วิธีการยื่นภาษีเงินได้ ของบุคคลธรรมดา ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมสรรพากร ต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้เรามี วิธีการยื่นภาษีเงินได้ บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร มาแนะนำ และที่ว่ารัฐบาลใจดีขยายเวลาการยื่นภาษี ปี 2563 ออกไปนั้น ไปดูว่าวิธีการยื่นภาษีเงินได้ พร้อมทั้งรายละเอียดในการขยายเวลาในการยื่นภาษี วิธีการจะต้องทำอย่างไร และสิ้นสุดการยื่นในวันไหน ตามไปดูได้เลย
การยื่นภาษี เป็นหน้าที่หลักของประชาชนคนไทยที่มีเงินได้ การยื่นภาษีประจำปีถือเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญ ของผู้มีเงินได้ ทุกคนต้องรู้ว่า เมื่อเริ่มต้นปีถัดไปในเดือนมกราคม – มีนาคม จะเป็นช่วงเวลาที่ผู้มีเงินได้ จะต้องยื่นภาษีเงินได้ ของบุคคลธรรมดา ซึ่งสามารถยื่นด้วยตนเอง ที่สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ใกล้เคียงที่พักอาศัย หรือจะยื่นผ่านระบบออนไลน์ บนเว็บไซต์ rdserver.rd.go.th ของกรมสรรพากร
แต่เนื่องจากในช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา เกิดการกลับมาระบาดอีกระลอกของเชื้อไวรัส โควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบทุกฝ่าย รัฐบาลได้มองเห็นถึงปัญหาดังกล่าว และในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 ม.ค.2564 มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2563 ออกไปอีก 3 เดือน จากที่กำหนดเดิม คือจะสิ้นสุดวันสุดท้ายในวันที่ 31 มี.ค. 2564 โดยเลื่อนออกไปอีก 3 เดือนไปเป็น 30 มิ.ย. 2564
และขณะเดียวกัน เพื่อเป็นการช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้มีเงินได้ กรมสรรพากร ยังได้ขยายระยะเวลาวันสิ้นสุดชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชั่น ออกไปอีก 8 วัน จากเดิมที่จะสิ้นสุด 31 มีนาคม โดยเลื่อนไปเป็นวันที่ 8 เมษายน โดยการช่วยเหลือนี้ขยายออกไปถึง 3 ปี จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2567
แม้การยื่นภาษีสำหรับบางคน อาจจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่สำหรับ ผู้ยื่นภาษีมือใหม่ จะต้องมี งง ในกระบวนการยื่นแน่นอน ดังนั้นวันนี้เราจะพาไป ดูวิธีการยื่นภาษีเงินได้ ของบุคคลธรรมดากัน
ตามกฎหมายแล้ว เงินได้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า เงินได้พึงประเมิน หมายถึง รายได้ของบุคคลนั้น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีก่อนหน้า โดยรายรับทั้งหมดได้ที่จะกล่าวนี้ได้รวมไปถึง
- เงิน
- ทรัพย์สินที่สามารถแปลงเป็นเงินได้
- ประโยชน์อื่นๆ ที่อาจคำนวณได้เป็นเงิน (ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องได้รับจริง)
- เงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงิน หรือผู้อื่นออกแทนให้ และ
- เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
ภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา ถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
เงินได้ประเภทที่ 1 รายรับที่ที่เกิดจากการจ้างแรงงาน เช่น
-
- เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้จากการจ้างงาน เช่น มูลค่าของการรับประทานอาหา
เงินได้ประเภทที่ 2 คือ รายรับที่มาจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น
-
- ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
- เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับ เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินประจำปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายได้ อันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ
เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน และการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม ฯลฯ
เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญที่นอกจากเครื่องมือ
เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว
ใครบ้าง ที่จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เรื่องนี้ยังมีหลาย ๆ คนเข้าใจผิด โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนมือใหม่ ที่อาจจะยังมีเงินเดือนไม่มาก หรือ มีเงินได้ ยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ก็มักจะคิดว่า ตนเองไม่ต้องยื่นภาษี ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะการยื่นภาษี คือ หน้าที่ของบุคคลซึ่งมีเงินได้เกิน 120,000 บาท/ปี จะต้องยื่นภาษีทุกคน
โดยผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม หรือไม่ก็ตาม ดังนี้
ต้องมีรายได้เท่าไร ถึงจะต้องเสียภาษี
