วิธีใช้ลูกยางแดง ดูดน้ํามูก ล้างจมูกลูกครั้งแรก ทำอย่างไร สีน้ํามูกลูก บอกอะไร วิธีล้างจมูกด้วยลูกยางแดง

สีน้ํามูกลูก บอกอาการอะไร วิธีล้างจมูกด้วยลูกยางแดง วิธีใช้ลูกยางแดงช่วยดูดน้ํามูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีใช้ลูกยางแดง ยางแดง วิธีใช้ลูกยางแดง ดูดน้ํามูก ล้างจมูกลูกครั้งแรก ทำอย่างไร แล้วสีน้ํามูกลูก บอกอาการอะไร อาการป่วยลูกน้อยที่น่ากังวล

 

ยางแดง ทำไมถึงมีน้ำมูก

ทำไมลูกถึงมีน้ำมูก นั่นก็เพราะว่า น้ำมูกทำหน้าที่จับกับสิ่งต่าง ๆ ที่ปนมากับลมหายใจ เช่น สารก่อภูมิแพ้ และเชื้อโรค นอกจากนี้ในน้ำมูกยังมีสารต่อต้านเชื้อโรค โดยสีของน้ำมูกสามารถบอกอาการของโรค หรือปัญหาเกี่ยวกับจมูกได้

 

สีน้ํามูกลูกมีสีใส

น้ำมูกที่ใสมักประกอบด้วยน้ำ แอนติบอดีที่ต่อต้านเชื้อโรค เกลือ และโปรตีน ส่วนใหญ่มักจะไหลลงคอ และเรามักจะกลืนลงไปในกระเพาะอาหาร ซึ่งสาเหตุเกิดจากหวัด (เยื่อบุจมูกอักเสบ) หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรืออาจเกิดจากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ไวรัสมากระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก ทำให้มีน้ำมูกใส ๆ ไหลออกมาหรือไหลลงคอได้

สารก่อภูมิแพ้ก็เช่นเดียวกัน สามารถกระตุ้นเยื่อบุจมูกของผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ทำให้มีการหลั่งของฮิสทามีน (Histamine) ออกมา ซึ่งฮิสทามีนสามารถกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในเยื่อบุจมูกให้ผลิตน้ำมูกใส ๆ ออกมาได้ การให้ยาต้านฮิสทามีนและการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือสามารถบรรเทาอาการน้ำมูกที่ไหลออกมาหรือไหลลงคอได้

 

สีน้ํามูกลูกมีสีขาว

น้ำมูกไหลออกมาหนา ๆ เหนียว และขาวขุ่น อาจมาจากการที่น้ำมูกถูกขังอยู่ในโพรงจมูกเป็นระยะเวลานานจากเยื่อบุจมูกที่บวม นอกจากนั้น การที่เรารับประทานผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับนมมากเกินไปอาจทำให้น้ำมูกที่ออกมาหรือไหลลงคอมีสีขาวขุ่นได้เนื่องจากไขมันในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนมสามารถทำให้น้ำมูกสูญเสียความชุ่มชื้น ทำให้น้ำมูกมีลักษณะหนา เหนียว และมีสีขาวขุ่นตามมาได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สีน้ํามูกลูกมีสีเหลือง

สีน้ํามูกลูกมีสีเหลือง อาจหมายถึงการติดเชื้อแบคทีเรียในโพรงจมูกหรือไซนัส โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะส่งเซลล์ที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว ออกมาทำลายเชื้อแบคทีเรีย ทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวและเชื้อแบคทีเรียที่ตายแล้ว รวมทั้งเมือกและหนองต่าง ๆ จะรวมตัวกัน ทำให้น้ำมูกมีสีเหลืองได้

อย่างไรก็ตาม การที่น้ำมูกค้างอยู่ในโพรงจมูกเป็นระยะเวลานานมาก ๆ เช่น ทั้งช่วงกลางคืน อาจทำให้น้ำมูกมีสีเหลืองได้เวลาตื่นมาตอนเช้าโดยที่ไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ในกรณีนี้น้ำมูกมักจะมีสีเหลืองเวลาตื่นนอนตอนเช้า แต่ในช่วงเวลาอื่น ๆ ของวัน น้ำมูกจะมีสีใส

 

