หมดปัญหากังวลยามลูกน้อยไม่สบาย

แผลร้อนในปาก หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า "อาการร้อนใน" ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับลูกน้อยตั้งแต่วัยเด็กเล็กไปจนถึงวัยก่อนเข้าเรียน ถึงแม้จะเป็นอาการหรือโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่สำหรับลูกน้อยแล้ว อาการเจ็บป่วยเพียงเล็กๆ น้อยๆ ก็ทำให้หัวใจคนเป็นแม่กังวลมากอยู่เหมือนกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกน้อยมีอาการร้อนใน ลักษณะของแผลในปากเด็ก จะมีลักษณะเป็นแผลขาวๆ สามารถเกิดได้ที่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้น หรือแม้กระทั่งเหงือก หากมีแผลเพียง 1 แผล และไม่มีอาการเป็นไข้ร่วมด้วย ก็จะดีขึ้นตามลำดับ แต่หากลูกน้อยมีหลายแผลและมีอาการเป็นไข้ร่วมด้วยก็ควรพาไปพบแพทย์

วิธีสังเกตอาการร้อนใน ในเด็ก

  • ลูกน้อยดื่มน้ำมากขึ้นกว่าปกติ
  • ไม่เคี้ยวอาหาร เนื่องจากเกิดอาการเจ็บปาก
  • ลมหายใจมีไอร้อน
  • เจ็บคอ
  • ในเด็กบางรายเปลี่ยนวิธีการหายใจจากทางจมูกเป็นการหายใจทางปากแทน

สาเหตุการเกิดร้อนใน (แผลในปาก)

  • ติดเชื้อไวรัส กลุ่ม เอ็นเทอโรไวรัส
  • ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง กำลังไม่สบาย
  • ทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมากเกินไป
  • ลูกน้อยกัดปากตนเอง
  • ขาดสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ โดยเฉพาะ ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12

วิธีการป้องกันการติดเชื้อสำหรับเด็ก
วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการรักษาสุขอนามัย เช่น ล้างมือให้สะอาด เช็ดหรือทำความสะอาดช่องปาก สำหรับลูกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ ไม่ควรดื่มน้ำเพื่อล้างคราบนมออก เนื่องจากน้ำนมแม่มีสารต้านการเติบโตของเชื้อรา ส่วนเด็กที่ดื่มนมผสมควรให้ดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อล้างคราบนมออก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยดูแลรักษาความสะอาดในช่องปาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไข้ขนาดไหนถึงเรียกว่ามีไข้สูง? (อุณหภูมิร่างกายของเด็กที่ควรรู้)
เมื่ออุณหภูมิร่างกายลูกน้อยสูงถึง 39 องศาฯ จะเรียกว่า "ไข้สูง" ซึ่งคุณแม่ควรใช้วิธีลดไข้ลูกน้อยให้เร็วที่สุดคือ...

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีลดไข้  สำหรับลูกน้อยสามารถทำได้หลายวิธี วิธีแรกที่ง่ายและสามารถทำได้เร็วที่สุดคือ

  • การเช็ดตัว ควรเช็ดด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิระหว่าง 27-37 องศาเซลเซียส และไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส จะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวช่วยระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น โดยเช็ดบริเวณหน้า และพักไว้ที่ซอกคอ หลังหู ,หน้าผาก, แขนทั้ง 2 ข้าง , รักแร้ , ลำตัว หน้าอก ทำสลับกันโดยให้ชุบน้ำบิดหมาดๆ ทุกครั้งที่เปลี่ยนบริเวณ นอกจากนี้คุณแม่ควรเช็ดตัวแต่ละรอบนานประมาณ 15-20 นาที จนรู้สึกว่าตัวเด็กเย็นลง
  • ดื่มน้ำมากๆ จะช่วยชดเชยน้ำส่วนที่ร่างกายสูญเสียเพิ่มขึ้นในระหว่างที่มีไข้
  • ใส่เสื้อผ้าโปร่งสบาย เพื่อระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น

ให้ยาลดไข้ หรือยาพาราเซตามอล สำหรับเด็ก คุณแม่ควรคำนวณปริมาณการให้ยาของลูกดังนี้ โดยทั่วไปควรใช้ยาปริมาณ ตั้งแต่ 10 มิลลิกรัม - 1,000 มิลลิกรัม ในแต่ละครัง หรือใช้ยาน้ำสมุนไพรที่ช่วยลดร้อนในสำหรับเด็กได้สนับสนุนโดย ยาน้ำแก้ร้อนในเขากุย ตราอ้วยอันโอสถ
Website:  www.kaokuiouayun.com
Facebook: https://www.facebook.com/ouayunkids

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team