ลักษณะที่แสดงว่าแม่มีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูก แบบนี้เลิกกังวลได้เลย

คุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจจะเป็นกังวล กลัวว่าจะมีน้ำนมให้ลูกกินน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกในแต่ละวัน ซึ่งบางครั้ง เมื่อคุณแม่เกิดความเครียดแล้ว จากน้ำนมที่มีเพียงพอก็อาจจะลดน้อยลงจนลูกไม่พอกินเลยก็ได้ แต่อย่าเพิ่งเป็นกังวลใจไป เรามาดูกันว่า ลักษณะที่แสดงว่าแม่มีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูก นั้นเป็นอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าทารกได้รับน้ำนมเพียงพอ ถ้าอยากให้น้ำนมไม่พอต้องทำอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลักษณะที่แสดงว่าแม่มีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูก

ลักษณะที่แสดงว่าแม่มีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูก ได้แก่

  1. มีเต้านมตึง ไม่เจ็บก่อนให้นมลูก และนุ่มลงหลังให้ลูกดูด
  2. มีน้ำนมไหลในข้างที่ไม่ได้ดูด หรือที่เรียกกันว่า let down reflex
  3. มีเสียงลูกดูดกลืนนมเป็นจังหวะขณะดูดนม ริมฝีปากลูกเปียกชื้นหลังจากที่ลูกหยุดดูดนม

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าทารกได้รับน้ำนมเพียงพอ

คุณแม่จะสังเกตว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอได้จาก

  • เด็กจะคายหัวนมออกเมื่ออิ่มแล้ว
  • ลูกมีท่าทางพอใจหลังจากเวลาการกินนมใกล้สิ้นสุดลง
  • ลูกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลังผ่านไปสองสัปดาห์แรก
  • คุณแม่ไม่รู้สึกเจ็บที่เต้านมและหัวนมจนเกินไป
  • รู้สึกว่าเต้านมโล่งและเบาขึ้นหลังจากให้ลูกกินนม
  • ลูกมีสีผิวที่แสดงถึงการมีสุขภาพดีและผิวตึงกระชับโดยเมื่อกดลงไปผิวลูกจะเด้งขึ้น
  • หลังจากผ่านไปสองถึงสามวันแรก ลูกควรจะฉี่อย่างน้อยหกครั้งต่อวัน
  • หลังจากนั้น 2-3 วัน ลูกควรจะอึอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน โดยมีสีเหลืองหรือสีคล้ำ และสีเริ่มอ่อนลงหลังจาก 5 วันผ่านไป

ลักษณะที่แสดงว่าแม่มีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูก

สาเหตุที่ทำให้น้ำนมไม่พอ

สาเหตุที่ทำให้น้ำนมไม่พออาจเกิดได้จาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ให้ลูกเริ่มดูดนมช้า ให้ลูกดูดไม่บ่อย ดูดระยะเวลาสั้น
  • ท่าให้นมไม่ถูกต้อง ลูกอมหัวนมและลานนมไม่ถูกต้อง
  • ให้นมผสมร่วมด้วย
  • ลูกป่วย หรือมีความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถดูดนมได้
  • คุณแม่ขาดความมั่นใจในการให้นม ไม่ต้องการจะให้นม
  • เครียด วิตกกังวล

ไม่อยากให้น้ำนมไม่พอต้องทำอย่างไร

  1. หลีกเลี่ยงการให้นมผสม การให้ลูกดูดจุกนมหลอก คุณแม่สามารถให้ลูกดูดนมได้เร็วที่สุด และดูดได้บ่อยเท่าที่ต้องการ
  2. ให้นมลูกในท่าที่ถูกต้อง
  3. ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน
  4. ในกรณีที่คุณแม่ต้องออกไปทำงาน คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ในช่วงกลางคืน หรือตลอดเวลาที่คุณแม่อยู่กับลูก
  5. แนะนำให้บีบเก็บน้ำนมทุก 3 ชั่วโมงและเก็บน้ำนมอย่างถูกต้อง

ที่มา med.cmu.ac.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไวท์ดอท (white dot) ปัญหาปวดเต้าของแม่ให้นม

จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว ป้องกัน Overfeeding

อุ้มลูกให้นมแบบไหน ลูกยอมเข้าเต้าง่าย ดูดจ๊วบๆ น้ำนมไหลสบาย แม่ไม่เหนื่อยล้า

บทความโดย

P.Veerasedtakul