เอาวัยเด็กของหนูมา!! หมอบอก ลูกเข้าเรียนเร็ว ให้ลูกเรียนมาก อาจทำให้ลูกสมาธิสั้น?

แน่นอนว่าการเลี้ยงลูกของแต่ละครอบครัวแตกต่างกัน พ่อแม่ทุกคนต่างก็มีจุดหมายที่วางไว้ให้ลูกแต่ละคน ในยุคที่สังคมเมืองมีการแข่งขันกันอย่างเห็นได้ชัด มีใครบ้างล่ะที่ไม่อยากจะเห็นลูกตัวเองประสบความสำเร็จที่ดีในอนาคต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่บางคนยังตัดสินใจไม่ถูก ว่าควรจะให้ลูกเข้าเรียนตอนวัยอนุบาลเมื่อถึงอายุครบ 3 ขวบเลยดีมั้ย หรือบางบ้านส่งลูกไปเข้าชั้นเตรียมอนุบาลตั้งแต่อายุ 1 ขวบกว่าแล้ว ลูกเข้าเรียนเร็ว ไปได้ผลดีหรือมีผลแย่กันแน่?

หมอบอก ลูกเข้าเรียนเร็ว ให้ลูกเรียนมาก อาจทำให้ลูกสมาธิสั้น?

คุณหมอหมอสังคม จงพิพัฒน์วณิชย์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้มีการนำเสนอข้อมูลไว้ในเพจ คลินิกเด็กหมอสังคม ในเรื่องนี้ไว้ว่า “จากการศึกษาในเด็กวัย 3-9 ปี ประเทศอเมริกา เปรียบเทียบระหว่างปี 1997-2000 (พ.ศ.2540-2543) พบว่าในปี 2000 เด็กจะเข้าเรียนอนุบาลเร็วขึ้น ต้องอ่านหนังสือ ทำการบ้านเพิ่มขึ้น และพ่อแม่ก็มีบทบาทที่จะต้องช่วยสอนและช่วยทำการบ้านมากขึ้น ทำให้เด็กมีเวลาเล่น มีความเป็นเด็กในวัยของตัวเองน้อยลง ส่งผลให้มีเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 1997”

สังคมเกี่ยวกับการศึกษาลูกในบ้านเราก็ไม่ต่างกัน พ่อแม่บางคนเริ่มส่งให้ลูกเข้าเตรียมอนุบาลตั้งแต่อายุ 1 ขวบกว่า ๆ ซึ่งอาจเกิดได้จากปัจจัยที่พ่อแม่ต้องกลับไปทำงาน จึงต้องให้ลูกเข้าเรียนเร็ว หรืออาจเป็นเพราะกลัวลูกจะไม่เก่ง สอบเข้าโรงเรียนดัง ๆ ไม่ได้ จึงรีบให้ลูกเข้าเรียนเพื่อปูทางการเรียน ให้ลูกได้อ่าน ออก เขียน และบวกเลขได้ มีการบ้านกลับมาให้ทบทวนมหาศาล เลิกเรียนต้องให้ลูกเรียนพิเศษ หรือวันหยุดก็พาไปติวกวดวิชา แทบไม่ได้หยุดพักผ่อน หรือไม่มีเวลาได้เล่น หรือทำกิจกรรมอย่างเหมาะสมกับวัยลูก ชีวิตความเป็นเด็กของลูกกำลังเริ่มหายไป ความสนุก สดใส ในวัยของเด็กของลูกมันหดหายไปเร็วขึ้น ต่างจากวัยของคุณพ่อคุณแม่ที่ตอน 6-7 ขวบยังวิ่งเล่น ไล่จับ ปีนต้นไม้กันอย่างสนุกสนาน ซึ่งมี ผลให้เด็กมีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น

จากงานวิจัยของ จอห์น ฟอร์เรสเตอร์ (John Forester) นักวิจัยการศึกษาของอเมริกา ได้ค้นพบอย่างไม่คาดคิดว่า เด็กที่เป็นหัวหน้าด้านสังคมและกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียนมัธยมส่วนใหญ่เป็นเด็กที่เข้าโรงเรียนช้า มีหลักฐานว่าในเด็กที่เข้าเรียนช้าหรือตามเกณฑ์นั้นจะมีแนวโน้มที่เรียนเก่งกว่า มีความประพฤติดีกว่า และมีทักษะทางด้านสังคมก็ดีกว่า มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง และในอนาคตจะเป็นประชากรที่ดีมีคุณภาพ

