เป็นไปได้ไง? ว่าที่คุณแม่หวิดดับ มดลูกทะลุ เพราะลูกดิ้นแรง

ลูกดิ้นแรง ทำให้คุณแม่มือใหม่คนนี้หวิดดับ เพราะลูกในท้องออกแรงถีบแรง จนขาของน้องทะลุออกมาติดอยู่ตรงช่องท้อง

เป็นไปได้ไง? ว่าที่คุณแม่หวิดดับ มดลูกทะลุ เพราะ ลูกดิ้นแรง

ว่าที่คุณแม่ชาวจีน มดลูกทะลุ หวิดดับ เหตุ ลูกดิ้นแรง ไปหน่อย จนขาทะลุออกไปนอกมดลูก โชคยังเข้าข้างที่แพทย์ให้การช่วยเหลือได้ทันเวลา

วันที่ 12 ตุลาคม 2560 ผู้สื่อข่าวต่างประเทศในเว็บไซต์มิเรอร์ รายงานว่า มีว่าที่คุณแม่ชาวจีนรายหนึ่งใช้นามแฝงว่า ฝาง กำลังตั้งครรภ์ได้ 35 สัปดาห์ ถูกนำตัวเข้าส่งโรงพยาบาลมหาวิทยลัยปักกิ่งอย่างกระทันหัน ในเมืองเซิ้นเจิน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ภายหลังจากมีอาการเจ็บท้องอย่างรุนแรง แล้วมีเหงื่อไหลเป็นจำนวนมาก เมื่อแพทย์เห็น จึงได้เร่งปฏิบัติการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

จากการวินิจฉัยของแพทย์ ได้ข้อสรุปว่า ผนังของมดลูกของว่าที่คุณแม่ฉีกขาด ทำให้แพทย์รู้สึกตกใจกับเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งสาเหตุมาจากทารกในครรภ์ดิ้นแรง โดยเตะทะลุผ่านผนังผนังมดลูก และทะลุไปจนติดกับช่องท้อง

แพทย์ได้ระบุว่า ต้นตอมาจากการที่ว่าที่คุณแม่ชาวจีนคนนี้ ถูกผ่าตัดมดลูกมาก่อน เพื่อรักษาอาการเนื้องอกของมดลูก ทำให้ยังคงร่องรอยความเสียหายจากการผ่าตัดครั้งนั้น ซึ่งเป็นภาวะเสี่ยงทำให้เกิดการฉีกขาดง่ายของผนังมดลูก ถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง เนื่องจากผู้เป็นมืออาจช็อคจากการเสียเลือดมาก หรืออาจติดเชื้อถึงขั้นเสียชีวิตได้

ในท้ายที่สุด ทีมแทพย์ได้ให้ความช่วยเหลือ ทั้งแม่ และเด็กได้สำเร็จ ปลอดภัยทั้งคู่ จากการรายงาน พบว่า หนูน้อยที่คลอดออกมาเป็นผู้หญิง ซึ่งจากกรณีดังกล่าว แพทย์ได้แนะนำให้คุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งคลอดลูกจากการผ่าตัด ควรมีการตรวจร่างกายให้มั่นใจว่าผนังมดลูกที่ผ่าตัด มีความแข็งแรงสมบูรณ์มากพอ รวมถึงเช็กว่าผนังมดลูกจุดที่ตัวอ่อนฝังตัวอยู่ เป็นจุดเดียวกับที่มีรอยแผลหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ และเด็ก

เรื่องน่ารู้ : การดิ้นของทารก ในครรภ์

บทความ : เช็คอาการ !! ลูกในท้องดิ้นแรง การดิ้นของทารก บอกอะไร

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย  ให้ความรู้เรื่องการดิ้นของทารกในครรภ์ไว้ว่า   การดิ้นของทารกน้อย  โดยทั่วไปแล้วทารกน้อยจะเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 16 – 20 สัปดาห์  แต่ถ้าใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง จะสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของทารกได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์  การเคลื่อนไหวของทารกที่ต่อเนื่องมากกว่า 20 วินาที จากการศึกษาพบว่า

1. อายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ทารกจะดิ้นประมาณ 200 ครั้งใน 12 ชั่วโมง

2. ทารกจะดิ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ทารกจะดิ้นประมาณ 575 ครั้งใน 12 ชั่วโมง

3. หลังจากนั้นทารกจะดิ้นน้อยลงเรื่อย ๆ และเมื่ออายุครรภ์ 40 สัปดาห์ทารกจะดิ้นประมาณ 282 ครั้งใน 12 ชั่วโมง

การหลับ  การตื่น ของทารกในครรภ์

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย  ให้ความรู้เรื่อง  การหลับ  การตื่นของทารกในครรภ์ ดังนี้  ทารกในครรภ์จะมีช่วงหลับและช่วงตื่นไม่ตรงกับคุณแม่ ช่วงระยะเวลาการนอนหลับของทารกต่อ 1 รอบนาน 20 นาทีถึง 75 นาที  นอกจากนี้ทารกในครรภ์ยังมีการดิ้นในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากัน  พบว่า  ทารกจะดิ้นมากระหว่างเวลา 21.00 – 01.00 น. เวลาที่ทารกดิ้น คือเวลาที่ทารกตื่น

เช็คอาการ !!ลูกในท้องดิ้นแรง ดิ้นช้า หรือไม่ดิ้นบอกอะไร

ข้อมูลความรู้คำถาม : คำตอบ  จากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ดังนี้

1. คำถาม : ลูกดิ้นมากผิดปกติมีปัญหาอะไรหรือไม่?

