"ลูกสะโพกหลุด"แต่กำเนิด เรื่องจริงที่แม่อยากบอกต่อ

คุณแม่ท่านนี้ เล็งเห็นถึงอันตรายจึงอยากแชร์ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากลูกเป็น "โรคสะโพกหลุดแต่กำเนิด"

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคสะโพกหลุดตั้งแต่กำเนิด หรือ Developmental Dysplasia of the Hip คืออีกโรคหนึ่งที่คุณแม่ท่านนี่ อยากบอกเล่าให้ผู้ปกครองทุกคนได้ทำความรู้จักผ่านประสบการณ์ตรงของตัวเองผ่านเพจคนท้องคุยกัน เมื่อลูกวัยเพียง 23 วัน ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ไปพบเรื่องเล่าของคุณแม่ท่านนี้กันเลยค่ะ

เรามีเรื่องจะมาเล่าให้แม่ ๆ ฟัง ประสบการณ์ของเราและลูก ลูกเราคลอดมาเมื่อวันที่ 12 ตุลา วันแรกหลังคลอด คุณหมอมาบอกว่า หลังจากตรวจเช็ค ลูกเราสะโพกด้านซ้ายเหมือนจะหลุด มีเสียงกึก ๆ เวลาขยับ จะแจ้งให้ทราบอีกทีหลังจากอัลตร้าซาวด์ดูรายละเอียดของสะโพกซ้ายก่อน
วันถัดมา หมอเด็กแจ้งว่า ลูกเราเป็นโรคสะโพกหลุดแต่กำเนิด หรือ Developmental Dysplasia of the Hip
เราเอ๋อเลย ไม่เคยรู้จัก ไม่มีความรู้เรื่องนี้ ถามหมอว่าเกิดได้อย่างไร หมอก็บอกรายละเอียดไม่ได้ หมอบอกว่า ช่วงบ่ายจะให้หมอที่เชี่ยวชาญมาอธิบาย ตอนบ่าย มีคุณหมอมาอธิบายพร้อมกับให้ลูกเราใส่เข็มขัดที่เราเรียกว่า Harness เราถามหมอว่าจะต้องใส่นานแค่ไหน หมอตอบว่าอย่างต่ำเดือนครึ่ง และต้องใส่ สิ่งที่เรียกว่ากระดองเต่า เป็นตัวซับพอร์ต สะโพกต่ออีก อย่างต่ำ 1 ปี วันนี้ ลูกเราถอด Harness แล้ว เค้าได้อาบน้ำครั้งแรกในรอบ เดือนครึ่งแล้ว (ใส่Harness อาบน้ำไม่ได้) ตอนนี้ รอใส่กระดองเต่า เราไปสั่งผลิตมาแล้ว ที่เรามาแชร์ประสบการณ์ เพราะ เราพยายามหาข้อมูลของโรคที่ลูกเราเป็น แต่แทบไม่มีเลย ไม่ใช่ไม่มีใครเป็น แต่คนที่เป็นไม่รุ้ว่าตัวเองเป็น พ่อแม่ไม่รู้ว่าลูกเป็นกว่าจะรู้ลูกก็เดินขาไม่เท่ากันแล้ว และเลยเวลารักษาแล้ว ต้องผ่าตัดอย่างเดียว เราจึงมาเตือนว่าใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังนี้ อย่าละเลยนะคะ ลองเช็คสะโพกลูกของคุณดู กลุ่มเสี่ยงมีดังนี้ค่ะ

– ลูกผู้หญิง เนื่องจากการรายงานพบว่า เด็กที่เป็นโรคนี้พบว่าเป็นเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กชาย มีอัตราส่วน ผู้หญิง: เด็กผู้ชาย อยู่ประมาณ 5-8 คน : 1 คน (อาจเนื่องมาจากฮอร์โมนเพศ)

– ลูกคนแรกของครอบครัว เนื่องจากบริเวณมดลูกและช่องคลอดของแม่ยังขยายตัวไม่มากนักอาจบีบรัดตัวลูกน้อย

– พบในขาซ้ายมากกว่าขาขวา
– ทารกเอาก้นลงในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครภ์
– ของเหลวในครรภ์น้อย น้ำคร่ำที่ล้อมรอบตัวเด็กอาจมีปริมาณน้อยเกินกว่าปกติ
– ประวัติครอบครัว มีประวัติคนในครอบครัวมีอาการของโรคนี้มาก่อน
– ทารกตัวใหญ่ ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักตัวมากขณะที่มารดามีขนาดตัวที่เล็ก
– ห่อตัวแน่นเกินไป การห่อตัวทารกแรกเกิดแน่นจนเกินไป
– เท้าหรือคอผิดปกติ. เด็กที่มีอาการเท้าผิดปกติหรือคอเกร็ง (foot deformities or tightness in the neck)

– ฮอร์โมนมารดา ฮอร์โมนของมารดาขณะตั้งครรภ์ส่งผลต่อการตอบสนองของทารกหากลูกคุณมีอาการสะโพกทั้ง 2 ข้างกางไม่เท่ากัน ขณะที่ให้ลูกนอนหงาย งอสะโพกชันเข่า แล้วกางขาแบะออก ซึ่งเป็นท่าที่คุณพ่อคุณแม่ใช้ใส่ผ้าอ้อมเด็กนั่่นเองค่ะ ซึ่งสิ่งที่จะสังเกตได้ว่าผิดปกติคือ สะโพก 2 ข้างจะแบะออกได้ไม่เท่ากัน โดยข้างที่แบะออกได้น้อยกว่ามักเป็นข้างที่ผิดปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลานด้วยการลากขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือยืนขาข้างใดข้างหนึ่งหมุนได้มากผิดปกติ ยืนโดยเท้าข้างใดข้างหนึ่ง หรือยืนบนปลายเท้า รวมทั้งยกส้นเท้าสูงกว่าปกติ

เดินเอวแอ่นมาข้างหน้ามากกว่าปกติ หากลูกอยู่ในวัยที่เริ่มเดินได้ จะเห็นว่าลูกเดินยักสะโพก หรือเดินเอวแอ่นมาข้างหน้ามากกว่าปกติ และหากให้นอนหงายชันเข่า จะเห็นว่าเข่า 2 ข้างจะสูงไม่เท่ากัน

ไปหาหมอนะคะ โรคนี้รู้เร็วจะรักษาได้ หากช้า ลูกคุณอาจเดินขาไม่เท่ากันตลอดชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รูปที่เราเอาลง เป็นรูปลูกเราใส่ Harness นะคะ เดี๋ยวได้กระดองเต่าจะอัฟเดตทีหลัง

อัพเดทล่าสุด คุณแม่เล่าว่า ตอนนี้น้องปรับตัวเยอะมาก และค่อนข้างที่จะรู้สึกหงุดหงิดเวลาที่ยืดขาแล้วออกไปไม่สุด คุณแม่บอกกับทีมงานว่า คงต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพักนึง กว่าที่น้องจะชิน และน้องจะต้องใส่ติดตัวตลอดเวลา เว้นแต่เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมหรืออาบน้ำเท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคน ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่และน้องด้วยนะคะ ขอให้น้องหายไว ๆ นะคะ

ที่มา: คนท้องคุยกัน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

แม้ร่างจะพิการ แต่แม่ก็คลอดลูกได้อย่างปลอดภัย

ดื่มเหล้าไม่รู้ว่าท้อง ลูกจะพิการไหม

บทความโดย

Muninth