ลูก 2 ขวบไม่พูด ควรพาลูกไปตรวจการได้ยิน

การได้ยินของเด็กมีผลต่อการพูด หากการได้ยินบกพร่อง อาจทำให้ลูกพูดช้า พูดไม่ชัด คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่าลูกได้ยินเสียงหรือไม่ จากการตอบสนองต่อเสียงในช่วงอายุต่างๆ หากพบความผิดปกติ ควรพบคุณหมอด้านหู คอ จมูก เพื่อตรวจการได้ยิน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีสังเกตว่าลูกได้ยินหรือไม่

โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ แนะนำให้คุณพ่อสังเกตว่าลูกได้ยินเสียงหรือไม่ โดยการตอบสนองต่อเสียงในช่วงอายุต่างๆ ดังนี้

แรกเกิด – 3 เดือน

  • สะดุ้ง ตื่น ร้องไห้ เมื่อได้ยินเสียงดัง
  • เริ่มจำเสียงแม่ได้

อายุ 3 – 6 เดือน   

  • เริ่มหันหาเสียง
  • ตอบสนองต่อเสียงแม่
  • หันมาหาเมื่อเรียกชื่อ

อายุ 6 – 12 เดือน

  • หันไปหาเสียงซึ่งเรียกจากด้านหลัง
  • เข้าใจคำว่า “ ไม่ ” “ บ๊าย – บาย ”
  • มองหาเมื่อได้ยินเสียงแปลกๆ
  • ชี้หรือหยิบของได้เมื่อพ่อแม่บอก

อายุ 1 – 1 ½ ปี

  • เริ่มคำพูดง่ายๆ ได้

อายุ 2 ปี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • สามารถตองสนอง เข้าใจเมื่อพูดจากที่ไกล
  • พูด 2 คำติดกันได้

เมื่อไรจึงควรพาลูกไปตรวจการได้ยิน

อาจารย์ถิรพร เลิศสวัสดิ์  ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจการได้ยิน โรงพยาบาลพญาไท 2 แนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูกทันทีที่สงสัยว่าลูกมีการได้ยินผิดปกติหรือมีการพัฒนาการทางภาษาล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาการได้ยิน ดังต่อไปนี้

  • เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนไม่สะดุ้งตกใจเวลามีเสียงดัง ไม่หันหาเสียง ไม่หยุดร้องเมื่อได้ยินเสียงปลอบ ไม่เล่นน้ำลายหรือส่งเสียงอืออา
  • เด็กอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 1 ขวบ แต่ไม่ตอบสนองต่อเสียง เรียกชื่อไม่หัน ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆ
  • เด็กอายุระหว่าง 1-2 ขวบแต่ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมาย หรือพูดได้น้อยกว่า 20 คำ ไม่ตอบสนองต่อเสียง
  • เด็กมีประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันบ่อย ๆ หรือมีน้ำในหูชั้นกลางติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน
  • มีประวัติครอบครัวหรือเครือญาติที่มีเด็กหูหนวก หรือเป็นใบ้ ตั้งแต่กำเนิด
  • เด็กมีความผิดปกติของใบหน้า โดยเฉพาะการผิดรูปของใบหูและช่องหู
  • แม่มีประวัติการติดเชื้อหัดเยอรมัน ซิฟิลิส ไข้สุกใส ตั้งแต่ตั้งครรภ์
  • มารดาดื่มสุรา สูบบุหรี่ ติดยาเสพติดหรือสารระเหยระหว่างตั้งครรภ์
  • เด็กมีภาวะการเจ็บป่วยหรือจำเป็นต้องได้รับการรักษาในหออภิบาลวิกฤติทารกแรกเกิด (ไอซียูเด็ก) นานเกิน 48 ชั่วโมง
  • เด็กมีประวัติเจ็บป่วยที่สำคัญในช่วงแรกคลอดจนถึง อายุ 28 วัน เช่น ตัวเหลืองจนได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือด หรือมีปัญหาการหายใจจนต้องได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
  • เด็กมีประวัติได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ
  • เด็กมีประวัติการติดเชื้อที่ทำให้หูหนวกได้ เช่น หัด คางทูม เยื่อหุ้มสมองอักเสบและไข้สมองอักเสบ เป็นต้น

การตรวจการได้ยินในเด็กเล็ก

การตรวจการได้ยิน ABR คืออะไร

ABR ย่อมาจาก Auditory Brainstem Response หมายถึง การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง

อาจารย์ถิรพร เลิศสวัสดิ์  ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจการได้ยิน โรงพยาบาลพญาไท 2  กล่าวว่า การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง หรือ ABR เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของการได้ยินในเด็กเล็ก ทำโดยการติดสื่อนำสัญญาณ (electrode) เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในระบบประสาทหูชั้นในส่วนลึก เมื่อปล่อยเสียงเข้าไปตรวจในหู เด็กต้องหลับสนิท อาจให้เด็กหลับเอง หรือใช้ยาสลบ ใช้เวลาในการตรวจประมาณครึ่งชั่วโมง ผลมีความแม่นยำมากกว่า 98%

