ลดน้ำหนักตอนให้นม ยังไง นมแม่ไม่เสียคุณค่าและไม่หดหาย

ลดน้ำหนักตอนให้นม ยังไง นมแม่ไม่เสียคุณค่าและไม่หดหาย น้ำหนักส่วนเกินก็อยากเอาลง แต่ก็ยังอยากให้นมลูกต่อ ลดน้ำหนักยังไงดีนะ

ลดน้ำหนักตอนให้นม ยังไง นมแม่ไม่เสียคุณค่าและไม่หดหาย

ลดน้ำหนักตอนให้นม ยังไง นมแม่ไม่เสียคุณค่าและไม่หดหาย น้ำหนักก็อยากลง แต่กินเพื่อลูกก็อยากกิน จะลดยังไงดีไม่ให้กระทบกับน้ำนมแม่เพื่อเจ้าตัวเล็ก

1.แคลอรี่

โดยปกติแล้วคุณแม่ที่ให้นมนั้นจะต้องการแคลอรี่เพิ่มขึ้น 300-500 แคลอรี่ต่อวันเท่านั้น การควบคุมไม่ให้ร่างกายได้รับแคลอรี่เกินนี้ก็เป็นอีกแนวทางที่จะช่วยให้การลดน้ำหนักตอนให้นมนั้นเป็นไปได้ด้วยดีค่ะ โดยการเพิ่มแคลอรี่ช่วงที่ให้นมลูกนี้ ไม่ใช่ว่ากินอะไรก็ได้ให้แคลอรี่เยอะขึ้น แต่ควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยจำกัดการบริโภคไขมัน น้ำตาล โซเดียม ให้ไม่มากเกินไปด้วยค่ะ

2.น้ำหนักที่ลดลง

การลดน้ำหนักลงโดยไม่กระทบต่อปริมาณและสารอาหารในน้ำนมแม่ คือน้ำหนักของคุณแม่ไม่ควรลดลงมากกว่า 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ค่ะ ทั้งนี้การหักโหมลดน้ำหนักในลงเร็วเกินไป อาจจะทำให้ร่างกายของคุณแม่น้ำหนักลงก็จริง แต่ที่แน่ๆ ร่างกายจะโทรมเกินไป และคุณแม่อาจจะเหนื่อยเกินไปได้ด้วยนะคะ

3.ออกกำลังกาย

คุณแม่ที่คลอดธรรมชาติจะเริ่มออกกำลังกายเบาๆ ได้หลังคลอดได้ 2 เดือนไปแล้วค่ะ ในคุณแม่ที่ผ่าคลอดควรได้รับการตรวจและแนะนำจากคุณหมอก่อนนะคะ โดยการออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้น้ำหนักและสัดส่วนลดลงได้ค่ะ หากคุณแม่ยังออกกำลังกายไม่ไหว การลดน้ำหนักตอนให้นมก็ทำได้ด้วยการเข็นรถเข็นพาลูกน้อยเดินเล่นในสวนสาธารณะก็เป็นการออกกำลังกายง่ายๆ ที่ทำได้ทุกวันแล้วละค่ะ แถมยังไม่เหนื่อยเกินไปอีกด้วยนะคะ

4.เลือกกินอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3

อย่างเช่น ถั่ววอลนัท ไข่ และปลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมื้อเช้า ควรจะเป็นมื้อที่ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 พร้อมกับสารอาหารอื่นๆ ให้ครบ 5 หมู่ค่ะ

5.อย่างดอาหาร

แม้ว่าจะเป็นการลดน้ำหนักตอนให้นม แต่การรักษาระดับเมตาบอลิซึมหรือการเผาผลาญอาหารในร่างกายนั้นจะช่วยให้น้ำหนักลดลงได้อย่างต่อเนื่อง และร่างกายจะยังมีสารอาหารที่จำเป็นในการส่งต่อไปยังน้ำนมแม่ และแน่นอนว่าคุณแม่จะยังมีแรงรับมือกับเจ้าตัวเล็กค่ะ หากคุณแม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งไป อาจจะทำให้ลูกน้อยขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายได้ และคุณแม่อาจจะหิวจนตาลาย ทำให้เกิดอุบัติเหตุในบ้านก็ได้นะคะ

6.เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ 

ได้แก่อาหาร 5 หมู่ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสีอย่างข้าวกล้องจะช่วยให้อิ่มนานขึ้น เลือกกินอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนอย่างโยเกิร์ต ชีส ถั่ว และกล้วย ผักและเนื้อสัตว์ที่มีธาตุเหล็กอย่าง ผักใบเขียว ถั่วเลนทิล ถั่วดำ กินผักและผลไม้หลากสีทุกวัน

7.อย่ากดดันตัวเองเกินไป

เนื่องจากการกดดันตัวเองและความรู้สึกในแง่ลบจะทำให้คุณแม่เครียด และกลับกลายเป็นว่าน้ำนมแม่เริ่มหดหาย ยังไงๆ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมานั้นใช้เวลาตั้งเก้าเดือนค่ะ มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่น้ำหนักหลังคลอดจะลดลงไปหมดตั้งแต่เดือนสองเดือนแรก อีกทั้งเรื่องที่สำคัญที่สุดในตอนนี้คือการเลี้ยงและให้นมเจ้าตัวเล็ก ในแง่ดี ลูกไม่สนหรอกค่ะว่าคุณแม่จะหนักเป็นร้อยโล เขาสนแค่ว่าคุณมีนมให้เขากินไหม และรีบมาเปลี่ยนผ้าอ้อมตอนที่เขาไม่สบายตัวไหม

8.อะไรที่กินแล้วอ้วนง่ายอย่าให้มีในบ้าน

วิธีที่ทำให้ตบะไม่แตกได้ง่ายที่สุดคือของอ้วนๆ อย่าให้มีในบ้าน แน่นอนว่านั่นหมายความว่าคุณสามีไม่ควรจะกินให้เห็นด้วยนะคะ อย่าง เบคอน ขนมกรุบกรอบ ไอศกรีม หรือแม้แต่น้ำอัดลม ก็ทำให้คุณแม่ได้รับน้ำตาลหรือโซเดียมที่เยอะเกินไปได้เหมือนกันค่ะ

ที่มา sdbfc และ The Bump

บทความที่น่าสนใจ

แม่เครียดตอนให้นม จะส่งผลทำลูกแย่รึเปล่า และรู้ไหมว่าการให้นมแม่คือวิธีคลายเครียด

ทำไมให้นมแม่มันยากขนาดนี้! แม่แชร์ ปัญหาให้นมลูก ที่เจอบ่อยที่สุดพร้อมวิธีแก้