นักวิจัยชื่อ ยูรี บรอนเฟนเบรนเนอร์ (Urie Bronfenbrenner : Cornell University) และ อัลเบิร์ต แบนดูร่า (Standford U.) พบว่าเด็กเล็ก ๆ ที่เข้าโรงเรียนเร็วเกินไป ไม่ค่อยได้อยู่ใกล้ชิดพ่อแม่ มักจะตามความคิดของเพื่อน ๆ เด็กเหล่านี้มักจะติดเพื่อน เชื่อฟังเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ และไม่เชื่อมั่นในตนเอง เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ เช่น เพื่อน ๆ ชอบดูการ์ตูนหรือทีวี มือถือ ก็ดูตาม เป็นต้น ในที่สุดก็อาจทำให้เด็กไร้ที่พึ่งทางความคิดที่ดีจากผู้ใหญ่ ทำตามเพื่อน ๆ อย่างไร้หลักการ ไม่มองโลกในแง่ดี ดำเนินชีวิตตามอย่างเพื่อน ๆ โดยไม่เข้าใจอะไรเลย และจากงานวิจัยหลายแห่งยืนยันว่า เด็กที่อยู่กับพ่อแม่ช่วงก่อนวัยเรียนและไปโรงเรียนหลังจากที่พร้อมแล้ว ในอนาคตมักจะเป็นหัวหน้าชั้นหรือหัวหน้าในสังคมและเป็นเด็กที่เข้ากับสังคมได้ดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ย้อนกลับมาในเรื่องที่คุณหมอกล่าวถึงการกระตุ้นลูกให้เรียนเร็วหรือมากเกินไป ตั้งแต่อายุยังน้อยหรือในวัยที่ลูกยังไม่พร้อม แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจนที่ทำให้เป็นโรคสมาธิสั้น แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดได้จากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูของพ่อแม่ การกระตุ้นที่มากเกินไป ทำให้ลูกมีความรู้สึกต้องเร่งรีบ หรือกับเด็กเล็กที่ยังไม่มีสมาธิดีพอที่จะนั่งเรียนเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจส่งผลให้มีสมาธิสั้นได้ ทั้งนี้คุณหมอกล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจว่า “เด็กในวัยเดียวกันจะมีความพร้อมไม่เท่ากัน เหมือนกับผลไม้ต้นเดียวกันแต่สุกไม่พร้อมกัน หรือดอกไม้ต้นเดียวกันจะบานไม่พร้อมกัน การยัดเยียดเด็กที่ยังไม่พร้อมเข้าโรงเรียน เปรียบเสมือนไปเร่งเด็ดผลไม้ที่ยังไม่สุกลงมารับประทานหรืออ้ากลีบดอกไม้ที่ยังตูมอยู่ให้บาน ผลปรากฏว่าผลไม้ที่ยังไม่สุกหรือยังอ่อนจะมีรสฝาด ไม่หวานเท่าที่ควร หรือกินไม่ได้ต้องทิ้งไป และดอกไม้ตูมที่เราอ้ากลีบเร่งให้บานอาจจะเหี่ยวเฉา ไม่สวยงามเหมือนดอกไม้ที่บานตามธรรมชาติ

ถึงเวลาหรือยัง ที่เราต้องมาช่วยกันคิด ทบทวนว่าควรจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ลูกถูกเร่งเร้า กระตุ้นให้เรียนหรือทำกิจกรรมมากมาย จนแทบไม่มีเวลาได้พัก ได้อยู่กับครอบครัว และให้เอาชีวิตความเป็นเด็กของลูกคืนมา”.