- บุคคลธรรมดา และผู้ถึงแก่ความตายมี “เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำ” โดยแบ่งตาม ประเภทเงินได้ และ สถานะ ดังนี้
- เงินเดือนเพียงอย่างเดียว : โสด 120,000 บาท / สมรส 220,000 บาท
- เงินได้ประเภทอื่น : โสด 60,000 บาท / สมรส 120,000 บาท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
เมื่อมีรายรับ บุคคลผู้นั้นจะถือว่าเป็นผู้เสียภาษี โดยหลัก ๆ แล้วจะต้องดำเนินการ 2 ขั้นตอน ดังนี้
- ต้องขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น
- ผู้มีเงินได้ ที่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน สามารถใช้ เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษี โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- ผู้มีเงินได้ ที่ไม่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน เช่น คนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- ยื่นแบบแสดงรายการปกติปีละ 1 ครั้ง โดยปกติ จะยื่นในช่วงเดือน มกราคม ไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีนั้น แต่ก็มีมีเงินได้บางประเภท ที่เป็นข้อยกเว้น และจะต้องนำไปยื่นในช่วงกลางปีด้วยประมาณ เดือนกันยายนของปีนั้น ๆ สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนแรก เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ ฯลฯ
ผู้เสียภาษีสามารถดำเนินการได้ 3 ช่องทางคือ
- ยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
- ยื่นผ่านไปรษณีย์ โดยส่งไปที่กองบริการการคลัง และรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 และ
- ยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะัเป็นยทางเว็บไซต์ เว็บไซต์ของ rdserver.rd.go.th ของกรมสรรพากร หรือยื่นผ่าน Rd smart tax application ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์
- เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร rdserver.rd.go.th
- เลือกรายการบริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
- เลือกรายการบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 แล้วแต่กรณี
- สำหรับการเข้าสู่การใช้บริการครั้งแรก ให้เลือกรายการลงทะเบียนก่อน ซึ่งจะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เช่น เลขบัตรประจำตัวผู้เสีนภาษีอากร วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประชาชน ที่อยู่ อีเมลที่ติดต่อได้ สร้างรหัสผ่าน 8 หลังด้วยตัวเอง เป็นต้น
- เมื่อได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดง หมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่านบนหน้าจอ
- เข้าระบบโดยบันทึก หมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่าน
- ป้อนรายการข้อมูล ได้แก่ รายการเงินได้ ค่าลดหย่อน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ แล้ว คลิก “ตกลง” เพื่อยืนยันการยื่นแบบฯ
- เมื่อได้ตรวจสอบรายการข้อมูลที่บันทึกและสั่งให้ระบบคำนวณภาษีแล้ว ตรวจสอบ และยืนยันการยื่นแบบ
-
- กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ
-
-
- โปรแกรมจะแจ้งผลการรับแบบและหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ
- กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินให้ตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้
-
-
- กรณีมีภาษีต้องชำระ
-
-
- หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่าน e-payment ระบุนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของธนาคารนั้น
- หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ระบบจะแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัส ควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องเสีย เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารต่อไป เพื่อความสะดวกและถูกต้อง โปรดสั่งพิมพ์หรือจดข้อมูลดังกล่าวไว้ด้วย
-
แต่หากเลือกวิธีชำระภาษี ณ เคาน์เตอร์ ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post ) ระบบจะแจ้งรายการข้อมูลเช่นเดียวกับวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง
*ยกเว้น ไปรษณีย์ สาขาโสกเชือก จ.ร้อยเอ็ด และ ไปรษณีย์ สาขาชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก
ที่มา : rdserver.rd.go.th , bangkokbiznews.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
รู้ยัง!!! 5 สิทธิพิเศษ ลดหย่อนภาษีคู่สมรส สูงสุดถึง 120,000 บาท!
ช้อปดีมีคืน มาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย ลดหย่อนภาษี ได้สูงสุดถึง 3 หมื่นบาท
ลดหย่อนภาษีลูกคนที่ 2 มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง คำนวณอย่างไร พร้อมตัวอย่าง