วิธีเช็ดตัวที่ถูกต้อง เมื่อลูกเป็นไข้ มีขั้นตอนอย่างไร

เมื่อเด็กมีไข้เช็ดตัวอย่างไร ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเช็ดตัวที่ถูกต้อง เมื่อลูกเป็นไข้

การเช็ดตัวลดไข้เป็นหัตถการที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะในเด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 ขวบปี แรก ซึ่งมีโอกาสชักจากภาวะไข้สูงได้

ปกติอุณหภูมิของร่างกายคนเราจะอยู่ที่ 36.0 – 37.5 องศาเซลเซียส ถ้าวัดไข้แล้วการที่จะบอกว่ามีไข้ต่ำๆ หรือมีไข้สูงเราดูจากปรอทวัดไข้ ถ้าอุณหภูมิที่วัดได้อยู่ระหว่าง 37.6 – 38.4 องศาเซลเซียส จัดว่ามีไข้ต่ำ ถ้าอุณหภูมิที่วัดได้ตั้งแต่ 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป จัดว่ามีไข้สูง

ซึ่งการเช็ดตัวจะช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายลง โดยใช้น้ำเป็นตัวนำความร้อนออกจากร่างกาย ทำให้เด็กเกิดความสุขสบาย และยังเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น อาการชักจากไข้สูง แต่จะปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้การเช็ดตัวลดไข้นั้นมีประสิทธิภาพ

อุปกรณ์

  1. กะละมังเช็ดตัว
  2. ผ้าขนหนูผืนเล็ก 2-4 ผืน
  3. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ 1 ผืน

ขั้นตอนการปฏิบัติ มีดังนี้

  1. เตรียมของใช้และน้ำให้พร้อม
  2. ใช้น้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา ไม่ควรใช้น้ำแข็งเช็ดตัว เพราะจะทำให้หลอดเลือดหดตัว และระบายความร้อนออกได้ยาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการหนาวสั่นและเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อจากการหนาวสั่น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการไข้กลับได้
  3. ปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ เพื่อไม่ให้เด็กหนาวสั่นขณะเช็ดตัว
  4. ถอดเสื้อผ้าเด็กออกให้หมด
  5. ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำให้ชุ่ม เช็ดบริเวณหน้า ลำตัว แขน ขา พักผ้าไว้บริเวณศรีษะ ซอกคอ ซอกรักแร้ ขาหนีบ เพื่อระบายความร้อน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นที่รวมของเส้นเลือดจะระบายความร้อนได้ดี
  6. เช็ดจากปลายมือ ปลายเท้าสู่ลำตัวโดยเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อระบายความร้อน
  7. ขณะเช็ดตัวให้ออกแรงเหมือนถูตัว เพื่อจะช่วยให้เลือดลมเดินดีขึ้น ทำให้เส้นเลือด และ รูขุมขนขยายตัว
  8. ถ้ามีอาการหนาวสั่นให้หยุดเช็ดตัวทันที เพราะถ้าเช็ดแล้วหนาวสั่นจะยิ่งทำให้ไข้สูงขึ้นได้
  9. เปลี่ยนผ้าชุบน้ำบ่อยๆ ทุก 2 – 3 นาที
  10. ใช้เวลาเช็ดตัวประมาณ 10 – 15 นาที
  11. หลังเช็ดตัว ควรซับตัวเด็กให้แห้ง แล้วสวมเสื้อผ้าเบาสบาย ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หนา หรือห่อตัวเพราะจะทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้น
  12. วัดไข้ซ้ำในอีก 15 – 30 นาทีต่อมา
  13. ถ้าไข้ลดลง แสดงว่าการเช็ดตัวลดไข้ได้ผล
  14. ถ้าไข้ไม่ลด ให้เช็ดตัวลดไข้ใหม่อีกครั้ง
  15. ถ้าไข้ยังไม่ลดลงอีก ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์

ขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาจารย์วรรณไพร แย้มมา ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์

ns.mahidol.ac.th

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เล่นอย่างไร ให้ลูกหัวไว ในช่วงขวบปีแรก

ภาวะสมองกระเทือนของลูกน้อยอันตรายกว่าที่คิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

P.Veerasedtakul