ลูกติดเกมส์ เล่นโซเชียล แพทย์เตือนเสี่ยง ตาเสื่อม อารมณ์ก้าวร้าว-แปรปรวน

แพทย์เตือนลูกติดเกมส์-โซเชียล เสี่ยงตาเสื่อม อารมณ์ก้าวร้าว ผลกระทบระยะยาวที่ไม่คุ้มเสี่ยง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกติดเกมส์ เล่นโซเชียล

พ่อแม่หลาย ๆ คน ไม่มีเวลาดูแล เอาใจใส่ลูกมากนัก จึงปล่อยให้ลูกน้อยเพลิดเพลินไปกับสื่อโซเชียล ติดการเล่นเกม พอเติบโตขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้ก็แก้ไม่หาย กลายเป็นวัยรุ่นที่พัวพันอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ตลอดเวลา จึงเกิดเป็นปัญหา ลูกติดเกมส์ เล่นโซเชียล

 

ลูกติดจอส่อตาพัง

“หากลูกของคุณนั่งเฝ้าอยู่หน้าจออุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ไม่ขยับ อาการแบบนี้อาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพทางการมองเห็นได้ เช่น ภาวะสายตาสั้น หรือ ภาวะจอตาเสื่อมที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ ภาวะดังกล่าวอาจมาเยือนลูกคุณก่อนวัยอันควร ตามด้วยอาการ CVS (Computer Vision Syndrome) คือโรคที่มาจากการใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนัก จดจ่อกับหน้าจอมากเกินไป ไม่ได้พักสายตา อาการแบบนี้สามารถรักษาได้โดยการปรับพฤติกรรม”

พญ.รัติยา พรชัยสุรีย์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคตาเด็ก แพทย์ที่ปรึกษาโรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวว่า พ่อแม่ทุกคนควรหันมาใส่ใจให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพดวงตาของเด็ก เนื่องจากดวงตาเปรียบเสมือนหน้าต่างของสมอง เพราะในเด็กเล็กนั้นพัฒนาการและทักษะต่าง ๆ ยังไม่พัฒนาเต็มที่

ดังนั้น เด็กจะรับรู้เรื่องราวผ่านการมองเห็นมากที่สุด โดยเฉพาะ 4 ปีแรก เด็กจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว ซึ่งหากเด็กมีปัญหาการมองเห็นไม่สมบูรณ์หรือการรับภาพไม่ชัดเจน ก็อาจส่งผลต่อการประมวลผลข้อมูลที่ส่งไปยังสมองและการกระทบต่อพัฒนาการด้าน การเรียนรู้ของเด็ก (จักษุแพทย์ หรือ แพทย์ทางด้านสายตา) กล่าว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เก็บตาใส ๆ ของลูกไว้ท่องโลกกว้าง

ยังมีผู้คนที่ต้องพบปะไปยันแก่เฒ่า ยังมีความรู้ในหนังสือที่น่าอ่านอีกเป็นล้านเล่ม ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่รูปถ่ายเก็บอารมณ์ไว้ได้ไม่หมด แทบทุกสิ่งใช้ตาชื่นชมเป็นด่านแรก ฉะนั้นสอนเขาและตัวคุณเองด้วยแรงบันดาลใจเชิงภาพที่จะช่วยเขารักษาตาคู่น้อยไว้ให้นาน

  1. วางจอให้พอดี จากข้อมูลของ American Optometric Association เผยว่า ควรวางจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาประมาณ 15 ถึง 20 องศา และ สายตาอยู่ห่างจากจอสักหนึ่งช่วงแขน
  2. ปรับแสงระหว่างใช้งาน ใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือในที่ที่มีแสงไฟเพียงพอ กรณีปิดไฟในห้อง ให้ลดระดับความจ้าของอุปกรณ์ลง
  3. เลือกเกมฝึกทักษะ พ่อแม่ควร ทำความรู้จักกับเกมสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิต และผลักดันให้ลูกเลือกเล่นประเภทวางแผนคุมทีมกีฬา เกมสร้างบ้านสร้างเมือง เกมคำศัพท์ หรือการคำนวณ เป็นอันดับแรก ๆ
  4. เล่นเป็นเวลา ต้องรู้จักตั้งกฎเล่นเกม เวลาไหนให้ลูกเล่นได้ และเวลาไหนไม่ควรเล่น นอกจากนั้นยังรู้จักให้รางวัลลูก หลังความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ บางอย่าง แล้วจึงปล่อยให้เล่นเกมได้

 

ส่วนในเรื่องของการนำไปสู่ภาวะอารมณ์แปรปรวนในเด็กและวัยรุ่น พญ.กมลวิสาข์ เตชะพูลผล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลพญาไท 2 เผยว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้เด็กติดเกม พ่อแม่หลายท่านอาจมองข้ามประเด็นเหล่านี้ หนึ่ง-เด็กมีภาวะซึมเศร้า จึงหาทางออกด้วยการอยู่กับตัวเอง สอง-เด็กอยากได้รับการยอมรับจากเพื่อน เพราะพวกเขาต้องเข้าสังคม เมื่อเพื่อนคุยเรื่องเกม เด็กต้องคุยกับเพื่อนรู้เรื่อง สาม-เด็กสมาธิสั้น ไม่สามารถใช้เวลาจดจ่อ กับอะไรได้นาน ๆ จึงหันมาเล่นเกม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หัวร้อน ก้าวร้าว เอาแต่ใจ

อารมณ์และพฤติกรรมที่ไม่ปกติ ประการแรก-ลูกมีอารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว อาละวาด แสดงออกทางอารมณ์ไม่เหมาะสมกับพ่อแม่ เมื่อคุณกำลังตักเตือนว่าใช้เวลาในการเล่นมากเกินไปแล้ว ถัดมา- ลูกเรียกร้อง เปลี่ยนมือถือรุ่นล่าหรือเกมสุดฮิตตลอดเวลา พฤติกรรมที่กล่าวไปทั้งหมด เราเรียกรวมๆ ว่า ภาวะทางจิตเวช

“คุณพ่อคุณแม่ควรรีบเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านจิตวิทยาเด็ก ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลกระทบต่อสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง และอาจทำให้พัฒนาการของเด็กช้าลง แพทย์จะสามารถวางแผนช่วยเหลือในการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมกับตัวเด็ก ครอบครัว และสิ่งแวดล้อม” แพทย์หญิงกมลวิสาข์ กล่าวเพิ่มเติม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพื่อให้พวกเขาโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพทั้งกายและใจ อย่าให้เขามีเพื่อนสนิทเป็นเกมคอมพิวเตอร์ หรือโซเชียล มีเดีย เท่านั้น

#อย่าปล่อยให้แปรปรวน หนึ่งในแพคเกจ จากแคมเปญ “ไม่อยากให้ใครป่วยมาโรงพยาบาล” ในโอกาสครบรอบ 30 ปี รพ.พญาไท 2

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

การดูแลทารกแรกเกิดเมื่อกลับบ้าน ในสัปดาห์แรก แม่มือใหม่ต้องเจอกับอะไรบ้าง?

แก้ปัญหาลดภาวะเสี่ยง “เด็กติดจอ” อย่างไรดี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya