ลูกดูดนมแม่จากเต้าไปเรื่อย ๆ แบบนี้ จะรู้ได้ไงว่า ลูกอิ่มนม แล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เวลาที่ลูกร้องไห้งอแงด้วยความหิว แม่ก็จับเข้าเต้า ดูดนม ปล่อยให้ลูกดูดนมแม่ไปเรื่อย ๆ บางครั้งลูกหลับก็คิดว่าอิ่มแล้ว พยายามอุ้มออกจากเต้า ลูกกลับตื่นมางอแง ร้องขอดูดนมแม่ต่อ แล้วทีนี้ แม่จะรู้ได้ยังไงว่า ลูกอิ่มนม แล้ว ไม่ต้องห่วงนะคะ วันนี้ theAsianparent จะพามาดูกันว่าเด็กอิ่มนม แล้วเป็นอย่างไร จะรู้ได้ยังไงว่าลูกอิ่มแล้ว พร้อมแล้ว ไปติดตามกันค่ะ

 

เด็กดูดนมแม่ เด็กแรกเกิดมักจะติดเต้า ร้องไห้หิวนมตลอดทั้งวัน จนแม่ต้องอุ้มติดตัวตลอดเวลา แถมยังดูดนมแม่นานเป็นชั่วโมง คาดเดาไม่ได้เลยว่า ลูกอิ่มนม หรือยัง ถ้าอย่างนั้นแม่ลองสังเกตง่าย ๆ ว่าลูก คายหัวนมออกมาหรือเปล่า ถ้าลูกคายหัวนมออกมาแล้ว แสดงว่า ลูกกินอิ่ม แต่ถ้าลูกอมหัวนมเอาไว้แล้วหลับ หรือดูดเพียงเบา ๆ นั่นไม่ได้หมายความว่าลูกอิ่มนะคะ แม่ต้องกระตุ้นให้ลูกตื่นขึ้นมาดูดนมจนอิ่ม ก่อนอื่น คุณแม่ต้องเช็กดูก่อนว่าลูกดูดนมเข้าปากจริง ๆ

 

วิธีเอาลูกเข้าเต้า ให้ลูกดูดนมได้ ดูดนม

  1. อุ้มทารกโดยใช้มือประคองที่ต้นคอ และท้ายทอย ต้องระวังอย่าลงน้ำหนักไปที่ใบหูของลูกนะคะ
  2. จับให้ลูกเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย และเคลื่อนเข้ามากระชับตัวคุณแม่มากขึ้น
  3. คางลูกเข้าประชิดกับเต้านมส่วนล่าง โดยสังเกตว่าจมูกของลูก จะอยู่ตรงกับหัวนมแม่พอดี ทันทีที่ทารกน้อยสัมผัส และได้กลิ่นจากเต้านมแม่ ก็จะเริ่มอ้าปากโดยอัตโนมัติค่ะ
  4. แต่ถ้าเจ้าตัวน้อยยังไม่อ้าปาก ให้ลองใช้นิ้วมือเขี่ยที่ริมฝีปากล่างของลูกเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกอ้าปากดูนะคะ
  5. ใช้มืออีกข้างประคองเต้านมเอาไว้ โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน เหนือขอบนอกของลานหัวนม ส่วนนิ้วที่เหลือประคองเต้านมด้านล่าง

มีข้อควรระวัง คือ คุณแม่ไม่ควรใช้ท่าแบบนิ้วคีบบุหรี่ เพราะช่องว่างระหว่างนิ้วจะแคบ ทำให้ลูกอมเข้าลานนมได้ไม่ลึกพอ และนิ้วอาจจะกดบริเวณท่อน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลได้ไม่สะดวกด้วยค่ะ

นอกจากนี้ คุณแม่อยากลืมตรวจสอบดูด้วยว่า ลูกงับลานนมได้ดีหรือยัง โดยในขณะที่เอาลูกเข้าเต้าแล้ว หากคุณแม่ไม่มั่นใจว่า จัดท่าให้นมลูกได้ถูกต้องหรือไม่ ใช้วิธีสังเกตง่าย ๆ แบบนี้ค่ะ

  • ลูกอมลานนมด้านล่างได้มากกว่าด้านบนหรือเปล่า พยายามให้ลานนมด้านล่างถูกปากลูกอมจนมิด หรือเกือบมิด
  • ต้องปากลูกอ้ากว้างแนบสนิท กับเต้านมแม่
  • ขณะดูดนมริมฝีปากล่างบานออกเหมือนปากปลา
  • ต้องให้คางลูกต้องแนบชิดเต้านมแม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝึกลูก ดูดนม ลูกไม่ยอมอ้าปากเข้าเต้า ทำอย่างไรให้ลูกดูดเต้าอย่างถูกวิธี?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีกระตุ้นทารกแรกเกิดให้ดูดนมจนอิ่ม

  1. เขี่ยริมฝีปากลูกเบา ๆ กระตุ้นให้ดูดนมแม่ต่อ ด้วยการใช้นิ้วที่ประคองด้านล่างของเต้าเขี่ยปากลูกน้อยเบา ๆ
  2. บีบเต้านมเบา ๆ ให้น้ำนมแม่เข้าปากลูก วิธีนี้ลูกจะต้องกลืนน้ำนมและดูดต่อ ถ้าไม่ได้ผล อาจเป็นไปได้ว่าน้ำนมในเต้าน้อย ไหลช้า แม่ต้องเปลี่ยนให้ลูกเข้าเต้าอีกข้าง ทำจนกว่าลูกจะคายปากออกมาจากหัวนม ซึ่งแสดงว่าลูกอิ่มแล้ว
  3. ปลุกลูกให้ตื่นก่อน ถ้าลูกหลับก็ให้ปลุกลูกก่อน ค่อยเอาเข้าเต้าเพื่อดูดนมแม่อีกครั้ง

 

ป้องกันลูกหลับ ดูดนม แม่ควรทำอย่างไรระหว่างให้นม

  1. ให้นมลูกในบริเวณที่ไม่มีแสงแดดจ้า ๆ หรือหรี่ไฟในห้อง เพราะลูกจะหลับตาเมื่อเจอแสงจ้าเกินไป แล้วจะเคลิ้มหลับเอาได้ง่าย ๆ
  2. พูดคุย และจ้องตาลูก ระหว่างให้นมแม่ ลูกจะได้ไม่รู้สึกง่วงนอน

นอกจากนี้ ในช่วงกลางวันที่แม่อยากให้ลูกน้อยดูดนมได้อย่างเต็มอิ่ม แม่ต้องให้ลูกใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนามาก เพราะความอบอุ่นจะทำให้ลูกเคลิ้มหลับง่าย ๆ หรือถ้าลูกดูง่วง ๆ ดูดนมเบา ๆ แม่ลองเปลี่ยนผ้าอ้อม และใช้เนื้อเช็ดตัว ด้วยผ้าชุบน้ำซับเบา ๆ ที่หน้าผาก และแก้ม

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกบ้านไหนชอบ หลับคาเต้า ทำไมน้า เด็ก ๆ เข้าเต้าแล้วเฝ้าพระอินทร์ตลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

จะรู้ได้ยังไงว่า ลูกอิ่มนม

หลังให้นมจะรู้ได้อย่างว่าลูกอิ่ม หรือไม่อิ่มได้ง่าย ๆ โดยสังเกตได้จากเต้านมแม่ที่จะคัดตึงก่อนให้นม และนิ่มลงหลังให้นมแม่ แม่อาจจะได้ยินเสียงกลืนนมของทารก หลังกินนมอิ่มลูกน้อยจะนอนสงบ หลับสบาย ไม่ตื่นร้องหิวระหว่างมื้อนม ภายใน 24 ชั่วโมงลูกน้อยจะปัสสาวะ 6 ครั้งขึ้นไป และอุจจาระ 4 – 8 ครั้ง ทารกที่กินนมแม่จะมีน้ำหนักขึ้นโดยเฉลี่ย 18 – 30 กรัมต่อวัน หรือ 125 – 210 กรัมต่อสัปดาห์

นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่นตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 2 ปี ตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลกด้วย จะทำให้ลูกได้รับสารอาหารกว่า 200 ชนิด ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ไม่เจ็บป่วยง่าย โดยคุณภาพของน้ำนมแม่นั้นจะขึ้นอยู่กับอาหารที่แม่รับประทานด้วย ทั้งนี้ สมองเด็กจะพัฒนาการเร็วที่สุดในขวบปีแรก หากแม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามลูกก็จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ มีสติปัญญาดี รวมทั้งการอุ้มกอดสัมผัสตัวขณะดูดนมจากอกแม่จะช่วยให้ลูกได้รับความอบอุ่นและเกิดสายสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างแม่ลูกที่ดีด้วย”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การสังเกตอาการของทารกเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นคุณแม่จึงต้องคอยสังเกตว่า ลูกอิ่มนม แล้วหรือยัง เพื่อให้ลูกได้รับนมที่พอดี ไม่มีอาการแหวะนมหรือ Overfeeding ได้ นอกจากนี้ คุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกหลังดื่มนมว่าลูกอึดอัด หรือไม่สบายหรือเปล่า และควรจับลูกเรอหลังการให้นม เพื่อให้ลูกสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง และได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว ป้องกัน Overfeeding

ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ให้นมลูกได้ไหม ส่งผลกระทบถึงลูกหรือไม่

เลิกขวดนม กี่ขวบถึงจะดี? เปิดเคล็ดลับฝึกลูกเลิกขวดนม ป้องกันฟันผุ

ที่มา : 1, theasianparent

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya