วัยเตาะแตะอ่วม! พบปัญหา ขาดวิตามินแร่ธาตุ หลายชนิด ชี้ทางแก้คุณแม่ช่วยได้

สองปัญหาน่าเป็นห่วงในเด็กวัยเตาะแตะอายุ 1-3 ปี คือการ ขาดวิตามินแร่ธาตุ และการเจริญเติบโตไม่สมดุล ส่งผลให้มีโอกาสเติบโตแคระแกร็น อ้วนเกิน - ผอมเกิน และไอคิวต่ำ กระทรวงสาธารณสุขจึงรณรงค์ให้เด็กเล็กกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบ 5 หมู่ โดยจัดอาหารให้มีความหลากหลายและดื่มนมเสริมวันละ 2-3 แก้ว ช่วยสร้างสมดุลโภชนาการที่ดีให้ลูกเติบโตเต็มวัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประเด็นนี้ถูกหยิบมาพูดคุยในที่ประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 11 จัดขึ้นเมื่อช่วงปลายปี 2560 ในหัวข้อการประชุม “นมสำหรับเด็กเล็กกับภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโต” มีการนำเสนอปัญหาที่พบในเด็กวัยเตาะแตะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยวิตามินแร่ธาตุที่พบว่าเด็กวัยเตาะแตะได้รับไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ได้แก่ วิตามิน A วิตามิน D วิตามิน C โฟเลต แคลเซียม เหล็ก ไอโอดีน แม้แต่ละวันร่างกายเด็กมีความต้องการสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณน้อย  แต่หาก ขาดวิตามินแร่ธาตุ อย่างต่อเนื่อง ย่อมส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมองในวัยที่มีการเจริญเติบโตมากที่สุดอีกช่วงหนึ่งของชีวิต โดยสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารของครอบครัว

ดร.อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์ นักวิชาการหน่วยมนุษยโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รวบรวมงานวิจัยที่เคยมีในต่างประเทศมาสรุป เรื่อง “ความไม่มั่นคงทางอาหารและโรคอ้วนในเด็ก”  ตีพิมพ์ในวารสารสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 48 ฉบับที่ 1 (ม.ค-เม.ย.61) กล่าวโดยสรุปว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสังคมในปัจจุบันที่ยิ่งทุกวันนี้หลายครอบครัว พ่อแม่ทำงานนอกบ้านทั้งคู่ ไม่ค่อยมีเวลาเตรียมอาหารให้ลูกเอง อาหารที่กินอาจไม่ปลอดภัย หรือเป็นอาหารไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ จึงอาจนำไปสู่การบริโภคอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการด้อยลง ส่งผลต่อคุณภาพอาหารของเด็ก เช่น เด็กอาจได้รับมื้ออาหารต่อวันลดลง กินผัก-ผลไม้สดน้อยมาก หรือในอีกทางหนึ่ง เด็กอาจได้รับอาหารทอด-อาหารรสหวานมากขึ้น จึงมีโอกาสสูงมากที่จะทำให้เด็กได้รับพลังงานมากเกินและอาจทำให้เกิดการ ขาดวิตามินแร่ธาตุ ในช่วงวัยนี้

 

นักวิชาการด้านโภชนาการจึงแนะแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหาโภชนาการวัยเตาะแตะไว้ ดังนี้

 

หนึ่ง. แม่ต้องมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับวิธีจัดอาหารมื้อหลัก และอาหารเสริม พร้อมด้วยการสร้างนิสัยการดื่มนมให้ลูกตั้งแต่เล็ก ตัวอย่างความรู้โภชนาการที่ต้องรู้ให้ชัดเจน เช่น ผัก-ผลไม้สด เป็นแหล่งรวมวิตามินแร่ธาตุจำเป็นต่อการเจริญเติบโต อาทิ วิตามินเอ มีในตับ ฟักทอง ผักใบเขียวและผักที่มีสีเหลือง-ส้ม ช่วยบำรุงเนื้อเยื่อร่างกายและประสาทตา ธาตุเหล็ก ได้จากเนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดงและผักใบเขียวเช่นกัน เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง นำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย วิตามินบี 12 ช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมอง มีมากใน ไข่ และเนื้อสัตว์ เช่น ปลา ไก่ วิตามินบี 6 อยู่ในเนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว มันฝรั่ง กล้วย มีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของสมองและเนื้อเยื่อ โฟเลต ได้จาก ผักใบเขียวต่างๆ เห็ด ถั่วเมล็ดแห้ง และตับ ซึ่งมีส่วนช่วยการสร้าง ส่วนประกอบของเซลล์และเม็ดเลือดแดง ป้องกันอาการซีด ยังมีสารอาหาร ดีเอชเอ และ โอเมก้า 3 ที่ได้จากปลาทะเล สารอาหารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยพัฒนาสมองและระบบประสาทสัมผัสซึ่งกำลังเติบโตมากในช่วงวัยนี้ ดังนั้น แต่ละมื้อแต่ละวันจึงต้องให้ลูกกินอาหารที่มาจากแหล่งต่างๆ ที่หลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สอง. การให้ลูกกินนมเป็นอาหารเสริม เพราะโดยธรรมชาติแล้ว นมเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เด็กวัยเตาะแตะต้องการ วัยนี้จึงควรกินนมรสจืดเป็นประจำทุกวันๆ ละ 2-3 แก้ว สำหรับเด็กที่ยังกินนมแม่อยู่ ควรให้นมแม่ต่อไป ส่วนเด็กที่ไม่ได้กินอาหารที่ครบถ้วนสมดุลทุกมื้อทุกวัน นมเสริมสารอาหารสำหรับเด็กเล็ก ที่มีการเสริมวิตามินและเกลือแร่โดยเฉพาะกลุ่มที่มักจะมีปัญหาขาดแคลนในวัยนี้ เช่น วิตามินดี และธาตุเหล็ก ก็เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับเด็กวัยเตาะแตะที่มีปัญหาเติบโตช้า และช่วยลดโอกาสในการขาดสารอาหารที่จำเป็นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team