ป่านนี้แล้ว ลูกไม่พูดทําไงดี ปัญหานี้พ่อแม่กลุ้มใจจัง!!

โดยปกติเด็กเล็กจะเริ่มพูดเป็นคำ ๆ ได้เมื่อเข้าอายุประมาณ 9-10 เดือน คุณพ่อคุณแม่อาจจะได้ยินเสียงลูกเรียก พ่อ แม่ ให้ดีใจแล้ว แต่บางบ้านลูกเข้า 1 ขวบก็แล้ว 2 ขวบก็แล้ว บางคนไปจนถึง 3 ขวบ 4 ขวบ ลูกยังไม่ยอมพูด ลูกไม่พูดทําไงดี ปัญหานี้ทำให้พ่อแม่กลุ้มใจจัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกไม่พูดทําไงดี ทำไมลูกไม่ยอมพูด เห็นลูกข้างบ้านพูดได้ตั้งแต่เล็กแล้ว เรื่องแบบนี้ก็เป็นปัญหาให้พ่อแม่กลุ้มใจได้ ลูกพูดช้ากลัวว่าผิดปกติ สาเหตุเป็นเพราะอะไร เรามีวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ช่วยพ่อแม่แก้ไขในเรื่องนี้กันค่ะ

ลูกไม่พูดทําไงดี สาเหตุอาจเกิดได้จาก

  • สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู ขาดการกระตุ้น หรือใช้เวลากับลูกน้อย ไม่มีการสื่อสารโต้ตอบที่ช่วยกระตุ้น ทำให้พัฒนาการเด็กหยุดชะงัก
  • อาจเกิดจากมีความปกติของหู เช่น ไม่ได้ยิน หูดับ หรือหูหนวก
  • มีพัฒนาการล่าช้าด้านอื่น หรือมีภาวะปัญญาอ่อน
  • ลูกอาจมีภาวะออทิสติก โดยเด็กกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องในเรื่องของการสื่อสารและทางด้านสังคม ทั้งทางการใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูด เช่นการใช้ท่าทางหรือการสบตา
  • ครอบครัวเคยมีประวัติพูดช้า แต่ในกรณีนี้ หากเด็กเริ่มพูดได้แล้วก็จะพูดเป็นปกติ

หากสังเกตได้ว่าลูกไม่มีภาวะผิดปกติตามสาเหตุข้างต้น เรื่องการฝึกกระตุ้นให้เจ้าตัวเล็กพูด เป็นเรื่องที่พ่อแม่ช่วยลูกได้นะคะ

6 วิธีช่วยกระตุ้นให้เจ้าตัวเล็กพูด

1.พูดออกเสียงช้า ๆ ชัด ๆ เป็นตัวอย่างให้ลูก

คุณพ่อคุณแม่ลองใช้คำพูดเป็นคำ ๆ พูดกับลูกบ่อย ๆ เพื่อให้เขาได้จดจำ เลียนแบบคำพูด หรือสร้างคำพูดของตัวเอง

2.ใช้คำสั้น กระชับ ชัดเจน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ใช้ประโยคสั้น ๆ ที่มีความหมายชัดเจน พยายามเน้นคำในประโยคเพื่อสร้างจุดสนใจให้กับลูก เช่น “นี่ของเล่น” “หม่ำ ๆ กันนะ” เพราะเมื่อลูกสนใจแล้ว ลูกก็จะจำคำ ๆ นั้นได้ง่ายขึ้น

อ่านวิธีกระตุ้นให้เจ้าตัวเล็กพูดอีกหลายข้อ หน้าถัดไปนะคะ >>

3.พูดซ้ำ ๆ บ่อย ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หาคำง่าย ๆ พูดซ้ำ ๆ ให้ลูกฟังบ่อย ๆ และให้เกิดการโต้ตอบของลูกด้วย เช่น ชี้มือนำสายตาลูกไปที่ลูกบอล เพื่อให้ลูกเชื่อมโยงความหมายเข้าด้วยกันได้เร็วขึ้น หรือเลือกสีของลูกบอลเพื่อให้ลูกได้เอื้อมมือไปจับสีที่ถูกต้อง เป็นต้น

4.สนใจเมื่อลูกมีการโต้ตอบ

เวลาพูดกับลูกควรให้ลูกได้สบตากับพ่อแม่ เพื่อที่จะได้มองเห็นริมฝีปากออกเสียงเป็นคำ ๆ ขณะที่พ่อแม่พูด เมื่อลูกพูดตอบกลับมาแม้ช่วงแรกอาจเป็นคำที่ไม่มีความหมาย ก็ควรให้ความสนใจเพื่อลูกจะได้มีแรงจูงใจในการพูดโต้ตอบกับพ่อแม่เพิ่มมากขึ้นนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5.หมั่นคุยกับลูกให้บ่อย

ยิ่งพ่อแม่ให้เวลากับลูกในการพูดคุย เล่นด้วย ทำกิจกรรมด้วยกันตั้งแต่เล็ก ลูกก็จะรับชุดคำศัพท์จากพ่อแม่ได้เยอะขึ้นเท่านั้น และยังเป็นวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดเร็วขึ้นด้วยนะคะ

เห็นมั้ยค่ะ ว่าการฝึกให้เจ้าตัวน้อยพูดไม่อยากเลย ขอเพียงแค่พ่อแม่ได้คุยกับลูกทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ก็ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะไม่พูด หรือพูดช้าอีกต่อไป ขอเพียงแค่ใช้เวลา อดทน และอย่าใจร้อนจนเกินไป เพราะแม้แต่ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ยังเริ่มพูดตอนอายุ 3 ขวบเลยค่ะ แต่ถ้าหากสังเกตว่าลูกเริ่มหงุดหงิดจากการที่พูดไม่ได้ ไม่สามารถบอกความต้องการได้ มีอารมณ์ อาละวาด ร้องไห้เพราะว่าสื่อสารให้กับพ่อแม่ไม่เข้าใจ หรือพบว่ามีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้นกับลูกน้อย ให้รีบปรึกษาคุณหมอเพื่อจะได้รีบแก้ไขหรือตรวจภาวะอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้นะคะ


อ้างอิง : www.wattanasatitschool.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

แม่จ๋าพ่อจ๋า รักหนูอย่าพูดกับหนูแบบนี้ 9 สิ่งที่ไม่ควรพูดกับลูก

พูดกับลูกวัยเล็กยังไงให้เป็นเด็ก ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อพ่อแม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R