สีน้ํามูกลูกมีสีเทา

น้ำมูกที่มีสีเทาอาจบ่งบอกว่าในจมูกของคุณมีริดสีดวงจมูก เกิดจากเยื่อบุจมูกหรือไซนัสที่บวมออกมาเป็นก้อนในโพรงจมูก หรือไซนัส ซึ่งไม่ใช่เนื้องอกร้าย แต่มักเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุจมูก ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง โรคหืด หรือภาวะแพ้ยาแอสไพริน โรคไซนัสอักเสบจากเชื้อราสามารถทำให้น้ำมูกมีสีเทาได้ ซึ่งมักเกิดจากสปอร์ของเชื้อรามาเกาะที่ผิวเยื่อบุจมูกและเจริญเติบโตมากขึ้น มักมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บของเยื่อบุจมูกเรื้อรัง หรือภูมิต้านทานของร่างกายลดน้อยลง

 

สีน้ํามูกลูกมีสีเขียว

น้ำมูกสีเขียว คือ การแสดงถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกำลังทำงานต่อต้านเชื้อแบคทีเรียเหมือนกับการที่น้ำมูกมีสีเหลือง สีเขียวเกิดจากเอนไซม์ ซึ่งสร้างโดยเม็ดเลือดขาว น้ำมูกที่มีสีเขียวมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียภายในโพรงจมูกหรือไซนัส (ไซนัสอักเสบ)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สีน้ํามูกลูกมีสีแดง

เกิดจากมีเส้นเลือดในโพรงจมูกแตกแล้วปนมากับน้ำมูก ซึ่งเส้นเลือดที่แตกอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การระคายเคืองหรือบาดเจ็บบริเวณจมูก การอักเสบในโพรงจมูก เนื้องอก โรคของหลอดเลือดชนิดต่าง ๆ หรือแม้แต่การที่เยื่อบุจมูกแห้ง ทำให้เส้นเลือดในเยื่อบุโพรงจมูกอยู่ชิดกับผิวมากขึ้น มีการแตกของเส้นเลือดได้ง่าย ในกรณีที่น้ำมูกมีสีแดงโดยเฉพาะออกจากจมูกเพียงข้างใดข้างหนึ่งควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด

สาเหตุของจมูกแห้ง ได้แก่ ดื่มน้ำน้อย อยู่ในห้องแอร์ ซึ่งมักจะทำให้เราต้องสัมผัสกับอากาศที่เย็นและแห้งเป็นประจำ หรือเปิดพัดลมเป่าจ่อที่หน้าหรือจมูกเป็นระยะเวลานาน หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอากาศเย็นหรือหนาวจัด อาจต้องพ่นน้ำเกลือเข้าในโพรงจมูกบ่อย ๆ หรือใช้เครื่องปรับอากาศให้อุ่นและชื้นขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ ยังมีน้ำมูกสีดำ ซึ่งเกิดจากการสูบบุหรี่หรือสูดยานัตถุ์ ใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย หรือผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะทางอากาศมาก หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อราของโพรงจมูกหรือไซนัส

 

วิธีใช้ลูกยางแดงดูดน้ํามูก

 

วิธีใช้ลูกยางแดงช่วยดูดน้ํามูก

เมื่อลูกป่วย ล้างจมูกให้ลูกอย่างไรดี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะนำการล้างจมูกในเด็กเล็ก โดยวิธีล้างจมูกในกลุ่มเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้ โดยใช้ลูกยางแดงช่วยดูดน้ํามูก

วิธีล้างจมูกด้วยลูกยางแดง

  1. ล้างมือให้สะอาด
  2. เทน้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% ใส่ถ้วยหรือแก้วน้ำที่เตรียมไว้ ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็มกระบอก
  3. ให้เด็กนอนท่าศีรษะสูงพอควร เพื่อป้องกันการสำลัก (ใช้ผ้าห่อตัวเด็กในกรณีที่เด็กดิ้นมาก)
  4. จับหน้าเด็กให้นิ่งสอดปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนของรูจมูก ค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือเข้าจมูกครั้งละประมาณ 0.5 – 1 ซีซี
  5. ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกออกโดย
  • บีบลูกยางจนสุดเพื่อไล่ลมออก ค่อย ๆ สอดเข้าไปในรูจมูกตื้น ๆ ประมาณ 1 – 1.5 ซม.
  • ค่อย ๆ ปล่อยมือที่บีบออกช้า ๆ เพื่อดูดน้ำมูกเข้ามาในลูกยาง
  • ดึงลูกยางแดงออกจากรูจมูกแล้ว บีบน้ำมูกในลูกยางทิ้งในน้ำ โดยบีบเข้า – บีบออกในน้ำสะอาดหลายครั้ง แล้วสะบัดให้แห้ง

ทำขั้นตอนที่ 5 ซ้ำหลาย ๆ ครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก

 

การล้างจมูกในทารก สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง?

