วิธีโอ๋เจ้าตัวน้อยเมื่อร้องไห้

พ่อแม่หลายคนอาจจะปวดหัวกุมขมับทุกครั้งที่เจอลูกร้องไห้ และเป็นเรื่องที่พ่อแม่ทั่วโลกต้องหาวิธีรับมือ ซึ่งพ่อแม่ต้องเข้าใจว่าการร้องไห้ของลูกนั้นเป็นพฤติกรรมที่มีประโยชน์สำหรับเด็กทารกทุกคนที่ต้องการสื่อสารให้พ่อแม่ได้รู้ถึงความต้องการต่าง ๆ ได้ แต่การปล่อยให้ลูกน้อยร้องไห้นานเกินไปไม่เป็นผลดีแน่ ๆ มาดูวิธีโอ๋เมื่อลูกน้อยร้องไห้กันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การร้องไห้ ถือเป็นพัฒนาการของทารกตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง และเป็นสิ่งแรก ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเด็กแรกเกิดนั้นมีสุขภาพแข็งแรงและตื่นตัวดี หลังจากนั้นการร้องไห้ของลูกน้อยคือความพยายามสื่อสารในขณะที่เขายังพูดไม่ได้ให้พ่อแม่รับรู้ เป็นวิธีที่ลูกน้อยต้องการจะบอกว่าเจ็บ ปวด หิว จุกเสียด เบื่อ ไม่สบายตัว ผ้าอ้อมเปียกแฉะ หรือถูกกระตุ้นมากเกินไป ฯลฯ ซึ่งการร้องไห้ของเด็กน้อยแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน เด็กบางคนอาจจะร้องไห้บ่อยกว่าเด็กคนอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 3 ถึง 12 สัปดาห์ และสังเกตว่าเด็กทารกมักจะร้องไห้ในช่วงเวลาเริ่มบ่ายหรือเย็น ที่อาจเป็นแค่การปลดปล่อยอารมณ์เท่านั้น

Read : การร้องไห้ครั้งแรกของทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร

วิธีโอ๋เมื่อลูกร้องไห้

  • เมื่อลูกร้องไห้สิ่งแรกที่แม่ควรทำคือการเข้าไปตอบสนองลูกอย่างรวดเร็ว และสาเหตุของเสียงร้องไห้จากลูก เช่น ลูกรู้สึกไม่สบายตัว อาจเกิดจากการเฉอะแฉะของผ้าอ้อม การป้อนอาหาร จับเด็กเรอ หรือเปลี่ยนท่าทางให้เด็ก ฯลฯ เมื่อลูกน้อยได้รับการตอบสนองจากความต้องการพื้นฐานก็จะทำให้ลูกหยุดร้องไห้ และสงบลงได้
  • พ่อแม่หลายคนคิดว่าการตอบสนองทันทีเมื่อลูกร้องไห้จะทำให้เด็กเคยตัว แต่ความจริงแล้วการรีบช่วยเหลือลูกทันทีจะช่วยทำให้ลูกน้อยหยุดร้องได้เร็วขึ้น เพราะเมื่อเจ้าตัวน้อยร้องไห้นานแค่ไหน ก็จะทำให้ลูกหงุดหงิดมากยิ่งขึ้น ส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของลูกน้อย
  • เมื่อลูกร้องไห้ การโอบกอด อุ้มลูก การได้รับสัมผัสจากพ่อแม่จะทำให้ลูกคลายกังวลได้ดีขึ้น
  • การจัดสภาพแวดล้อมที่ช่วยผ่อนคลายทำให้ลูกรู้สึกสบาย เช่น นั่งอุ้มทารกบนเก้าอี้โยก แล้วลูบศีรษะลูกอย่างแผ่วเบา คอยตบเบา ๆ ที่แผ่นหลังและหน้าอก เป็นต้น

พ่อแม่ต้องรับมืออย่างไรเมื่อลูกร้องไห้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่เจ้าตัวน้อยร้องไห้บ่อย ๆ และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดร้อง พาลทำให้พ่อแม่รู้สึกหงุดหงิดกับอารมณ์ของตัวเองได้ด้วยเช่นกัน บางครั้งถึงขั้นเผลอส่งเสียงดังใส่ลูก ซึ่งก็ทำให้ลูกน้อยตกใจกลัวและอาจจะร้องไห้หนักขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่า

ดังนั้นหากคุณแม่รู้สึกตัวเองว่ากำลังควบคุมอารมณ์โมโหไม่อยู่แล้ว ลองแตะมือหาผู้ช่วยให้มาช่วยดูลูกแทน หรือวางลูกลงในเปลนอน แล้วเดินออกมาเพื่อสงบอารมณ์ซักพัก สิ่งที่ควรเข้าใจก็คือไม่มีพ่อแม่คนไหนสามารถปลอบลูกน้อยให้สงบลงได้ทุกครั้งที่ร้องไห้ พ่อแม่จึงควรใช้ความอดทนและไม่เอาเรื่องนี้มาเป็นอารมณ์ในการเลี้ยงดูลูก คิดไว้เสมอว่าทุกครั้งที่ลูกร้องไห้แสดงว่าลูกต้องการที่จะบอกอะไรกับพวกคุณ และคุณอาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ถอดรหัสเสียงร้องไห้ของลูกน้อยว่าเขากำลังพยายามร้องขออะไรจากคุณ เพราะเด็กไม่ได้แสดงอาการร้องไห้แบบนี้ไปตลอด ท้ายที่สุดแล้วเมื่อลูกโตขึ้นเขาก็จะเลิกร้องไห้ได้เอง.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขอบคุณที่มา : www.thaistemlife.co.th

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
7 สัญญาณที่ทำให้ทารกร้องไห้
14 วิธีปลอบลูก ช่วยทารกเลิกร้องไห้ให้ได้ผล

บทความโดย

Napatsakorn .R