ลูกสําลักอาหาร ปฐมพยาบาล อย่างไร ป้อนอาหารเด็กเล็ก ต้องระวัง! อาหารอันตราย

ลูกสำลักห้ามใช้นิ้วล้วงคอ! ลูกสําลักอาหาร ปฐมพยาบาลอย่างไร 

ลูกสําลักอาหาร ปฐมพยาบาล

ป้อนอาหารทารก ป้อนอาหารเด็กเล็ก ต้องระวังลูกสําลักอาหาร วิธีปฐมพยาบาลลูกสำลัก ทำอย่างไร ลูกสําลักอาหาร ปฐมพยาบาล อย่างไร

 

ป้อนอาหารเด็กเล็ก ป้องกันสำลักอุดกั้น

กระทรวงสาธารณสุข แนะผู้ปกครองระวังการป้อนอาหารเด็กเล็ก โดยเฉพาะ ลูกชิ้น ไส้กรอก ถั่ว ผลไม้ที่มีเมล็ดขนาดเล็ก ป้องกันสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจเด็ก หากเด็กสำลัก หายใจไม่ออก ริมฝีปากเขียวคล้ำ โทรขอความช่วยเหลือ 1669 ห้ามใช้นิ้วมือล้วงลำคอเด็ก เพราะสิ่งแปลกปลอมอาจตกลึกลงไปอุดกั้นมากขึ้น จนขาดอากาศหายใจได้

 

ป้อนอาหารทารกระวัง ลูกสําลักอาหาร

นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า อันตรายที่พบบ่อยในเด็กเล็กอายุ 1 – 3 ปี คือ สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ เนื่องจากเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น ต้องการทดลองทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ชอบหยิบจับสิ่งของเข้าปาก ใส่จมูก และยังมีฟันกรามขึ้นไม่ครบ ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดพอ รวมทั้งมักจะวิ่งหรือเล่นขณะกินอาหาร หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ที่พบส่วนใหญ่มักเป็นอาหารหรือถั่วชนิดต่าง ๆ เมล็ดพืช เมล็ดผลไม้

นอกจากนี้ ชิ้นส่วนพลาสติก ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ เข็ม เข็มกลัด ลูกปัด กระดุม ก็เป็นสิ่งของต้องระวังลูกสําลักอาหาร เพราะช่วงวัยอยากรู้ มักจะหยิบของชิ้นเล็ก ๆ เข้าปากอยู่เสมอ

 

วิธีป้องกันสำลักอุดกั้น

นายแพทย์ไพศาล กล่าวต่อว่า ขอแนะนำผู้ปกครองดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด

  • ระมัดระวังอาหารที่มีลักษณะเป็นเส้น กลม ลื่น และแข็ง เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก ควรป้อนเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  • ส่วนผลไม้เช่น แตงโม น้อยหน่า ละมุด มะขามให้แกะเมล็ดออกก่อน
  • ไม่ป้อนอาหารขณะเด็กกำลังวิ่งเล่น
  • สอนเด็กเคี้ยวอาหารช้า ๆ ให้ละเอียดก่อนกลืน
  • เลือกของเล่นให้เหมาะกับวัยของเด็ก
  • ไม่ควรให้เล่นของเล่นที่มีชิ้นส่วนขนาดเล็กหรือแตกหักง่าย
  • เก็บสิ่งของที่มีขนาดเล็ก เช่น กระดุม เข็มกลัด ยา ให้พ้นมือเด็ก และสอนเด็กไม่ให้นำของเล่นไปอมหรือเคี้ยว เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจเด็ก

 

ลูกสําลักอาหาร ปฐมพยาบาลอย่างไร ป้อนอาหารเด็กเล็ก ต้องระวัง! อาหารอันตราย

วิธีช่วยทารกสำลักอาหาร ปฐมพยาบาลอย่างไร

  1. ถ้าเป็นเด็กทารกให้จับนอนหงายประคองด้วยแขนหรือหน้าตัก
  2. กดด้วยนิ้วสองนิ้วลงไปตรง ๆ บริเวณกระดูกอกตรงกลาง 5 ครั้ง
  3. คว่ำหน้าหันหัวลงประคองด้วยแขนและหน้าตัก ตบด้วยอุ้งมือกลางหลัง 5 ครั้ง

อ่านเพิ่มเติม วิธีช่วยคนสําลักอาหาร ทารกสำลักอาหาร ปฐมพยาบาลอย่างไร วิธีการปฏิบัติเมื่อสำลักอาหาร

 

ในกรณีที่เด็กมีอาการสำลัก ไออย่างรุนแรง เอามือจับบริเวณคอ พูดไม่ได้ หายใจหอบ หายใจไม่ออก ริมฝีปากเขียวคล้ำ ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน มักเกิดจากสิ่งที่อุดกั้นมีขนาดใหญ่ไปติดค้างที่กล่องเสียง ซึ่งเป็นตำแหน่งแคบที่สุดของทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอุดกั้นอย่างสมบูรณ์และเฉียบพลัน ให้รีบโทรสายด่วน 1669 หรือนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็วที่สุด ห้ามใช้นิ้วมือ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ กวาดล้วงเข้าไปในลำคอเด็กเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้สิ่งแปลกตกลึกลงไปในตำแหน่งที่อุดกั้นทางเดินหายใจมากขึ้น จนขาดอากาศหายใจได้

 

รู้กันไปแล้วว่าลูกสําลักอาหาร ปฐมพยาบาลอย่างไร สิ่งสำคัญคือการระมัดระวังอาหาร และสิ่งแปลกปลอม ไม่ให้ลูกเคี้ยวหรือกลืนสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าไป เพราะช่วงวัยทารกหรือเด็กเล็ก มักจะชื่นชอบการคว้าของเข้าปาก พ่อแม่ผู้ปกครองต้องดูแลให้ดีนะคะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกควรใส่ถุงมือถุงเท้า หรือไม่ ถุงมือถุงเท้าทารกใส่ถึงกี่เดือน การให้ทารกใส่ถุงมือ ถุงเท้า ปิดกั้นพัฒนาการลูกไหม

ลูกไอแห้งๆ ไอเสียงวี้ด ไอตอนกลางคืน ลูกไอแบบไหนอันตราย วิธีสังเกตอาการไอของทารก

6 เมนูไข่สำหรับทารก สูตรอาหารเด็กเล็กทำง่าย อร่อย คุณค่าทางอาหารสูง

ตารางอาหารทารกขวบปีแรก ลูกน้อยในแต่ละวัยควรกินอะไร เท่าไหร่ ถึงจะพอดี?

 

บทความโดย

Tulya