คำตอบ : ทารกเคลื่อนไหวมากเกินปกติ หมายถึง ทารกเคลื่อนไหวมากกว่าชั่วโมงละ 40 ครั้ง ซึ่งจะพบได้ประมาณร้อยละ 5 ของแม่ท้องทั่วไป  ภาวะดังกล่าวไม่สัมพันธ์กับความพิการของทารก หรือการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด หรือภาวะแทรกซ้อนของสายสะดือแต่อย่างใด  ทารกสามารถเคลื่อนไหวได้แรง  แม้ขณะแม่เจ็บท้องและมักจะปกติหลังคลอด  จากการตรวจเด็กเหล่านี้ในช่วง 1 ปีแรก  ไม่พบว่าไม่มีความผิดปกติทางการเจริญเติบโตแต่อย่างใด

สำหรับกรณีที่คุณแม่ควรสังเกตที่อาจแสดงถึงภาวะที่อาจเกิดอันตราย  คือ   ทารกเคลื่อนไหวมากอย่างฉับพลันและรุนแรงแล้วหยุดการเคลื่อนไหวไปเลย  มักเป็นสัญญาณของภาวะเครียดเฉียบพลัน และอาจเสียชีวิตได้  ซึ่งเกิดจากการกดสายสะดือ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนดรุนแรง

2. คำถาม : ลูกดิ้นลดลงบอกถึงอะไร

คำตอบ :  การเคลื่อนไหวของทารกเป็นสัญญาณบอกว่า  ทารกยังอยู่ในภาวะปกติแข็งแรง ถ้ามีภาวะเครียด  เช่น  ขาดออกซิเจนการไหลเวียนของเลือดที่รกลดลง  ทารกจะเคลื่อนไหวน้อยลงก่อนหรือหยุดไป  เชื่อว่า  เกิดจากการกดระบบประสาท หรืออาจเป็นเพราะร่างกายต้องการลดพลังงานและออกซิเจน  เพื่อสงวนไว้ให้อวัยวะที่สำคัญ ๆ เช่น  สมองและหัวใจ  เป็นต้น

3. คำถาม : การนับลูกดิ้นทำอย่างไร

คำตอบ :  วิธีการนับลูกดิ้นมีหลากหลายวิธี  และมีการแปลผลที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบว่าการนับแบบใดดีที่สุด  วิธีการที่นิยมกันแพร่หลาย ได้แก่

1. Sadovsky วิธีการนี้ให้นับวันละ 3 ครั้งหลังอาหารทุกวัน ถ้าน้อยกว่า 3 ครั้งต่อชั่วโมง ให้นับต่ออีก 6 – 12 ชั่วโมงต่อวัน  รวมจำนวนครั้งที่ดิ้นทั้งหมดคิดเป็น 12 ชั่วโมงถ้าน้อยกว่าเท่ากับ 10 ครั้ง ถือว่าทากรดิ้นน้อยลง

2. The Cardiff “ Count – to – ten charf” คือ  การนับจำนวนทารกเคลื่อนไหวตั้งแต่ 9.00 น. จนครบ 10 ครั้ง ซึ่งไม่ควรใช้เวลาเกิน 12 ชั่วโมง (ถึง 21.00 น.)

3. คำถาม : หากลูกดิ้นน้อยลงจริงควรทำอย่างไร?

คำตอบ :  การบันทึกการดิ้นของทารกโดยการนับของแม่  อาจคลาดเคลื่อนได้ขึ้นกับความแรงของการดิ้นของทารก  ตำแหน่งของรกที่อยู่ทางด้านหน้า  ระยะเวลาที่ทารกเคลื่อนไหว  หรือความตั้งใจของแม่ในการนับจำนวนการดิ้นของทารก ถ้าทารกดิ้นน้อยลงจริงควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน  เพื่อประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วยวิธีการอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยใช้คลื่นไฟฟ้า

อ้างอิงข้อมูลจาก www.rtcog.or.th

เอกสารเผยแพร่ “ลูกในท้องคุณแม่สบายดีหรือ” โดยคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพสตรี  ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

ที่มา : kapook

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

กรมอนามัยชี้ ฟันผุในหญิงตั้งครรภ์ สะเทือนถึงลูกในท้อง!!

คลิปท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูก อาการ เป็นยังไง แม่จะตั้งครรภ์อีกได้ไหม

ลูกดิ้นแรงจนเส้นเลือดฝอยแตก “หนูเล็ก” เตือน! คนท้องปวดท้องน้อยต้องระวัง

บทความโดย

Khunsiri