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถ้าผลตรวจ ABR ผิดปกติควรทำอย่างไร

ข้อมูลจากเพจ คลินิก หมอจตุพร หูคอจมูก ภูมิแพ้ ให้ข้อมูลว่า การตรวจการได้ยิน ABR (Acoustic Brain Response) เป็นการตรวจที่ละเอียด สามารถบอกตำแหน่งของการผิดปกติ และบอกระดับการได้ยินของเด็กได้ ดังนั้น ABR จึงสามารถใช้วินิจฉัย (Diagnosis) ได้เลยว่า เด็กมีปัญหาเรื่องการได้ยินแน่นอน ถ้าผลตรวจผิดปกติ

ในเด็กที่มีปัญหาว่า ABR ผิดปกติ จะมีการนำเด็กเข้าตรวจ ASSR ต่อไป เพื่อหาข้อมูลสำหรับการฟื้นฟู

การตรวจ ASSR (Auditory Steady State Response) จะทำให้ทราบภาพรวมของระดับการได้ยิน เพื่อใช้เป็นข้อมูล สำหรับการฟื้นฟูเด็กโดยเฉพาะ ใช้ในการเลือกเครื่องช่วยฟังให้เด็ก ได้อย่างเหมาะสม เพราะการเลือกเครื่องช่วยฟังที่ไม่เหมาะกับการได้ยินของเด็ก อาจเป็นการซ้ำเติมให้ประสาทหูของเด็กแย่ลงมากขึ้นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทางด้าน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ‘แพทย์หญิงสุจิตรา ประสานสุข’ ผู้อำนวยการศูนย์การได้ยิน การพูด การทรงตัว และเสียงในหู โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ถ้าตรวจการได้ยินแล้ว เขาไม่สามารถได้ยินเสียงในระดับที่ปกติ เราก็จะดูว่าเขาสามารถได้ยินเสียงในระดับเท่าใด ณ ความถี่ต่างๆ โดยการตรวจ ASSR เด็กกลุ่มนี้ก็สามารถใช้ เครื่องช่วยฟัง ซึ่งมีลักษณะคล้ายหูฟังบลูทูธติดไว้ที่หู เพื่อขยายเสียง เขาก็สามารถรับรู้เสียงได้ มีชีวิตปกติเหมือนเด็กทั่วไป สามารถเรียนรู้ วิ่งเล่นกับเพื่อน ทำกิจกรรมต่างๆ ได้

แต่ถ้าทำการตรวจแล้ว เด็กไม่สามารถรับรู้ได้เลย ไม่ว่าระดับเท่าใดก็ตาม ก็ต้องมาดูว่าเขามีปัญหาอะไร ถ้าหูหนวกทั้ง 2 ข้าง ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใส่เครื่องช่วยฟัง และไม่มีความพิการผิดปกติของหูชั้นใน ก็อาจจำเป็นต้องพิจารณาการรักษาด้วย การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมโดยเครื่องที่ฝังเข้าไปจะเป็นขดลวดไฟฟ้าต่อกับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณเสียงแทนอวัยวะรับเสียง โดยเครื่องนี้จะเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นประสาทรับเสียงต่อไปยังสมอง ทำให้เด็กสามารถได้ยินเสียงเหมือนคนปกติที่ใช้หูเป็นตัวรับเสียง และการผ่าตัดฝังเครื่องประสาทหูเทียมจะทำเพียงแค่ครั้งเดียว แล้วใช้ได้ตลอดชีวิต

ข้อคิดทิ้งท้าย

ในเด็กที่มีปัญหาการได้ยิน แล้วเริ่มฟื้นฟูก่อน อายุ 6 เดือน การพัฒนาการพูดของเด็กจะดีมาก แต่ถ้าปล่อยให้เด็กมีปัญหาการได้ยิน ไปจนอายุ 2 ขวบ ถึงสังเกตพบว่า ลูกพูดช้า หรือไม่พูด ค่อยพามาพบแพทย์ แล้วจึงพบว่า ลูกมีปัญหาเรื่องการได้ยิน การฟื้นฟูของเด็กจะไม่ดีนัก ดังนั้นจึงควรสังเกตความผิดปกติทางการได้ยินของลูกแต่เนิ่นๆ เพื่อสามารถแก้ไขอย่างทันท่วงทีนะคะ

ที่มา www.si.mahidol.ac.th, www.doctor.or.th, https://health.spr.go.th/ www.bangkokhealth.com

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ลูกพูดช้า…ปัญหาที่แก้ได้

5 เทคนิคสอนลูกหัดพูด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา