ลูกท้องผูก ปัญหา (ไม่) เล็ก ที่กระทบต่อพัฒนาการของเบบี๋

พักนี้เจ้าตัวเล็กท้องผูกบ่อย ไม่ถ่ายมาหลายวันแล้ว พอถึงคราวเข้าห้องน้ำทีนึง ก็ต้องออกแรงเบ่งกันจนเหนื่อยทั้งแม่ทั้งลูก บางครั้งอุจจาระแข็งมากถึงขนาดสร้างบาดแผลและความเจ็บปวดให้กับเด็กๆ ลุกลามบานปลายกลายเป็นการเข็ดขยาดต่อการขับถ่ายไปในที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกท้องผูก อาจเป็นปัญหาเล็กๆ ที่คุณแม่หลายคนคิดว่าไม่สำคัญอะไรมากนัก แต่รู้หรือไม่ว่า ปัญหาแสนธรรมดานี้อาจสร้างผลกระทบมากมายต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงอารมณ์ของเจ้าตัวเล็กได้ ไม่ว่าจะเป็น ทานอาหารได้น้อยลงจนกลายเป็นโรคขาดสารอาหาร หรือการพยายามกลั้นอุจจาระเพราะเข็ดขยายต่อความเจ็บปวดขณะขับถ่าย ซึ่งหากสะสมไปนานๆ อาจเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ในอนาคต

ลูกท้องผูก สาเหตุหลักเริ่มต้นจากอาหาร

อาการท้องผูกในเด็ก เป็นความผิดปกติของการขับถ่าย ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการทานอาหาร  คุณแม่ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าการทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ต้องเน้นแป้ง โปรตีน และไขมัน ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วร่างกายมนุษย์ต้องการอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อใช้เป็นอาหารของบักเตรีจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ

เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมเด็กที่ทานนมแม่เป็นประจำจึงมีอาการท้องผูกน้อยมาก นั่นเป็นเพราะนมแม่มี โอลิโกแซกคาไลน์ (Oligosaccharide) ซึ่งเป็นใยอาหารธรรมชาติ ย่อยง่าย ทำให้ร่างกายดูดซึมไปได้ทั้งหมด การเลือกอาหารให้ลูกน้อยนั้นก็อาศัยหลักการเดียวกัน คุณแม่สามารถขจัดปัญหาอาการท้องผูกให้เจ้าตัวเล็กได้ ด้วยการคัดสรรเมนูที่อุดมด้วยใยอาหารธรรมชาติจากผักผลไม้เป็นหลัก โดยเฉพาะธัญพืชที่ไม่ผ่านการสกัด ไม่ขัดสีต่างๆ เช่น  ข้าวกล้อง ถั่ว งา ฯลฯ

อาหารทุกคำของเจ้าตัวเล็ก ปลอดภัยจากสารก่ออันตรายจริงหรือ ?

เมื่อหนูน้อยถึงวัยหม่ำอาหารเสริม คุณแม่มักมองหาเมนูที่ครบถ้วนด้วยสารอาหารที่มีคุณค่า เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ในการสร้างเสริมพัฒนาการทางด้านต่างๆ อย่างเต็มที่ แต่ความน่ากลัวกลับแฝงมาพร้อมกับ เนื้อหมู นมวัว ไข่ไก่ ฯลฯ ในรูปแบบของสารก่อมะเร็ง และสารเร่งการเจริญเติบโตต่างๆ แม้คุณแม่จะยืนยันสุดเสียงว่า ได้เลือกเฟ้นเฉพาะผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคสำหรับลูกรักแล้วก็ตาม แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงสารอนุมูลอิสระ ไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอล ที่มีอยู่ในโปรตีนจากสัตว์ กระทั่งในสารปรุงแต่งอย่าง น้ำตาล เกลือ น้ำมัน ก็ยังเป็นต้นตอของการเกิดโรคในกลุ่ม NCDs (Non-communicable disease) ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคมะเร็งต่างๆ โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เริ่มต้นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกรัก สตาร์ทมื้อแรกด้วยอาหารธรรมชาติ ไม่สกัด ไม่ขัดสี

อาหารทุกคำที่แม่ป้อนให้ลูกรัก จึงเป็นตัวกำหนดสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หากเลือกผิด แม้จะยังไม่เห็นผลในทันทีทันใด แต่โรคร้ายก็จะสะสมอยู่ในร่างกายไปเรื่อยๆ เพื่อรอวันปะทุ ดังนั้นการเริ่มต้นรับประทานอาหารที่ดีตั้งแต่วัยเด็กจึงเห็นผลชัดเจนยิ่งกว่าการเปลี่ยนแปลงการกินในวัยผู้ใหญ่ โดยผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และเอกสารหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แนะนำว่า อาหารที่จะช่วยให้มีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรค คืออาหารที่มาจากพืชโดยตรง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผู้เชี่ยวชาญเรียกวิถีนี้ว่า การรับประทานอาหารเน้นพืช (PBWF : Plant Based Whole Food) คือแนวทางการรับประทานอาหารที่ทำมาจากพืช ประกอบด้วย ผลไม้ ผัก พืชหัว ธัญพืช และพืชตระกูลถั่ว ซึ่งไม่ผ่านการสกัด แยกเอากากหรือเนื้อส่วนหยาบออกไปจนเหลือแต่น้ำมันและน้ำตาล มีสีสันตามธรรมชาติ ปราศจากการขัดสี หรือสีเพียงครั้งเดียวเพื่อแยกเอาส่วนที่เป็นเปลือกออกไป ส่วนที่เหลือไม่ว่าจะเป็นต้นอ่อน หรือเยื่อหุ้มเมล็ด ต้องยังคงอยู่เต็ม 100%

วิถี PBWF ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กชั้นนำจากทั่วโลกว่า เป็นการเริ่มต้นอาหารที่ถูกต้อง ไม่เพียงแค่มั่นใจได้ว่าดีต่อสุขภาพของลูกรัก แต่เด็กๆ ยังจะได้รับสารอาหารเพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ เพราะอาหารพืชมีคุณประโยชน์มาก ให้พลังงานสูง เปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนา เช่น โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามิน เกลือแร่ กรดไขมันโอเมก้า 3 ฯลฯ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใยอาหาร ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารและขับถ่ายทำงานได้สมบูรณ์มากขึ้น ลดปัญหาท้องผูกได้ดี ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งยังมีผลลัพธ์ที่ดีต่อเนื่องไปยังตอนโต จากการป้องกันไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังร้ายแรงอย่าง มะเร็ง เบาหวาน และโรคหัวใจ ได้อีกด้วย

 

สนใจรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโภชนาการอาหาร คลิกเลย : https://startright.info/

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team