รายชื่อศูนย์ให้คำปรึกษาเรื่องการเลิกบุหรี่เพื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ (Project SideKicks)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ เป็นอันตรายต่อครรภ์และเพิ่มความเสี่ยงสูงเรื่องภาวะแทรกซ้อน

การสูบบุหรี่อาจทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมี ดังนี้ 
(อ้างอิงจากเว็บไซต์ Pobpad.com)

  • ภาวะแท้ง เป็นการสูญเสียตัวอ่อนภายในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นภาวะที่ไข่ได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิแล้วกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้
  • ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เป็นภาวะที่รกบางส่วนหรือทั้งหมดลอกตัวออกจากมดลูกของสตรีมีครรภ์ก่อนทารกคลอด ส่งผลให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนและสารอาหาร ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ภาวะรกเกาะต่ำ เป็นภาวะที่รกปิดขวางหรือคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด เมื่อถึงเวลาคลอด ปากมดลูกจะเปิดขยายออก ทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างรกและปากมดลูกฉีกขาด
  • การคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะปากมดลูกเปิดที่เป็นผลมาจากการหดและขยายตัวของมดลูกในช่วงก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการตั้งครรภ์แบบครบกำหนดคลอดจะใช้เวลา 37-40 สัปดาห์
  • ภาวะตายคลอด เป็นภาวะที่ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยภาวะนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ขึ้นไป

เพื่อลดอัตราความเสี่ยงและความปลอดภัยของแม่ตั้งครรภ์ การเลิกบุหรี่จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด 
เรามีรายชื่อศูนย์ให้คำปรึกษาเรื่องการเลิกบุหรี่ที่จะช่วยแนะนำให้คุณแม่ได้

    1. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
      36/2 ซ.ประดิพัทธ์ 10 ถ.ประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท

      กรุงเทพฯ 10400  โทรศัพท์: 0-2278-1828

ความเป็นมาของมูลนิธิ
ในปี พ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกประกาศเป็นปีแห่งการไม่สูบบุหรี่ และนำมาสู่ความตื่นตัวในการแสวงหาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพกันอย่างกว้างขวาง ซึ่ง ศ.นพ.ประเวศ วะสี รองประธานมูลนิธิหมอชาวบ้านในขณะนั้น ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมกับหน่วยงานนี้ในต่างประเทศโดยตลอด จึงรับรู้ข้อมูล เรื่องพิษภัยจากบุหรี่ที่มีการศึกษาในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งแสดงแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน คือ บุหรี่ได้กลายเป็นสาเหตุแห่งการเจ็บป่วย และเสียชีวิตมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกัน ด้วยระยะเวลาอันยาวนานถึง 20- 30 ปี กว่าที่อาการของโรคภัยไข้เจ็บจะปรากฏ ทำให้ความตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ต่อสุขภาพถูกละเลย ไม่ได้รับการใส่ใจจริงจังมาโดยตลอด

ในปี พ.ศ. 2528 ศ.นพ.ประเวศ จึงได้พูดคุยกับกลุ่มคนทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสาธารณสุขว่า อยากให้ช่วยกันรณรงค์ให้คนไทยลดการสูบบุหรี่ลง และสร้างค่านิยมที่ไม่สูบบุหรี่แก่คนรุ่นใหม่ การปรึกษาหารือร่วมกัน และเห็นพ้องกันว่า ต้องมีการรณรงค์ในเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงมีการมอบหมายให้คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสาธารณสุข หรือ คปอส. ศึกษา รวบรวมข้อมูล และประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งเป็นคณะทำงานขึ้น

              2.  1600 สายปลอดบุหรี่ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เป็นการบริการ ให้คำปรึกษาฟรี เพื่อการเลิกบุหรี่ แก่ประชาชนทั่วไป
  • เปิดบริการระหว่าง 07.30 - 20.00 น. ตั้งแต่ วันจันทร์ – วันศุกร์
  • นอกเวลา หรือวันหยุด กรุณาฝากข้อความและเบอร์โทรกลับ
  • ช่องทางการบริการ - โทร 1600 ฟรีทุกเครือข่าย ไม่เรียกเก็บค่าบริการ

website : สามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่ www.thailandquitline.or.th 

  3.  ศูนย์โรคปอดและโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 

โทร 02-066-8888 ในเวลาราชการ 

มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้บริการตรวจ วินิจฉัย และรักษาโรคปอดและโรคระบบทางเดินหายใจทุกชนิด รวมถึงให้บริการฟื้นฟูและให้คำแนะนำ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้คณะแพทย์และทีมบุคลากรทางการแพทย์จะทำงานร่วมกันเพื่อผลในการรักษาที่ดีของผู้ป่วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทั้งนี้คุณแม่ควรเริ่มปรับพฤติกรรมและความเคยชิน เพื่อลด ละเลิกให้ได้ผลด้วย 
พยายามลดสาเหตุ เช่น ความเครียด ความหิว ที่เป็นสาเหตุที่เคยใช้บุหรี่เป็นคำตอบ และเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเองที่ดี ที่สุดค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

บทความโดย

nichnipa