รู้จักโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คือ ภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่ส่งผลให้มีสมาธิสั้นกว่าปกติ ขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้มีลักษณะอาการซุกซน วอกแวกง่าย ไม่เคยอยู่นิ่ง เวลาที่พูดด้วยจะไม่ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดไม่ค่อยได้ ขาดความรับผิดชอบ พบได้ค่อนข้างบ่อยในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3 – 7 ปี แต่ในรายที่เป็นไม่มาก อาการจะแสดงออกชัดเจนกว่าในช่วงหลัง 7 ขวบขึ้นไป เพราะเป็นช่วงที่ต้องเข้าโรงเรียน มีงานและการบ้านต้องรับผิดชอบหลาย ๆ ชิ้นในเวลาเดียวกัน มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและคุณครู รวมไปถึงการที่จะต้องรู้จักปรับตัวในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นและการเข้าสังคม โดยสาเหตุแท้จริงนั้นไม่สามารถทราบได้ชัดเจน แต่หนึ่งในนั้นคือการที่สมองส่วนหน้าซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิและการยับยั้งชั่งใจทำงานน้อยกว่าปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการเด็กสมาธิสั้น

การจะรู้ว่าเจ้าตัวเล็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่ นอกจากต้องสังเกตจากลักษณะอาการที่ปรากฏแล้ว ยังจำเป็นจะต้องพิจารณาจากระยะเวลาที่เป็น และสถานที่ที่เด็กมีอาการ กล่าวคือ

1) อาจมี (A) หรือ (B)

(A) หากเด็กมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ต้องมี 6 ข้อ (หรือมากกว่า) ของอาการขาดสมาธิ ติดต่อกันเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน โดยที่อาการต้องถึงระดับที่ผิดปกติและไม่เป็นไปตามพัฒนาการตามวัยของเด็ก ได้แก่ อาการขาดสมาธิ (Inattention) คือ

  • มักไม่สามารถจดจ่อกับรายละเอียดหรือไม่รอบคอบเวลาทำงานที่โรงเรียนหรือทำกิจกรรมอื่น
  • มักไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
  • มักดูเหมือนไม่ได้ฟังสิ่งที่คนอื่นพูดกับตนอยู่
  • มักทำตามคำสั่งได้ไม่ครบ ทำให้ทำงานในห้องเรียน งานบ้าน หรืองานในที่ทำงานไม่เสร็จ (โดยไม่ใช่เพราะต่อต้านหรือไม่เข้าใจ)
  • มักมีปัญหาในการจัดระบบงานหรือกิจกรรม ทำงานไม่เป็นระเบียบ
  • มักเลี่ยงไม่ชอบหรือไม่เต็มใจในการทำงานที่ต้องใช้ความคิด (เช่น การทำการบ้านหรือทำงานที่โรงเรียน)
  • มักทำของที่จำเป็นในการเรียนหรือการทำกิจกรรมหายบ่อย ๆ (เช่น อุปกรณ์การเรียน)
  • มักวอกแวกไปสนใจสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย
  • มักหลงลืมทำกิจวัตรที่ต้องทำเป็นประจำ

(B) ต้องมี 6 ข้อ (หรือมากกว่า) ของอาการอยู่ไม่นิ่ง – หุนหันพลันแล่น นานติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน โดยที่อาการต้องถึงระดับที่ผิดปกติและไม่เป็นไปตามพัฒนาการตามวัยของเด็ก ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • อาการอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)
  • หยุกหยิก อยู่ไม่สุข ชอบขยับมือและเท้าไปมา หรือนั่งนิ่ง ๆ ไม่ได้
  • มักลุกจากที่นั่งในห้องเรียนหรือในสถานการณ์อื่นที่เด็กจำเป็นต้องนั่งอยู่กับที่
  • มักวิ่งไปมาหรือปีนป่ายสิ่งต่าง ๆ ในที่ ๆ ไม่สมควรกระทำ
  • ไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมอย่างเงียบ ๆ ได้
  • มัก “พร้อมที่จะวิ่งไป” หรือทำเหมือนเครื่องยนต์ที่เดินเครื่องอยู่ตลอดเวลา
  • มักพูดมาก พูดไม่หยุด
  • อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)
  • มักโพล่งคำตอบโดยที่ฟังคำถามไม่จบ
  • มักไม่ชอบการเข้าคิวหรือการรอคอย
  • มักขัดจังหวะหรือสอดแทรกผู้อื่น (ระหว่างการสนทนาหรือการเล่น)

2) เริ่มพบอาการเหล่านี้ตั้งแต่ก่อนอายุ 7 ขวบ

3) พบความบกพร่องที่เกิดจากอาการเหล่านี้ในสถานการณ์อย่างน้อย 2 แห่ง เช่น ที่บ้านหรือที่โรงเรียน

