการดูดนมแม่ กลืนยาก เคี้ยวอาหารไม่ได้ เสี่ยงต่อการสำลักบ่อย ๆ
  • มีปัญหาด้านการพูด พูดช้า พูดไม่ชัด
  • สติปัญญาบกพร่อง เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ช้ากว่าเด็กทั่วไป
  • มีปัญหาการมองเห็น และการได้ยิน
  • อาจมีอาการซึมเศร้า หรือมีอาการชัก ร่วมด้วย

ส่วนใหญ่พ่อแม่มักพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กจะมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากว่า 2 ปียังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กสมองพิการ

สมองพิการ รักษาอย่างไร

อาการสมองพิการ แม้จะฟังดูน่ากลัว แต่หากมีการดูแลรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เด็กยังเล็ก ๆ ก็จะช่วยทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากกว่าการที่จะดูแลรักษาเมื่อเด็กมีอายุมากแล้ว โดยแนวทางการดูแลรักษาเด็กที่มีภาวะสมองพิการ ทำได้โดย

  • การรักษาทางกายภาพบำบัด
  • ฝึกกิจกรรมบำบัด เพื่อเพิ่มทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกการดูดกลืน ทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน และการช่วยเหลือตัวเอง เป็นต้น
  • การรักษาด้วยยา
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด
  • ฝึกการพูด
  • การรักษาอื่นๆ เช่น การแก้ไขปัญหาสายตาและการได้ยิน การรักษาภาวะชัก และการรักษาด้านจิตเวช

ที่มา phyathai.com, phyathai.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พ่อแชร์ สาเหตุที่เกือบต้องสูญเสียลูก เพราะ RSV ที่กำลังระบาด

ให้ลูกอาบน้ำต้มใบมะขามหัวหอม ช่วยแก้หวัดได้จริงหรือ

เท้าปุก ลูกคุณเป็นไหม?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

P.Veerasedtakul