สำเร็จแล้ว! วัคซีนไข้เลือดออก จ่อขึ้นทะเบียนอย.

ประเทศไทยต่อคิว จ่อขึ้นทะเบียนวัคซีนไข้เลือดออก กับอย. ถึงแม้ประสิทธิภาพยังไม่เต็มที่ แต่ดีกว่าไม่มีเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อช่วงปลายปี 2558 ที่ผ่านมา มีการเปิดเผยข้อมูลเฝ้าระวังโรคจาก สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เรื่องจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก โดยพบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 2 พฤศจิกายน 2558 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศ จำนวน 102,762 ราย และมีผู้เสียชีวิตทั่วประเทศ จำนวน 102 ราย ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก สิ่งที่ทุกคนทำได้ คือ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ปิดฝาภาชนะ เปลี่ยนน้ำในภาชนะขัง นอนในมุ้งหรือพ่นสารเคมีรอบบ้านเพื่อไม่ให้โรคแพร่ระบาด แต่ล่าสุดมีรายงานมาแล้ว วัคซีนไข้เลือดออก ได้ถูกวิจัยและพัฒนาจนสำเร็จ ขณะนี้กำลังจ่อขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในหลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย

นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีมีกระแสข่าวว่าประเทศฟิลิปปินส์ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกสำเร็จเป็นครั้งแรกแล้วว่า “เรื่องนี้อาจต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ปัจจุบันมีประเทศที่ขึ้นทะเบียนวัคซีนไข้เลือดออก คือ ฟิลิปปินส์ บราซิล เม็กซิโก โดยวัคซีนดังกล่าวเป็นของบริษัท ซาโนฟี่ ปาสเตอร์ ซึ่งมีการวิจัยพัฒนามานานและประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมศึกษาด้วย โดยที่ผ่านมาทางบริษัทได้นำเอกสารของวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ที่เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสเด็งกี่ 4 สายพันธุ์ ทั้งเด็งกี่ 1 – 4 ไปขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของแต่ละประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งระยะเวลาอาจช้าเร็วไม่เหมือนกัน”

นพ.จรุง กล่าวว่า “หากขึ้นทะเบียนแล้วก็จะสามารถประกาศใช้วงกว้างได้ สำหรับประเทศไทย วัคซีนไข้เลือดออก เป็นวัคซีนที่อยู่ในแผนวาระแห่งชาติด้านวัคซีน เป็นวัคซีนที่ได้รับการสนับสนุนการวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำเพื่อให้สามารถนำไปผลิตในเชิงอุตสาหกรรม ประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันได้ประมาณร้อยละ 60 คือ หากมี 100 คน ก็จะมี 60 คนที่ป้องกันได้ ส่วนที่เหลืออีก 40 คนก็ไม่ต้องกังวล เนื่องจากยังมีประสิทธิภาพลดความรุนแรงของโรคได้อีกร้อยละ 80 ซึ่งการฉีดวัคซีนจะใช้ 3 เข็ม ในกลุ่มอายุ 9 – 45 ปี เพราะช่วงอายุต่ำกว่า 9 ปี ประสิทธิภาพยังไม่ชัดมาก ขณะที่อายุมากกว่า 45 ปี ไม่มีข้อมูลวิจัย อย่างไรก็ตาม ตนมองว่า เป็นทางเลือกที่ดี เพราะการป้องกันไข้เลือดออกจากยุงลายนั้น ต้องมีมาตรการหลายอย่างควบคู่กันไป ทั้งแนวทางการป้องกันยุง กำจัดลูกน้ำยุงลาย แนวทางการป้องกันด้วยวัคซีนก็เป็นอีกทางที่ต้องควบคู่กันด้วย”

 

อ่านข้อมูลวัคซีนและแนวทางป้องกันโรคไข้เลือดออกหน้าถัดไปค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กล่าวว่า “วัคซีนนี้มีการขึ้นทะเบียนพร้อมกันไม่ต่ำกว่า 7 ประเทศ ซึ่งไทยก็มีการยื่นเรื่องเช่นกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพ ด้านความปลอดภัย และด้านการวิจัยทางคลินิก ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญจากทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ส่งความเห็นกลับมาให้แล้ว เหลือรอความคิดเห็นอื่นๆ หากครบก็จะมีการเสนอคณะอนุกรรมการด้านชีววัตถุพิจารณาต่อไป หากอนุมัติก็จะเสนอต่อคณะกรรมการ อย.ชุดใหญ่ เพื่ออนุมัติขึ้นทะเบียนได้ทันที โดยวัคซีนดังกล่าวน่าจะขึ้นทะเบียนได้ เพราะเป็นวัคซีนตัวแรก แม้ประสิทธิภาพอาจไม่ดีในบางสายพันธุ์ แต่ดีกว่าไม่มีเลย ส่วนจะพิจารณากระจายให้ประชาชนในวงกว้างหรือวงแคบ อยู่ที่กรมควบคุมโรค และสธ.พิจารณา”

ส่วนแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่มักรณรงค์ให้ประชาชนทราบอยู่ตลอด โดยเน้นไปที่การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ไปจนถึง 13 เมษายนนี้ เพื่อลดปริมาณยุงลายก่อนช่วงแพร่พันธุ์ โดยให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรในกระทรวงฯ ดำเนินการ 5 ส. 3. เก็บ

โดย “5 ส.” ได้แก่

1.สะสาง เก็บข้าวของให้ปลอดโปร่ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.สะดวก จัดวางหรือจัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบ

3.สะอาด การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เรียบร้อย

4.สร้างมาตรฐาน คือ รักษามาตรฐาน 3ส. แรกให้ดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5.สร้างวินัย ปฏิบัติตามมาตรฐาน กฎระเบียบต่างๆ ที่ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอ

ส่วน“3 เก็บ” ได้แก่

1.เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก

2.เก็บขยะเศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย

3.เก็บน้ำ ปิดให้มิดชิดหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่ให้ยุงลายวางไข่

โดยมาตรการเหล่านี้ขอให้ทุกหน่วยงานในสังกัด สธ.ทำทุกวันศุกร์ โดย สธ. ต้องเป็นต้นแบบดำเนินการ และประชาชนอย่างเรา ๆ ก็ควรร่วมมือปฏิบัติตามเพื่อลดจำนวนยุงลายให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อลดอัตราเสี่ยงของการระบาดของโรคและลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอีกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มาจาก www.matichon.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไข้เลือดออก: โรคร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

ไวรัสซิกาเชื้อร้ายพันธุ์ใหม่อันตรายต่อแม่ตั้งครรภ์

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team