4) อาการต้องมีความรุนแรงจนกระทั่งรบกวนการเรียน การเข้าสังคม หรือการทำงานอย่างชัดเจน

5) อาการไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็น Pervasive Developmental Disorder, Schizophrenia, Psychotic Disorder และอาการต้องไม่เข้าได้กับอาการของโรคทางจิตเวชอื่น ๆ (เช่น Mood Disorder, Anxiety Disorder, Dissociative Disorder หรือ Personality Disorder)

 

สัญญาณเตือนรีบรักษา

หากเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น มีเพียง 15 – 20% เท่านั้นที่สามารถหายได้เองเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่อีกประมาณ 60% นั้นไม่หายขาดและจะเป็นโรคนี้ไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นการสังเกตและรู้เท่าทันสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาที่ต้องเข้ารับการรักษาคือสิ่งสำคัญ ได้แก่

  • ผลการเรียนตกต่ำลง ถ้ามีอาการมากมักพบได้ตั้งแต่ในช่วงที่เด็กเรียน ป.1 – ป.2และผลการเรียนจะยิ่งตกมากขึ้นในช่วง ป.4 แต่ในกรณีที่เด็กมีไอคิว (IQ – Intelligence Quotient) ความสามารถทางเชาวน์ปัญญาสูง อาจไม่ส่งผลกระทบต่อผลการเรียนมากเท่าไรนัก และอาจเริ่มสังเกตเห็นอาการในช่วงมัธยม แต่ในเด็กที่เป็นทั้งโรคสมาธิสั้นและโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD – Learning Disorder) ควบคู่กันจะส่งผลต่อผลการเรียนค่อนข้างมากคือ คะแนนคาบเส้นหรือหวุดหวิดเกือบสอบตก
  • คุณครูมีการรายงานพฤติกรรมความผิดปกติของเด็กกับพ่อแม่ผู้ปกครอง
  • พ่อแม่ผู้ปกครองเริ่มสงสัยและเห็นความผิดปกติของเด็กชัดเจนมากขึ้น
  • เด็กหรือเพื่อนที่เด็กเล่นด้วยมีอาการบาดเจ็บ เนื่องจากเล่นรุนแรงและผาดโผนมากเกินไป
  • เด็กเริ่มแยกตัวออกจากกลุ่ม อยู่โดดเดี่ยวคนเดียว ไม่ชอบสื่อสารและเข้าสังคม (ถูกเพื่อนปฏิเสธหรือรังแก)

วิธีรักษาแก้โรค

ปัจจุบันวิธีรักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactive Disorder) มี 4 วิธี ได้แก่

  1. ปรับพฤติกรรมและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ซึ่งจะได้ผลดีมากในเด็กที่ยังเป็นไม่มากและยอมเต็มใจที่จะเข้ารับการฝึกเพื่อให้อยู่นิ่ง
  2. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง โดยแพทย์จะเลือกชนิดยาที่เหมาะกับอาการและวัยของเด็ก เช่น Methylphenidate ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้หลั่งสารสื่อประสาทเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการรับประทานทานยานั้นให้ผลในการรักษาที่ดีได้ถึง 70 – 80% โดยประมาณ และเด็กจะมีอาการดีขึ้นหลังจากรับประทานยาไปแล้วภายใน 1 – 4 สัปดาห์
  3. เรียนแบบตัวต่อตัว เพื่อช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ร่วมด้วยนั้นจะเรียนไม่ทันเพื่อน พ่อแม่ผู้ปกครองควรหาวิธีพัฒนาการเรียนของเด็กอย่างเหมาะสม
  4. ปรึกษาแพทย์ต่อเนื่อง เพื่อทำความเข้าใจและขอคำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง การสื่อสารกันระหว่างแพทย์ ครู และผู้ปกครอง เพื่อลดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กที่อาจเกิดขึ้นได้

อ้างอิงข้อมูลจาก :

เพจคลินิกหมอสังคม

www.doctor.or.th

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

โรคสมาธิสั้นของลูกเรื่องยาวของแม่

ให้ลูกกินอะไรเมื่อเจ้าหนูเป็นเด็กสมาธิสั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R