ลูกกินยากจนแม่ห่วงจะโตช้า แก้ปัญหาอย่างไรดี

ลูกกินยาก มองผิวๆ อาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่แท้จริงกลับเป็นเรื่องสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของลูก ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการในทุกๆ ด้านของลูกน้อยด้วย ปัญหาลูกกินยาก จึงกลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องกังวลของคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัย 1-6 ขวบ เมื่อถึงมื้ออาหารทีไร คุณแม่เหมือนรู้สึกต้องลงสนามสู้รบ ป้อนข้าวเจ้าหนูกินยาก แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ถ้าคุณแม่ลองแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้...

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกกินยาก มักจะพบอยู่ในช่วงเด็กวัย 1-6 ขวบ ที่มักมีพฤติกรรมปฏิเสธการกินเมื่อถึงเวลาอาหาร มักจะเคี้ยวอาหารช้า ชอบอมข้าว หรือชอบคายข้าวทิ้งออกมา กินน้อย กินไม่กี่คำก็บอกว่าอิ่ม และชอบกินแบบซ้ำๆ เดิมๆ เช่น กินก๊วยเตี๋ยวก็จะกินแต่เส้น อะไรที่แปลกใหม่ก็จะไม่ยอมกิน หากถูกพ่อแม่บังคับให้กินอาหาร ก็อาจอาเจียนออกมา เป็นสาเหตุให้พ่อแม่ใจอ่อน ยอมปล่อยให้ลูกไม่กินข้าว

ผลกระทบจากการที่ลูกกินยากหรือมีนิสัยเลือกกิน

การที่ลูกได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ เนื่องมาจากการที่ลูกกินยากหรือเลือกกินอาหาร นอกจากเป็นปัญหาหนักใจให้กับคุณพ่อคุณแม่และสร้างความกังวลใจไม่ใช่น้อย ยังส่งผลกระทบต่อตัวลูกได้

  • เนื่องจากสมองของเด็กในช่วง 3 ขวบปีแรกมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการเพิ่มของเซลล์สมองกว่าแสนล้านเซลล์ และมีขนาดประมาณ 80% ของสมองผู้ใหญ่ ดังนั้นการที่ลูกได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอก็จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง พัฒนาการด้านการเรียนรู้ และความเฉลียวฉลาดของลูกในอนาคตได้
  • ด้านการเจริญเติบโตทางกายภาพ เด็กที่รับอาหารไม่เพียงพอเป็นเวลานาน จะทำให้น้ำหนักตัวลูกน้อยลง และส่วนสูงไม่ตามเกณฑ์
  • ด้านพัฒนาการทางจิตใจ (EQ) นำไปสู่พฤติกรรมการปรับตัวเข้าสังคมได้ยากในอนาคต และอาจรุนแรงมากเมื่อเด็กโตขึ้น
  • ส่งผลทำให้สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อย และมีผลกระทบต่อด้านอื่นๆ อีกมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกกินยากจนแม่ห่วงจะโตช้า แก้ปัญหาอย่างไรดี

  • พ่อแม่ควรติดตามการเจริญเติบโตด้านน้ำหนัก และประเมินภาวะโภชนาการของลูกได้ ด้วยวิธีง่ายๆ คือการ ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเทียบกับกราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์อายุและเพศของลูก
  • ดูสาเหตุและปัญหาของลูกกินยาก หรือการที่ลูกเลือกกิน ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรกดดัน และหาวิธีอื่นๆ เพื่อคอยปรับพฤติกรรมของลูก เช่น ชวนลูกมานั่งรับประทานร่วมกันพ่อ แม่ ลูก เพื่อกระตุ้นให้ลูกรู้สึกอยากกินอาหารที่พ่อแม่กินด้วย สร้างบรรยากาศบนโต๊ะอาหารให้สนุกสนาน และมีเมนูโปรดลูกบนโต๊ะอย่างน้อย 1 อย่าง แทรกไปกับเมนูจานอื่นๆ ซึ่งคุณแม่อาจดัดแปลงเมนูอาหารเป็นรูปตัวการ์ตูนน่ารักๆ เป็นการกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารของลูกได้
  • สังเกตพฤติกรรมการกินของลูกว่า ลูกชอบกินอาหารแบบไหน รสชาติอย่างไร เสริมอาหารให้ลูกได้รับครบ 5 หมู่ต่อวัน โดยเน้นอาหารที่มีโปรตีนและให้พลังงานสูง เช่น ให้ลูกได้กินไข่ ดื่มนม กินชีส ปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน หากลูกกินอาหารแต่ละมื้อได้น้อย ควรจัดมื้อต่อวันให้เพิ่มขึ้น กินผักและผลไม้ หรือเสริมด้วยวิตามินและแร่ธาตุเพิ่ม
  • ในกรณีที่พ่อแม่มองว่าการที่ลูกกินยากอาจมีสาเหตุผิดปกติอื่น เช่น สาเหตุจากต่อมรับรสทำงานตอบสนองมากกว่าปกติ ทำให้เกิดความไวต่อการรับรส เช่น รสขม จึงทำให้ไม่อยากกินอาหารนั้นๆ หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการกินอาหารที่เด็กไม่สามารถกินอาหารบางชนิดได้ หรือการกลัวที่จะลองกินอาหารแปลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย พ่อแม่สามารถพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการของลูกได้

ปัญหาของลูกกินยากหรือมีนิสัยเลือกกิน อาจไม่สามารถแก้ไขได้ในพริบตา ซึ่งนอกจากการค่อยๆ ปลูกฝังลักษณะนิสัยด้านการกินให้กับลูก และการส่งเสริมโภชนาการเพื่อให้ลูกรับได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนแล้ว การเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญจะช่วยรักษาสมดุลของร่างกายให้กับลูกได้  สำหรับลูกน้อยที่มีปัญหาในการรับประทานอาหาร การให้ลูกได้รับวิตามินรวมผสมไลซีน จะมีส่วนช่วยเร่งในการเผาผลาญอาหาร ทำให้ลูกเจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ป้องกันการขาดวิตามิน ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กที่เบื่ออาหารและสำหรับเด็กในวัยเจริญเติบโต เพื่ออนาคตที่สมวัยของลูกรัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อมูลเพิ่มเติมคลิก:  https://www.sevenseasthailand.com/products.htm

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team