นอกจากวิธีล้างจมูก ที่ทางสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะนำแล้ว ยังมีวิธีอื่นอีก โดยรศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ อธิบายว่า

การล้างจมูก กำจัดน้ำมูกในทารก มีด้วยกัน หลากหลายวิธี ตามปริมาณน้ำมูก และอายุของทารก ได้แก่

  • การหยอดน้ำเกลือ ทำได้โดยหยอดน้ำเกลือ (Normal saline) เข้าไปในรูจมูก ข้างละ 2-3 หยด เพื่อให้น้ำมูกที่เหนียวข้นและแห้งติดจมูกอ่อนตัวลง ไม่แห้งกรัง เหมาะกับเด็กเล็กที่มีปริมาณน้ำมูกไม่มาก โดยหลังจากหยอดน้ำเกลือแล้ว หากมีปริมาณน้ำมูกน้อยควรเช็ดจมูก เอาน้ำมูกออกด้วยไม้พันสำลี แต่หากมีปริมาณน้ำมูกมาก ควรดูดน้ำมูกออก ด้วยลูกยางแดงหรือเครื่องดูดต่อกับอุปกรณ์ดูดน้ำมูก
  • การพ่นจมูก เป็นการกำจัดน้ำมูก โดยใช้อุปกรณ์พ่นน้ำเกลือแบบสเปรย์ เหมาะกับเด็กเล็กที่มีปริมาณน้ำมูกน้อย ไม่เหนียวข้นมาก มีข้อดีคือสามารถพกพาไปในที่ต่างได้สะดวก
  • การล้างจมูกด้วยกระบอกฉีดยา เป็นการล้างจมูกที่สามารถทำได้โดยใช้น้ำเกลือปริมาณมาก จึงเหมาะกับการกำจัดน้ำมูกปริมาณมากที่ติดอยู่ในโพรงจมูก

 

เด็กทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ที่เคยล้างจมูกมาก่อน สามารถให้ความร่วมมือได้ดี มีขั้นตอนดังนี้

  • ให้เด็กอยู่ในท่านั่ง ก้มหน้าเล็กน้อย
  • สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก
  • ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูกครั้งละประมาณ 1-5 ซี ซี หรือปริมาณมากที่สุดเท่าที่เด็กจะทนได้ จนน้ำเกลือและน้ำมูกไหลออกมาทางจมูกอีกข้างหนึ่ง
  • ล้างซ้ำได้หลาย ๆ ครั้ง จนไม่มีน้ำมูกออกมา

 

หากทารกหรือลูกเล็กมีอาการหวัด คัดจมูก พ่อแม่สามารถใช้ลูกยางแดง ดูดน้ํามูก วิธีใช้ลูกยางแดงก็ไม่ยากนะคะ แต่พ่อแม่ก็ต้องสังเกต สีน้ํามูกลูกด้วย หากพบว่ามีสีที่ผิดปกติ ร่วมกับอาการอื่น ๆ ที่ต้องกังวล อย่านิ่งนอนใจควรรีบพาลูกไปตรวจอย่างละเอียดที่โรงพยาบาล

 

ที่มา : https://dlibrary.childrenhospital.go.th โรงพยาบาลธนบุรีและ Health Today

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ค่าฝุ่นละออง กทม. PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ควรสวมใส่หน้ากากป้องกัน คนท้อง ทารก เลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง

ลูกไอตอนกลางคืน ไอถี่ ไอมาก ระวังสัญญาณ 3 โรคร้าย

เสมหะลงปอด ทารก ปอดอักเสบ ปอดบวม วิธีดูดเสมหะ ช่วยให้ลูกหายใจโล่ง

โรคหน้าหนาว ต้องระวังลูกป่วย ทารก เด็กเล็ก เสี่ยงโรคร้าย แถมมีโรคแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต!

 

บทความโดย

Tulya