แพทย์เตือน!!! ลูกปิดประตูหนีบนิ้ว เรื่องน่าห่วงไม่ใช่แค่ช้ำ แต่มีปัญหาไปตลอดชีวิต

แพทย์เตือน!!! ลูกปิดประตู้หนีบนิ้ว เรื่องน่าห่วงไม่ใช่แค่ช้ำ แต่มีปัญหาไปตลอดชีวิต เพราะอะไรยังไง ทั้งที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก แต่จริงๆ แล้วไม่เลยละค่ะ

แพทย์เตือน!!! ลูกปิดประตูหนีบนิ้ว เรื่องน่าห่วงไม่ใช่แค่ช้ำ แต่มีปัญหาไปตลอดชีวิต

แพทย์เตือน!!! ลูกปิดประตูหนีบนิ้ว หรือ ประตูหนีบนิ้ว เรื่องน่าห่วงไม่ใช่แค่ช้ำ แต่มีปัญหาไปตลอดชีวิต อุบัติเหตุกับเด็กๆ แม้ว่าจะเป็นของคู่กัน แต่บางอย่างก็อาจจะส่งผลไปตลอดชีวิตได้เหมือนกันค่ะ

ประตูหนีบนิ้ว ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

สมาคมศัลยแพทย์พลาสติกและศัลยแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร หรือ BAPRAS ออกมาเตือนคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยซน ถึงผลเสียระยะยาวของอุบัติเหตุอย่าง การปิดประตูกระแทกนิ้วมือของเด็กๆ ค่ะ เนื่องจากการบาดเจ็บที่นิ้วมือบางกรณีนั้น อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นภายหลังได้ เช่น รูปร่างบิดเบี้ยว และอาการเจ็บปวดระยะยาว

รอยัลสมาคมเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุ หรือ RoSPA ได้ให้ข้อมูลว่า ในทุกปีมีเด็กๆ กว่า 30,000 คน จะเกิดอุบัติโดนประตูหนีบนิ้ว และเด็กๆ จำนวนมากกว่า 1,500 คน ต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอุบัติเหตุดังกล่าวนี้ค่ะ

ส่วนสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบริเวณนิ้วมือและมือนั้นมาจาก บานประตูตู้เก็บเครื่องมือดับเพลิง ประตูรถ และประตูที่เป็นบานพับค่ะ

เจ็บนิ้ว อาจเป็นเรื่องใหญ่กว่านั้นมาก

ประตูหนีบนิ้ว การบาดเจ็บที่นิ้วของเด็กๆ นั้น อาจจะทำให้มือของเด็กๆ สูญเสียความแข็งแรงของมือ หรือ hand strength ได้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดไม่ถึงว่ามันจะส่งผลเสียต่อลูกมากแค่ไหน ให้ลองคิดว่าการผูกเชือกรองเท้า พิมคีย์บอร์ด ถือมือถือ หรือแม้แต่การจับช้อนส้อมนั้น ทำได้ยากขึ้นมากและกลายเป็นเรื่องท้าทาย ก็อาจจะมองออกว่า เรื่องเหล่านี้นั้นร้ายแรงไม่ใช่เล่นๆ เลยนะคะ

ประตูหนีบนิ้ว

นอกจากนี้อาการบาดเจ็บที่นิ้วมืออย่างเดียวนั้น อาจจะส่งผลต่อความแข็งแรงของมือถึง 20% และอาจจะเป็นอุปสรรค์ต่อเด็กๆ ดับฝันที่อยากเป็นได้เหมือนกันนะคะ

ป้องกันประตูหนีบนิ้วลูก

ประตูหนีบนิ้ว ในวัยเด็กเล็กๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยเห็นแท่งโฟม ที่ช่วยป้องกันเด็กๆ จากอุบัติเหตุอย่างประตูหนีบนิ้วนะคะ แต่หากเป็นเด็กวัยซนที่เริ่มมีการไปโรงเรียนแล้ว เริ่มรู้เรื่องและดูแลตัวเองได้ในระดับหนึ่งแล้ว ควรมีการสอนให้ลูกระมัดระวังการเปิดปิดประตูทุกครั้งค่ะ

ที่มา Netmums

บทความที่น่าสนใจ

บ้านของคุณปลอดภัยกับลูกแค่ไหน?

อันตรายการใช้ปลั๊กพ่วงที่พ่อแม่ห้ามมองข้าม